Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะฝีหนองที่เต้านม (breast…
การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะฝีหนองที่เต้านม
(breast abscess)
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ สแตปฟีโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและลานนมที่ถลอกหรือหัวนมแตก และทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา (mastitis) ในระยะแรกจะมีการอักเสบติดเชื้อเพียงส่วนเดียวของเต้านม (lobe) ซึ่งน้ำนมเป็นอาหารอย่างดีในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในเต้านม ซึ่งจะส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายไปยัง lobe อื่นได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมา (breast abscess) และจะพบหนองไหลออกมาผ่านทางน้ำนมได้
ความหมาย
ภาวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อแล้วเกิดน้ำหนองรวมกันเป็นกลุ่มในเต้านม เกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม
มีความผิดปกติที่เต้านมหรือได้รับการผ่าตัดเต้านม
ตั้งครรภ์ครั้งแรก อายุ > 30 ปี
ท่อน้ำนมอุดตัน
การติดเชื้อที่เต้านม
เต้านมคัดตึง หรือมีน้ำนมคั่งในเต้านม
ประวัติสูบบุหรี่
มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้าน
อาการแสดง
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะมีลักษณะบวมแดง ร้อน และเจ็บปวดมาก คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมากและผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนเป็นสีแดง
อุณหภูมิกายมากกว่า 38.4 องศาเซลเซียส
หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บ ถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษา บางครั้งอาจทำให้ฝีแตกและมีหนองไหลออกมาได้
หัวใจเต้นเร็ว
คลื่นไส้อาเจียน
การประเมินและการวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
มารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรไม่ถูกวิธี หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม
ท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมคัดตึง เคยมีประวัติการติดชื้อที่เต้านมหรือหัวนม
เชื้อที่เต้านมหรือหัวนม มารดาตั้งครรภ์ครั้งแรก
การตรวจร่างกาย
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะบวมแดงร้อนคลำได้ก้อนตึง
กดเจ็บมาก และผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
ไข้อุณหภูมิกายมากกว่า 38.4 องศาเซลเซียส
หนาวสั่น ปวดเมื่อยตาม
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับ เต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บร่วมด้วย และกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง อาจพบหนองไหลออกมาจากเต้านม
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
CBC ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนมหรือของเหลวที่ออกจากเต้านม
ส่งเพาะเชื้อจากหนอง ตรวจหาความไวของเชื้อ
รวมทั้งการอัลตราซาวนด์เต้านมเพื่อหาต่ำแหน่งหนองและเจาะดูดหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณที่มีฝีหนอง
การรักษา
บรรเทาอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ (analgesics and antipyretics)
เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เป็นต้น ตามความเหมาะสม
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดฝี ถ้ารับประทานยาปฏิชีวนะแล้วมีอาการดีขึ้น ให้รับประทานยาปฏิชีวนะนาน 1 - 2 สัปดาห์ หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันหลังจากรับประทานยา
ปฏิชีวนะ ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องได้รับการผ่าระบายเอาหนองออก
3.การระบายเอาหนองที่เต้านมออกโดยการใช้เข็มขนาดใหญ่ ( เบอร์18 )
หรือผ่าตัดโดยใช้มีดกรีดผิวหนังระบายเอาหนองออกคู่การให้ยาปฏิชีวนะ
การเจาะดูดเอาหนองออกอาจต้องทำการเจาะดูดออกทุกวันจนปริมาณหนองที่ออกมาลดลงจนต่ ากว่า10 ซีซี แล้วนัดห่างขึ้นเป็น 3 วัน 5 วัน 7 วัน จนกว่าหนองจะหมด
4.สามารถให้นมลูกได้ในข้างที่เต้านมเป็นฝีที่ระบายเอาหนองออกแล้ว ยกเว้นในกรณีที่มีอาการเจ็บมากหรือการผ่าเป็นแผลขนาดใหญ่ใกล้ลานนม และให้ลูกดูดนมจากเต้าข้างที่ปกติอย่างสม่ำเสมอ เมื่อดีขึ้นหรือแผลเริ่มหายก็สามารถกลับมาให้นมข้างนั้นได้อีกครั้ง ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 2-3 วันดีขึ้น
นางสาว วชิรญาณ์ เสนเพ็ง เลขที่ 48 ห้อง A