Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสภาพ (กระดูกหัก (Bone Fracture) (อาการและอาการแสดง (ปวด บวม ฟกช้ำ…
พยาธิสภาพ
กระดูกหัก (Bone Fracture)
โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed Fracture) คือ กระดูกหัก แต่ผิวหนังไม่ได้รับบาดเจ็บ
กระดูกหักแบบแผลเปิด (Open หรือ Compound Fracture) กระดูกที่ทิ่มผิวหนังออกมา หรือได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเปิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง
กรณีศึกษา : ในกรณีศึกษา ผู้ป่วยมีกระดูกหักที่บริเวณต้นขาข้างขวาแต่ไม่มีแผลเปิด ผู้ป่วยจึงเป็นกระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed Fracture)
สาเหตุ/ปัจจัยของการเกิดกระดูกหักบริเวณต้นขาด้านขวา
1.มีแรงมากระทำต่อกระดูก เช่น การถูกรถชน
2.แรงกระทำต่อกระดูกไม่มาก แต่สามารถหักได้ คือ แรงน้อยๆ กระทำซ้ำๆ จะเกิดอาการร้าวและกระดูก เรียกว่า Stress Fracture กระดูกมีพยาธิสภาพอยู่แล้ว เช่น ภาวะกระพรุน เรียกว่า Pathological Fracture
กรณีศึกษา : ในกรณีศึกษา ผู้ป่วยมีแรงมากระทำต่อกระดูก คือการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ส่งผลให้กระดูกบริเวณต้นขาข้างขวาหัก
อาการและอาการแสดง
ปวด บวม ฟกช้ำ บริเวณกระดูกหัก
2.สูญเสียหน้าที่ของอวัยวะ กระดูกหักเนื่องจากไม่สามารถรับแรงน้ำหนักหรือคงสภาพโครงร่าง เช่น ยืน เดิน ได้ปกติในผู้ป่วยกระดูกหักบริเวณขา
3.การผิดรูป เช่น แขน ขา สั้นลง โก่งงอ
ลักษณะท่าทาง ข้างที่ไม่เจ็บจะพยุงข้างที่เจ็บ
5.การเคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากผิดรูปและปวดบริเวณกระดูกหัก
6.อาการจากการบาดเจ็บบริเวณกระดูกหัก
กรณีศึกษา : ในกรณีศึกษา ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณกระดูกหัก มีการสูญเสีบหน้าที่ของขาข้างขวา เนื่องจากกระดูกบริเวณต้นขาขวาหัก และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ คือไม่สามารถขยับขาข้างขวาได้
ทฤษฎี
คือ ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระแทกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถรองรับน้ำหนักจากแรงดังกล่าวได้ และเกิดหัก ก่อให้เกิดอาการปวด เสื่อมสมรรถภาพในการทำงาน รวมทั้งมีเลือดออกและได้รับบาดเจ็บบริเวณรอบกระดูกที่ได้รับแรงกระแทก โดยทั่วไปแล้วกระดูกจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย แคลเซียมและเซลล์กระดูก ตรงกลางกระดูกจะอ่อนกว่า เรียกว่าไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง กระดูกแต่ละส่วนจะประกอบกันเป็นโครงสร้างกระดูกที่รองรับร่างกาย ช่วยในการเคลื่อนไหว และปกป้อง อวัยวะภายในของร่างกาย หากร่างกายได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง จะส่งผลให้กระดูกแตกหรือหักได้
กรณีศึกษา : เนื่องจากกรณีศึกษา ผู้ป่วยได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุรถชน บริเวณกระดูกต้นขาข้างขวาจึงทำให้เกิดการหักของกระดูก
การรักษา
ต้องรักษาถูกต้องและทันท่วงทีให้กลับมาเป็นปกติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ หลีกเลี่ยงการขยับขาให้มากที่สุด ลดอาการเจ็บหรือปวด ประคบเย็นด้วยห่อน้ำแข็ง ยกขาสูงให้สูงกว่าหน้าอก หรือใช้หมอนรองใต้ขาเพื่อลดอาการบวม ถ้ามีการบาดเจ็บรุนแรงจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ระหว่างการรักษาไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์
กรณีศึกษา : ผู้ป่วยได้รับการรักษา โดยวิธีการผ่าตัด ผ่าตัด Open Reduction Internal Fixation ( ORIF ) Rt Femur with long gamma nail.
หรือ การผ่าตัดเปิดและจัดชิ้นหักให้เข้าที่โดยการยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ
การบาดเจ็บของหลอดเลือดบริเวณช่องท้อง
ประเภทของหลอดเลือดในช่องท้อง
หลอดเลือดแดงท้อง หรือ หลอดเลือดแดงซีลิแอก (celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) มีความยาว 1.25 เซนติเมตร แตกแขนงมาจากเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ และเป็นหนึ่งในสามแขนงของเอออร์ตาส่วนท้องที่ออกมาทางด้านหน้าในแนวกลางลำตัว ซึ่งอีก 2 แขนง ได้แก่ หลอดเลือดแดงเยื่อแขวนลำไส้ด้านบน และด้านล่าง (superior and inferior mesenteric arteries)
Superior mesenteric artery (SMA) มีแขนงกระจายไปเลี้ยงทางเดินอาหารส่วนกลาง (midgut) ตั้งแต่ลำไส้เล็ก duodenum ส่วนที่เหลือ ลำไส้เล็ก jejunum, ileum ไปจนถึงลำไส้ใหญ่ transverse colon ส่วนปลาย
Interior mesenteric artery (IMA) มีแขนงกระจายไปเลี้ยงลำไส้ส่วนปลาย (hindgut) ตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ส่วน transverse colon ไปจนถึง rectum
กรณีศึกษา : เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการกระแทกที่บริเวณช่องท้อง เกิดการบาดเจ็บของลำไส้ จึงทำให้หลอดเลือด Interior mesenteric artery (IMA) ได้รับการบาดเจ็บ
ทฤษฎี
การบาดเจ็บจากแรงกระแทก ทำให้มีการฉีกขาดของผนังชั้นในของหลอดเลือดแดงใหญ่ ทำให้เลือดเซาะเข้าไปในผนัง เกิดช่องทางเดินเลือดในผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ และอาจแตกออกภายนอกผนังหรือแตกทะลุผนังชั้นในไหลกลับมาในช่องทางเดินเลือดปกติ ความดันในผนังก็จะลดลง โอกาสแตกหรือเบียดช่องทางปกติจนเลือดไม่สามารถเลี้ยงส่วนล่างของร่างกายหรือแขนงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทำให้มีอาการขาดเลือดและอวัยวะตายได้ เช่น ไต ลำไส้ ตับ ขา หรือไขสันหลัง
กรณีศึกษา
เนื่องจากผู้ป่วย ได้รับแรงกระแทกที่บริเวณหน้าท้อง จากการได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ ส่งผลให้หลอดเลือด Interior mesenteric artery (IMA) ที่อยู่บริเวณช่องท้อง ได้รับความเสียหาย
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับทฤษฎี
ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม ช้ำ บริเวณต้นขาด้านขวา
(บริเวณกระดูกหัก) ขาขวาไม่สามารถรับแรงกดน้ำหนัก หรือคงสภาพโครงร่างได้เหมือนเดิม คือไม่สามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติ มีการผิดรูปเนื่องจากต้องวางไว้นิ่งๆ ผู้ป่วยได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองโดยใช้ขาด้านซ้ายประคองขาด้านขวาขณะขึ้นหรือลงเตียง ผู้ป่วยยังมีอาการปวดเล็กน้อยบริเวณขาขวาที่มีการหักแต่ได้รับยาระงับอาการปวดจึงดีขึ้น