Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคฉี่หนู (อาการ (คลื่นไส้ อาเจียน, ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น,…
โรคฉี่หนู
-
การป้องกัน
ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อของโรคแก่ประชาชน โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือการเดินลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะจากสัตว์นำโรค หรือควรสวมใส่รองเท้าบู๊ตป้องกันทุกครั้งหากมีความจำเป็น
หมั่นตรวจตราแหล่งน้ำและดินทรายที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน
-
ควบคุมและกำจัดหนูตามบริเวณที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท
-
ปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนู โดยเลือกฉีดวัคซีนซีโรวาร์ (Serovars) สำหรับป้องกันเชื้อฉี่หนูชนิดที่พบได้บ่อยตามท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้งนี้การฉีดวัคซีนแม้จะสามารถป้องกันโรคฉี่หนู แต่ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อทางปัสสาวะได้
ปัจจุบันในบางประเทศมีวัคซีนโรคฉี่หนูสำหรับคน โดยใช้ฉีดป้องกันให้คนงานหรือผู้มีอาชีพเสี่ยงติดเชื้อ ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส เสปน อิตาลี จีน ญี่ปุ่น และอิสราเอล ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนสำหรับคน
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนูมีชื่อว่า เล็ปโตสไปรา (Leptospira) มักพบการติดเชื้อชนิดนี้ได้ในสุนัขหรือสัตว์ตามฟาร์ม เช่น สุกร โค กระบือ รวมถึงสัตว์จำพวกหนู โดยการแพร่เชื้อสู่คนสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อดวงตา ปาก จมูก หรือร่างกายส่วนที่เป็นแผลสัมผัสกับปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่ติดเชื้อ
การรักษา
รักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างยาเพนิซิลลิน (Penicillin) หรือดอกซีไซคลิน (Doxycycline) เป็นระยะเวลา 5-7 วัน ซึ่งควรต้องรับประทานตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมด และป้องกันการกลับไปติดเชื้ออีกครั้ง
นอกเหนือจากยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจรับประทานยาแก้ปวดอย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน