Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B : HBV) (การพยาบาล (อธิบายให้มารดาทราบเกี่ยวกับ…
โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B : HBV)
มีการติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ และสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย สารคัดหลั่งในช่องคลอด
อาการและอาการแสดง
มีอาการค่อยเป็นค่อยไป ไม่เฉียบพลัน
มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ
มีอาการของดีซ่านร่วมด้วย เช่น ตัวตาเหลือง อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม
ผลของโรคต่อภาวะสุขภาพ
ผลต่อสตรี
มีโอกาสเกิดเบาหวานและความดันโลหิตสูง
มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดจากรกลอกตัวก่อนกำหนด
อัตราการชักนำคลอดและการผ่าคลอดเพิ่มขึ้น
ผลต่อทารก
คลอดก่อนกำหนด
แท้ง ตายตลอด
ติดเชื้อจากมารดา
การป้องกันและการรักษา
ตรวจคัดกรองสตรีมีครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg ในเลือดเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
แนะนำให้มาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ
เมื่อทารกคลอด ควรรีบดูดสารคัดหลั่งทางปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด เช็ดตัวทารกและทำความสะอาดร่างกายทันที
ให้ภูมิคุ้มกันทารก คือ hapatitis B immunoglobin (HBIG) แก่ทารกแรกเกิด จากนั้นให้อีก 2 ครั้งเมื่ออายุครบ 1 เดือน และ 6 เดือน
หลีกเลี่ยงการให้นมทารกจากเต้า เมื่อพบว่ามีหัวนมแตก
การพยาบาล
อธิบายให้มารดาทราบเกี่ยวกับโรคและการติดต่อ
ให้คำแนำนำการปฏิบัติตัว ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ หรือการใช้ของที่อาจปนเปื้อนเลือด เช่น แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ควรรีบดูดสารคัดหลั่งออกจากปากและจมูกทารกให้มากที่สุด เช็ดตาและดูแลทำความสะอาด ร่างกายทันที
ดูแลให้ทารกได้รับ HBIG
มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยยมแม่ได้ ยกเว้นในรายที่หัวนมแตกหรือมีแผล
หลีกเลี่ยงเครื่องดืมแอลกอฮอล์
รับประทานอาหารปรุงสุก
การพยาบาลทารกหลังคลอด
ให้ HBIG 0.5 ml. IM โดยเร็วที่สุด หากไม่ได้ทันทีให้ได้รับภายใน 7 วันหลังคลอด
ทารกสามารถดูดนมมารดาได้ปกติ ยกเว้นมารดาที่หัวนมแตกหรือมีแผล
ติดตามทารกเมื่ออายุครบ 12 เดือน เพื่อพิจารณาเจาะเลือดตรวจ HBsAg และ Anti-HBs