Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด…
การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)
ความหมาย
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและ พฤติกรรม ที่เริ่มอาการตั้งแต่ 4 สัปดาห์ถึง 1 ปีหลังคลอด อาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารก อาการ เป็นอยู่นานได้ถึง 6 เดือนหลังคลอดหรือนานกว่า
สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
1.ความตึงเครียดทางร่างกาย (biological stress)
ร่างกายต้องใช้พลังงาน การเสียเลือด สูญเสียน้ำและอิเลคโตรลัยท์
เนื้อเยื่อบาดเจ็บจากการคลอด เกิดอาการเหนื่อยล้าเนื่องจากการคลอดลำบาก คลอดยาก
การเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อและระดับของฮอร์โมน
ประสบการณ์ของการคลอดไม่ดี
2.ความตึงเครียดทางจิตใจ (psychological stress)
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา
ปัญหาในชีวิตสมรส
ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอจากคู่สมรสและครอบครัว
มีความวิตกกังวลต่อเพศ
วิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตนเอง
สับสนกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทการเป็นมารดา
มีความผิดปกติทางจิตใจในระยะตั้งครรภ์
ความตึงเครียดทางสังคม (social stress)
มารดาวัยรุ่นที่ต้องพึ่งพาบิดามารดา
เศรษฐานะ ความยากจน
ไม่ได้รับการเตรียมตัวก่อนคลอด
มารดาหลังคลอดที่ได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดจากครอบครัว
อาการและอาการแสดง
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน
ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่างๆลดลงอย่างมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือกินจุน้ำหนักเพิ่มขึ้น
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล สมาธิลดลง ลังเลใจ
อาจมีความคิดในการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายบุตร
การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ใช้เกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disoders V (DSM-V)มีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยต่อไปนี้ 5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1 หรือข้อ 2 หนึ่งข้อ และมีอาการนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์โดยไม่เคยมีประวัติของ mania หรือ hypomania
(1) ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน
(2) ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก
(3) เบื่ออาหาร น้ าหนักลดลง หรือกินจุ น้ าหนักเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
(4) นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
(5) Psychomotor agitation หรือ retardation
(6) อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
(7) รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
(8) สมาธิลดลง ลังเลใจ
(9) คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
ภาวะโรคจิตหลังคลอด
(postpartum psychosis)
ความหมาย
มารดาหลังคลอดเกิดความวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติด้านอารมณ์ ซึ่งมารดาจะมีอาการของโรค
ไบโพลาร์และมีอาการโรคจิตเภท โดยมักเริ่มเกิดอาการใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด อาจพบ 1 เดือนหลังคลอด
สาเหตุ
มีประวัติไบโพลาร์ (bipolar)
มารดาหลังคลอดที่มีลักษณะบุคลิกภาพแปรปรวน
มีความเครียดในระยะตั้งครรภ์
ปัญหาเศรษฐานะ
ประวัติบุคคลในครอบครัว ญาติใกล้ชิดป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
อาการแสดงของโรคจิตหลังคลอด
อาการนำ
2 - 3 วันแรกหลังคลอด มารดาจะมีอาการไม่สุขสบายน ามาก่อน
นอนไม่หลับ ฝันร้าย บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว
กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ วิตกกังวลอย่างมาก
เริ่มสับสน สูญเสีย
ความจำ ขาดสมาธิ เคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น กระตุก เกร็ง พูดเร็ว
อาการโรคจิต
มารดาหลังคลอดจะมีอาการโรคจิตหรือวิกลจริต
ร่ววกับความผิดปกติของอารมณ์
บางครั้งมีอาการซึมเศร้าอย่างมากและบางครั้งมีอาการแมเนีย หรืออาจมีอาการทั้ง 2 แบบผสม
กันในเวลาเดียวกัน
อาการแบบแมเนีย
มีอารมณ์สนุกสนานร่าเริงผิดปกติ มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่ายพูดมาก พูดเร็ว พูดเสียงดังหรือพูดไม่ยอมหยุด ไม่หลับไม่นอน มีกิจกรรมมากผิดปกติ
อาการแบบซึมเศร้า
มีอารมณ์เศร้าอย่างมาก ท้อแท้ เบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง เบื่ออาหารน้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความคิดเบื่อชีวิต และคิดอยากตาย
อาการแบบจิตเภท
การรับรู้ผิดปกติ
หลุดจากโรคของความเป็นจริง บางรายมีอาการหลงผิด (delusion) หรือประสาทหลอน (hallucination)
การประเมินและการวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ หลงผิด ประสาทหลอน
2.การตรวจร่างกาย
ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว
อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ
การแสดงบทบาทการเป็นมารดาไม่เหมาะสมหลงผิดหรือมีประสาทหลอน
การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด
1.การรักษาทางกาย
1.ในรายที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด กลุ่มยาที่เลือกใช้เป็นอันดับแรก คือ serotonin reuptakeinhibitor โดยการให้ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) ในขนาดที่เพียงพอ เช่น fluoxetine 20 - 40mg/day, amitriptyline 50 - 250 mg/day และให้ต่อเนื่องไปนานประมาณ 6 เดือน ในระหว่างให้ยาผู้ป่วยสามารถให้นมบุตรได้แม้ว่าร่างกายจะขับยาแก้ซึมเศร้าออกมาทางน้ านมก็ตาม
2 การให้ยาต้านโรคจิต (antipsychotic drug) ในกลุ่ม atypical antipsychotic เช่น haloperidol 4-20 mg/day มีประสิทธิภาพผลข้างเคียงน้อย สามารถใช้ได้ทั้งในรายที่มีอาการจิตเภท และอาการแบบอารมณ์แมนเนีย
.3 การให้ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เช่น lithium carbonate หรือcarbamazepine ร่วมด้วย
ในกรณีที่ให้ยาลิเที่ยมควรงดให้นมบุตรเพราะปริมาณลิเที่ยมที่ถูกขับออกมาทางน้ำนมมีความเข้มข้นค่อนข้างสูง ไม่ปลอดภัยกับทารก
4 การช็อคไฟฟ้า (ECT) ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือใช้ยารักษาไม่ได้ผล
2.การรักษาทางจิตโดยใช้จิตบำบัด (psychotherapy)
1 จิตบำบัดรายบุคคล (individual therapy)
จิตบำบัดกลุ่ม (group therapy)
การบำบัดทางปัญญา (cognitive behavior therapy)
การบำบัดที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focused therapy)
2 จิตบำบัดครอบครัว (family therapy) หรือจิตบำบัดระหว่างคู่สมรส (marital therapy) หรือ สุขภาพจิตศึกษา (psychoeducation) :
เป็นการให้จิตบำบัดร่วมกับการให้ความรู้แก่มารดาหลัง คลอดและครอบครัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดขึ้น แนวทางการรักษาพยาบาล การเผชิญความเจ็บป่วยและการดูแลจากสามีและครอบครัว
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม (environment therapy)
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการรักษา เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งคำแนะนำสามีให้หมั่นมาเยี่ยมเยียนภรรยาไม่ควรแยกบุตรจากมารดาถึงแม้ว่ามารดาไม่ได้ให้การเลี้ยงดูบุตร แต่ควรให้มารดาได้มองเห็นบุตรเสมอ เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพ ระหว่างมารดาและบุตร
นางสาว วชิรญาณ์ เสนเพ็ง เลขที่ 48 ห้อง A