Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 (ส่วนที่ 5…
พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
หมวด1
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
มาตรา 7 ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า "คุรุสภา" มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา 8
คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
(2) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(3) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
มาตรา 9
คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(3) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(4) พักการใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(2) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไป ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(5) สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(8) รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(6) ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(7) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
(9) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(10) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
(11) ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตและการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(12) ให้คำปรึกษา
หรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
(13) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็น
ต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพหรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
(14) กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
(15) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
การเสนอร่างข้อบังคับของคุรุสภาจะ กระทำได้เมื่อคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบกับร่างข้อบังคับดังกล่าว และให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างข้อบังคับนั้นต่อรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า รัฐมนตรีอาจยับยั้งร่างข้อบังคับนั้นได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลโดยแจ้งชัด หากมิได้ยับยั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับ ให้ถือว่ารัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับนั้น ถ้ารัฐมนตรียับยั้งร่างข้อบังคับใด ให้คณะกรรมการคุรุสภาประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการยับยั้ง ในการประชุมครั้งหลังนี้ถ้ามีคะแนนเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างข้อบังคับดังกล่าวต่อรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐมนตรีมิได้ให้ความเห็นชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับ ให้ถือว่าร่างข้อบังคับนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีแล้ว
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คุรุสภามีอำนาจกระทำกิจการต่างๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(2) ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
(3) กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
(4) สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 10
คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
(1) ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(2) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
(4) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
(5) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4)
รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมาย ว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
มาตรา 11
ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการคุรุสภา
มาตรา 12 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการคุรุสภา ประกอบด้วย
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา การอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมายด้านละหนึ่งคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่าสามคน
(4) กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนสามคน และจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่งคน
(2) กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
(5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนเก้าสิบคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามสัดส่วนจำนวนผ฿ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการ
(1) ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 13 ประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) คุณสมบัติทั่วไป
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(3) มีความซื่อสัตย์และยุติธรรมเป็นที่ประจักษ์
(1) มีสัญชาติไทย
(ข) ลักษณะต้องห้าม
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบวิชาชีพ
(1) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(4) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือดำรงตำแหน่งซึ่งรับชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(5) เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีสัญญาจ้างกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุลากรทางการศึกษา
(6) เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกิจการคุรุสภา หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(8) มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 15 นอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 13 กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตาม มาตรา 14 (1) และต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นรวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี
มาตรา 16 กรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา 17 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ กรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา 13 มาตรา 14 หรือ มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
มาตรา 18 ก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งจำนวนสิบเอ็ดคนจากคณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (2) จำนวนห้าคน และจากผู้แทนสมาคมวิชาการหรือวิชาชีพด้านการศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหกคน ทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควรเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรรงคุณวุฒิของคณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (1) และ (3) และจัดให้มีการประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และการศึกษา เพื่อเลือกกันเองให้ได้กรรมการตาม มาตรา12 (4) รวมทั้งจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของคณะกรรมกาครุรุสภาตาม มาตรา 12 (5)
มาตรา 19 ในกรณีที่กรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (1) และ (3) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นซึ่งได้รับการสรรหาในลำดับถัดไปดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
ส่วนที่ 6 สมาชิกคุรุสภา
มาตรา 58 สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท
มาตรา 59 สมาชิกสามัญต้องเป็นผู้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 (ข) (1) (2) และ (3) และเป็นผู้มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 60 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ
มาตรา 61 สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
(1) ตาย
(3) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 59 สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
(4) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(2) ลาออก
(5) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา 43 ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 44 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
มาตรา 45 การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต กำหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 46 ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้านวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
มาตรา 47 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 48 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 49 ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 50 มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพประกอบด้วย
(5) จรรยาบรรณต่อสังคม
(4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(1) จรรยาบรรณต่อตนเอง
มาตรา 51 บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ของผู้ได้รับใบอนุญาตมีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อคุรุสภา
มาตรา 52 เมื่อคุรุสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือกล่าวโทษตาม มาตรา 51 ให้เลขาธิการคุรุสภาเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
มาตรา 53 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหา หรือกล่าวโทษให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเริ่มพิจารณา
มาตรา 54 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
มาตรา 55 ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดตาม มาตรา 54 (2) (3) (4) หรือ (5) อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
มาตรา 56 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าในว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีควบคุม นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตเท่านั้น
มาตรา 57 ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน
ส่วนที่ 4 การดำเนินงานของคุรุสภา
มาตรา 26 ให้คณะกรรมการคุรุสภามีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง การประชุมคณะกรรมการคุรุสภาต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา 27 ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการคุรุสภาไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา 28 รัฐมนตรีจะเข้าร่วมประชุม และชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคุรุสภาในเรื่องใดๆ ก็ได้
มาตรา 29 ให้นำความใน มาตรา 26 และ มาตรา 27 มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา 30 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 31 ให้กรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งให้บุคคลใดๆ ส่งเอกสารหรือวัตถุพยานที่จำเป็นต้อการดำเนินงานตามอำนาจและหน้าที่
มาตรา 32 ให้กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการและคณะทำงานได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 33 กรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (3) (4) และ (5) จะดำรงตำแหน่งตาม มาตรา 21 (3) (4) และ (5) และ มาตรา 64 (3) และ (4) แล้วแต่กรณีคราวเดียวกันไม่ได้
มาตรา 34 ให้มีสำนักงานเลขานุการคุรุสภามีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา
(2) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คุรุสภามอบหมาย
(3) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคุรุสภา
มาตรา 35 ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภามีเลขาธิการคุรุสภาคนหนึ่งบริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รวมทั้งดำเนินการตามที่ประธานกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการคุรุสภา ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมอบหมายคณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนเลขาธิการคุรุสภาหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไป ตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 36 เลขาธิการคุรุสภาต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา 37 เลขาธิการคุรุสภามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา 38 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการคุรุสภาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(3) คณะกรรมการคุรุสภาให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(4) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ใน ข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการคุรุสภากับเลขาธิการคุรุสภา
(2) ลาออก
(5) มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตาม มาตรา 36 มติของคณะกรรมการคุรุสภาให้เลขาธิการคุรุสภาออกจากตำแหน่งตาม (3) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(1) ตาย
มาตรา 39 เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่บริการกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของคุรุสภา ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการคุรุสภา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการคุรุสภา ตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดรวมทั้งให้มีหน้าที่
มาตรา 40 เลขาธิการคุรุสภา มีอำนาจดังนี้
(1) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(2) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
มาตรา 41 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นผู้แทนของคุรุสภาเพื่อการนี้ เลขาธิการคุรุสภาจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
มาตรา 42 ให้คณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการคุรุสภา โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
หมวด 4
บทกำหนดโทษ
มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 46 หรือ มาตรา 56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมวด 2
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
มาตรา 62 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวสัสดิการครู และบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น และความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ของกระทรวงในเรื่องสื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การศึกษาและเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
(2) ส่งเสริมความสามัคคีและ ผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา การดำเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรา 63 คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่
มาตรา 64 ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 65 กรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 (3) และ (4) ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 มาตรา 14 และ มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
มาตรา 66 การประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้นำความใน มาตรา 26 และ มาตรา 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 67 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจและหน้าที่
มาตรา 68 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีรายได้
มาตรา 69 ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาคนหนึ่งบริหารกิจการของสำนักงาน รวมทั้งดำเนินการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามอบหมาย
มาตรา 70 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เต็มเวลา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 63
มาตรา 71 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามระเบียบที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
มาตรา 72 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 73 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้แทนของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการนี้ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
มาตรา 74 ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือน และผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ของเลขาธิการคณะกรรมกมรส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
หมวด 3 การกำกับดูแล
มาตรา 76 ให้คุรุสภาเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของคุรุสภา รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนดำเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
มาตรา 77 ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของคุรุสภาเป็นประจำทุกปี แล้วรายงานให้รัฐสภาทราบ
มาตรา 75 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(2) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้
(3) สั่งเป็นหนังสือให้คุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาระงับหรือแก้ไขการกระทำใดๆ ที่ปรากฏว่าขัดต่อวัตถุประสงค์ของคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมาย หรือข้อบังคับคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(1) กำกับดูแลการดำเนินงานของคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งจัดสรรงบประมาณของรัฐให้คุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 20 ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่
ส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 21 ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 22 การสรรหา การเลือก และการเลือกตั้งกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21 (3) (4) และ (5) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 23 กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21(3) (4) และ (5) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
มาตรา 24 กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21 (1) (3) (4) และ (5) ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา 25 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจหน้าที่
บท
เฉพาะกาล
มาตรา 84 ผู้ใดเป็นครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อยู่แล้วก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 83 ให้โอนบรรดากิจการ เงิน ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิต่างๆ ของคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488
มาตรา 88 ให้วุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 82 ให้เลขาธิการคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาและให้รองเลขาธิการคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคุรุสภาและรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ไปก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตาม มาตรา 81
มาตรา 81 ให้คณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 ดำเนินการให้มีการแต่งตั้งเลขาธิการคุรุสภาและเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการแต่งตั้ง
มาตรา 80 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเท่าที่มีอยู่ตาม พระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง มีหน้าที่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
มาตรา 85 ในวาระเริ่มแรก ให้คุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามข้อบังคับของคุรุสภา ทั้งนี้ ให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวมีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 86 ในวาระเริ่มแรก มิให้นำความใน มาตรา 14 (1) มาใช้บังคับแก่กรรมการคุรุสภา และกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจนกว่าคุรุสภาจะออกใบอนุญาต
มาตรา 87 ในวาระเริ่มแรกของการเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือการศึกษา ให้เลือกผู้แทนจำนวนสี่คนจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน จนกว่าจะมีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนครบจำนวนสามแห่ง จึงจะเลือกผู้แทนตามบทบัญญัติ มาตรา 12 (4)
มาตรา 90 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกคำสั่ง ประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำคำสั่ง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 89 ให้สมาชิกคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ที่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ อยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการนั้นๆ ต่อไป