Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Infected CAPD) (ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1…
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Infected CAPD)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 ปวดท้องเนื่องจากมีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
O : ปวดท้อง pain score 6
O : On CAPD มี PDF สีขุ่น
O : ผลตรวจน้ำ PDF (วันที่ 6มีนาคม 2563)
-Culture ผล Positive culture
-Method:Gram: Gram Negative Bacilli
-พบ WBC 379 cell/mm^3
-พบ PMC 96% , MMC 4%
O : T = 37.7 องศาเซลเซียส
วัตถุประสงค์ : ไม่มีอาการปวดท้อง
เกณฑ์การประเมินผล
-ผู้ป่วยไม่บ่นปวดท้อง pain score น้อยกว่า 3
-PDF เป็นสีใสไม่ขุ่น-ผลตรวจ PDF เป็นปกติ
-ไม่มีไข้ อุณหภูมิ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะทั่วไปเกี่ยวกับการติดเชื้อ ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณหน้าท้อง และตรวจวัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อประเมินการมีไข้จากการติดเชื้อ
2.ดูแลให้ได้รับยา Tramal 1 Amp vein q 8 hr เพื่อแก้ปวด และติดตามอาการปวดโดยการประเมิน pain score
3.ดูแลให้ได้รับยา Paracetamal 500 mg 1 tab prn เพื่อลดไข้และติดตามอุณหภูมิเพื่อประเมินอาการเป็นไข้
4.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อตามแผนการรักษา ได้แก่
Tazoocin 4.5 gm vein q 8 hr
Meropenam 1 g + NSS 100 ml vein drip in 3 hr q 8 hr.
5.ดูแลความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
6.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของน้ำล้างไต(PDF) ตามแผนการรักษา และสังเกตสี ลักษณะ ของน้ำล้างไต เพื่อดูว่ายังมีเชื้ออยู่หรือไม่
ประเมินผล : หลังได้รับการดูแลผู้ป่วยยังมีการติดเชื้อภายในช่องท้องอยู่สีน้ำล้างไต PDF ยังมีสีขุ่น และยังตรวจพบเชื้อในน้ำล้างไตแต่ไม่มีอาการเป็นไข้และPain score ลดลง pain score = 3
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 มีภาวะของเสียคั่งในร่างกายเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O: BUN = 40 mg/dl
O: Creatinine= 8.9 mg/dl
O: eGFR= 6 ml/min
O:Albumin = 1.83 g/dL
O: ขาบวม (pitting edema 2+)
วัตถุประสงค์ : มีของเสียคั่งร่างกายลดลง ไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่งในร่างกาย
เกณฑ์การประเมินผล
-ไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย
-Bun น้อยลงกว่า 40 mg/dl
-Creatinine น้อยลงกว่า 8.9 mg/dl
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตอาการของเสียคั่งในร่างกาย หรือ ยูเรียคั่ง ได้แก่ อ่อนเพลีย มึนงง เบื่ออาหาร อาเจียน นอนไม่หลับ ชักหมดสติ เพื่อประเมินความรุนแรงของของเสียคั่งในร่างกายและให้การรักษาที่เหมาะสม
2.จำกัดน้ำผู้ป่วยไม่เกิน 1000 cc/Day เพื่อป้องการภาวะบวมน้ำจากการที่ไตกรองได้ลดลง
3.ดูแลให้ป่วยได้รับยาขับปัสสาวะ Lasix (500) 1 tab per oral b.i.d ตามแผนการรักษาเพื่อลดน้ำเกินในร่างกาย
บันทึกน้ำเข้า-ออกร่างกาย ทุก 8ชั่วโมง เพื่อประเมินความสมดุลน้ำเข้าและออก
ดูแลให้ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง CAPD วันละ 4 cycle ด้วยน้ำยา 1.5% PDF 2 cycle และ 2.5% PDF 2 cycle เพื่อขับของเสียออกนอกร่างกาย
ชั่งน้ำหนังทุกวัน Body wight OD เพื่อประเมินอาการบวมเนื่องจากของเสียคั่ง
ดูแลให้ได้รับอาหาร Low salt Diet และเพิ่มโปรตีนจากไข่ขาวเพื่อลดอาการบวมและของเสียคั่งตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทำงานของไตเพื่อหาแนวทางการพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป
ประเมินผล
-มีอาการของเสียคั่งในร่างกายลดลง ได้แก่ ปัสสาวะออกมากขึ้น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย บวมน้อยลง
-ทำ CAPD ได้กำไร 200 ml/day
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 ผู้ป่วยมีภาวะไม่สมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ร่างกาย เนื่องจากไตเสียหน้าที่
ข้อมูลสนับสนุน
O : Sodium 134 mmol/l
O : Calcium 8 mg/dL
O : Magnesium 1.62 mg/dL
O : Chloride 93 mmol/l
วัตถุประสงค์ : เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
เกณฑ์การประเมินผล
Sodium 136-145 mmol/l
Calcium 8.8-2.6 mg/dL
Magnesium 1.8-2.6 mg/dL
Chloride 101.109 mmol/l
กิจกรรมการพยาบาล
วัดสัญญาณชีพโดยประเมินทุกชั่วโมงในระยะแรก และเปลี่ยนเป็นทุก 4 ชั่วโมงเมื่ออาการดีขึ้น เพื่อประเมินการทำหน้าที่ของระบบประสาท เช่น ระดับความรู้สึกตัว อาการกระสับกระส่าย อาการปวดศีรษะ ชัก
สังเกตระดับความรู้สึกตัว เช่น ซึม จากภาวะโซเดียมต่ำ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่ -KCL 2 tab per oral pc - ferrous fumarate 1 tap -50% MgSO4 8 ml + D/w 100 ml vien drip in 4 hr เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
สังเกตอาการบวมของแขนและขา หนังตาบน ก้นกบเพื่อประเมินภาวะน้ำเกินในร่างกาย
ติดตามประเมินผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินภาวะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ประเมินผล : ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจาก Electrolyte imbalance
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4 ซีดเนื่องจากการทำงานของฮอร์โมน Erythropoietin ลดลง จากภาวะไตวายเรื้อรัง
ข้อมูลสนับสนุน
O : Hct 26%
O : เยื่อบุตาซีด
O : เป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
วัตถุประสงค์ : ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะซีด
เกณฑ์การประเมินผล
-Hct มากกว่า 26%
-เยื่อบุตามีสีแดงมากขึ้น
-capilary refill < 2 วินาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะทั่วไปที่แสดงถึงอาการซีด เช่น เยื่อบุตาซีด ลิ้น ฝ่ามือ และ capilary refill > 2 วินาที เพื่อประเมินระดับความซีด
2.ดูแลให้ได้รับยา Espogen 4,000 u SC ทุกวันอังคารและวันพฤหัส เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด และ ferrous fumarate 1*3 oral pc เพื่อเสริมธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของเลือด
3.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ ตับ เลือด เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง
4.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Hb , Hct ตามแผนการรักษา และติดตามภาวะทั่วไปที่แสดงถึงภาวะซีดของผู้ป่วยเพื่อให้การพยาบาลที่เหมาะสม
ประเมินผล : ผู้ป่วยมีเยื่อบุตาสีแดงดีขึ้น Cappilary refill < 2วินาที และมีค่า HCT เพิ่มขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 5 เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการตาพร่ามัว
S: ผู้ป่วยให้ประวิติว่าเป็นต้อกระจก
O : เลนส์ในดวงตามีสีขาวขุ่นเล็กน้อย
วัตถุประสงค์ : ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง
เกณฑ์การประเมินผล : ไม่มีแผลหรืออุบัติเหตุต่อร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการมองเห็นของผู้ป่วย โดยการชี้สิ่งของแล้วถามผู้ป่วยว่ามองเห็นหรือไม่ เพื่อประเมินว่าการมองเห็นของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ได้แก่ ผู้ป่วยมองเห็นไกลแค่ไหน มองเห็นพร่ามัวมากแค่ไหน
จัดสถานที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีสิ่งกรีดขวาง เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดล้มหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ
แนะนำให้ญาติช่วยเหลือในบางกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ดูแลให้ผู้ป่วยไปพบจักษุแพทย์ตามนัด (เดือน เมษายน) เพื่อทำการรักษาอาการตาพร่ามัว
ติดตามผลการตรวจทางจักษุเพื่อให้การดูแลที่เหมาะสม
ประเมินผล : ไม่มีการพบบาดแผลหรืออุบัติเหตุต่อร่างกาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 6 แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิตกกังวลจากโรคที่เป็นอยู่
ข้อมูลสนับสนุน
S:- ผู้ป่วยให้ประวัติว่า นอนไม่ค่อยหลับเลยมีตื่นกลางดึกบางครั้ง
O:ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย
O: ขณะพูดคุยผู้ป่วยมีอาการหาว
O: ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลและเศร้าหมอง เมื่อพูดถึงเรื่องตนเองป่วย
วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถพักผ่อนนอนหลับได้มากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยนอนหลับได้ต่อเนื่อง 6-8 ชั่วโมงมีความสุขสบายขึ้น
ผู้ป่วยมีสีหน้าแจ่มใส ไม่แสดงอาการ วิตกกังวล
ไม่มีอาการที่บ่งชี้ว่านอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น หาวบ่อย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง ขอบตาเขียวคล้ำ
กิจกรรมการพยาบาล
1.รับฟังปัญหาของผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย ระบายความรู้สึกและซักถามปัญหา เพื่อให้ผู้ป่วย ได้ระบายความรู้สึกและลดความวิตกกังวล
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและแผนการรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อลดความวิตกกังวล
จัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยให้ปลอดโปร่งเย็นสบาย และเงียบสงบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่าง ต่อเนื่อง
แนะนำผู้ป่วยให้ปฏิบัติในสิ่งที่จะทำให้นอนหลับ ได้ เช่น ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ อ่านหนังสือ สวดมนต์ นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจดจ่อกับ สิ่งๆหนึ่งไม่จดจ่อกับความวิตกกังวลมากเกินไป ทำ ให้คลายความวิตกกังวลลง
แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของคาเฟอีนโดยเฉพาะมื้อเย็น เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพื่อลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นอนหลับยากขึ้น
กระตุ้นให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนนอน เพื่อจะ ไม่ต้องตื่นกลางดึก เพื่อลดการ กระตุ้นที่ทำให้นอน หลับไม่ต่อเนื่อง
วางแผนกิจกรรมการพยาบาลให้เหมาะสม และ ให้การพยาบาลในครั้งเดียว เพื่อไม่เป็นการรบกวน เวลาพักผ่อนของผู้ป่วยบ่อยเกินไป
ประเมินผล : ผู้ป่วยบอกว่านอนหลับดีขึ้น นอนหลับประมาณ 6 ชั่วโมง / คืน