Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
[การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์] นศพต.เปล่งโสม พุกภู่ ชั้นปีที่3 เลขที่33…
[การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์] นศพต.เปล่งโสม พุกภู่ ชั้นปีที่3 เลขที่33
NST(non stress test)
Link Title
https://www.youtube.com/watch?v=5GT2_Et0Cjo
การทำ N.S.T. คือวิธีการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์วิธีหนึ่งที่นำเครื่องอิเลคโทรนิคสำหรับฟังเสียงหัวใจทารกตรวจดูการสนองของอัตราการเต้นหัวใจในขณะที่ทารกเคลื่อนไหว วิธีการตรวจนี้นับเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีข้อห้ามในการทำ และยังเชื่อถือได้ค่อนข้างมากในปัจจุบัน อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจสุขภาพทารกด้วยวิธีนี้คืออายุครรภ์ตั้งแต่34 สัปดาห์ขึ้นไปยกเว้นบางรายที่อาจทำตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ โดยจะวัดนาน20-30นาที
วิธีการตรวจ
1.อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจ คือ 30-32สัปดาห์
2.เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ
papergraph แผ่นกราฟบันทึนอัตรการเต้นของหัวใจทารก การหดรัดตัวของมดลูก และเครื่องหมายแสดงการดิ้นของทารก
marker กดเมื่อรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้น
Ultrasound transducer สำหรับบอกอัตราการเต้นของหัวใจทารก
Tocotransducer สำหรับวัดการหดรัดตัวของมดลูก
3.การตรวจNST จะมีการติดตั้งเครื่องมือกับร่างกายของมารดาตั้งครรภ์ เพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ จะติดตั้งตัวรักสัญญาณ2จุดคือ บริเวณhigh fundusและบริเวณที่ได้ยินเสียงหัวใจทารก มารดาจะรับmarkerเป็นปุ่มสำหรับกดเมื่อรู้สึกได้ว่าทารกดิ้น
ข้อบ่งชี้ในการทำNST
ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา เช่น มีประวัติทารกตายในครรภ์
เมื่อมารดาสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลง
การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มารดาอายุมากกว่า35ปี หรือ มารดามีโรคประจำตัว
เลยกำหนดคลอดแล้วยังไม่คลอด
การแปลผล
ผลบวก(reactive NST)แสดงอัตราการเพิ่มของการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ เมื่อทารกีการเคลื่อนไหวมากกว่า15ครั้ง/นาที และคงอยู่นานอย่างน้อย15วินาที ลักษณะเช่นนี้พบอย่างน้อย2ครั้งในช่วงระยะเวลานาน20นาทีติดต่อกัน โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นพื้นฐานเท่ากับอัตราปกติคือ 110-160ครั้ง/นาที การเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจลักษณะนี้เรียกว่า Fetal Heartraete Acceleration ซึ่งนับเป็นภาวะปกติ
ผลลบ (Non Reactive NST)ในการตรวจสอบไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ขณะมีการเคลื่อนไหว หรือทารกไม่มีการเคลื่อนไหวในระยะนาน40นาที อัตราการเต้นของหัวใจพื้นฐานน้อยกว่าค่ากติ หรือตรวจไม่พบ
ประเมินFetal Heart Rate Variability
FHR acceleration คือ การเพิ่มขึ้นของFHRอย่างฉับพลันมากกว่าหรือเท่ากับ15bpm และนานกว่า15วินาที แต่น้อยกว่า2นาที
FHR variability
Minimal variability คือ สังเกตเห็นความแปรปรวนของFHRได้แต่มีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ5bmp
Moderate(normal) variability คือ ขนาดของความแปรปรวนอยู่ระหว่าง6-25bpm มักพบในทารกปกติ
Absent variability คือ ไม่มีความแปรปรวนของFHRเมื่อมองด้วยตาเปล่า สัมพันธ์กับภาวะasphyxiaของทารกในครรภ์สูง
Marked variability คือ ความแปรปรวนของFHRมากกว่า25bpmสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
FHR deceleration คือ การลดลงของFHR
Early deceleration คือ การลดลงFHRอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไปและกลับคืนสู่Baselineอย่างช้าๆ สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
Varieable deceleration คือ การลดลงของFHRอย่างฉับพลันFHRจะลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ15bpm นาน15วินาที โดยอาจจะสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกหรือไม่ก็ได้
Late deceleration คือ การลดลงFHRอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไปและกลับคืนสู่Baselineอย่างช้าๆ สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
CST(Contraction Stress Test)
การตรวจสอบสภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
ข้อบ่งชี้
มารดาตั้งครรภ์เกินกำหนด
มีการเจ็บครรภ์โดยใช้ยาเร่งคลอด
การทำNST ได้ผล non reactive
เมื่อแพทย์สงสัยว่าทารกอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
ข้อยกเว้นในการทำ
อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นจึงไม่ทำในรายที่เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
Previos cesarean section
multiple gestation
Pretern Premature Rupture of Membrane
hydramnios
การแปลผล
Negative Contraction Stress Testไม่พบdecelerationของFHSในช่วง3contractionใน10นาที
Positive Contraction Stress Test พบLatedecelerationมากกว่า50%ของจำนวนครั้งการหดรัดตัวของมดลูกใน10นาที
Equivocal
Unsatisfied
ไม่สามารถทำให้มีการหดรัดตัวของมดลูกที่เหมาะสมได้ หรือคุณภาพการบันทึกไม่ดี แปลผลไม่ได้
Hyperstimulation
มีLate decelerationขณะที่มีหรือตามหลังการหดรัดตัวของมดลูกที่นานกว่า90วินาที
suspicious
มี Late decelerationน้อยกว่าครั้งหนึ่งของการทดสอบ
BPP(ฺBiophysical Profile)
เป็นการตรวจUltrasoundร่วมกับการตรวจNSTเพื่อประเมินสุขภาพทารกในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่3
ตัวแปรเสริมในการตรวจBPP
การหายใจ(Fetal Beathing Movement:FBM)
การเคลื่อนไหว(Fetal movementและtone)
ปริมาณน้ำคร่ำ(Amniotic Fluid measurement)
NST (non stress test)
ข้อจำกัดในการตรวจ
ต้องมีผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจพฤติกรรมของทารกด้วยUltrasound
ผลบวกลวงจากการตรวจสูง
พลาดที่จะวินิจฉัยปัญหาจากabnormal fetal tracing เพราะจากการแปลผลBPP
การแปลผล
6-8คะแนน ให้พิจารณาตามปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าน้ำคร่ำปกติโอกาสเกิดasphyxiaสูงขึ้น
8-10คะแนน โดยที่ปริมาณน้ำคร่ำปกติ แปลผลว่าทารกในครรภ์ยังปกติดี ไม่จำเป็นต้องรีบให้คลอด โอกาสเกิดasphyxiaใน1สัปดาห์น้อยกว่า1ใน100
0-4คะแนน ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ควรรีบให้คลอด
Ultrasonography
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีบทบาทสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยทางสูติศาสตร์ คลื่นเสียงความถี่สูงมีประโยชน์ในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ทั้งการตั้งครรภ์ที่ปกติและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตรวจติดตามการเจริญเติบโตและสุขภาพของทารก ตรวจคัดกรองความพิการและความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก รวมทั้งความผิดปกติของรกและน้ำคร่ำ
สามารถรายงานผลตรวจได้ดังนี้
ช่วง5-6เดือน ตรวจหาความผิดตปกติของโครงสร้างร่างกายทารกในครรภ์ (Fetal Structural Abnormality) โดยเฉพาะโครงสร้างหลัก (Major Structure) ได้แก่ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง โครงกระดูก แขนขา ทรวงอก เนื้อปอด หัวใจ ผนังหน้าท้อง อวัยวะหลักภายในช่องท้อง ได้แก่ ตับ ไต ความผิดปกติของลำไส้บางชนิด กระเพาะปัสสาวะ และ อวัยวะส่วนอื่น เช่น ภาวะปากแหว่าง จำนวนนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ครบ เป็นต้น
ช่วง3เดือนแรก จะช่วยวนิจฉัยชนิดครรภ์แฝด และประเมินอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการวินิจฉัยความผิดปกติ เช่น ภาวะไม่มีกะโหลกศีรษะ
ประโยชน์
อาการปวดท้องและมีเลือดออกในระยะใกล้คลอด การตรวจอัลตราซาวด์ช่วยวินิจฉัยภาวะฉุกเฉินของการตั้งครรภ์ได้ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดหรือไม่ หรือเป็นเลือดออกตอนใกล้คลอด รวมทั้งภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกขวางทางคลอด และท่าเด็กเป็นต้น
อาการปวดท้องอื่นๆ ของหญิงที่ตั้งครรภ์อยู่ เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี, นิ่วทางเดินปัสสาวะ, นิ่วในไต รวมทั้งการวินิจฉัยโรค อื่นๆ เช่น เนื้องอกของตับ, ไต, ตับอ่อน ขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น
อาการปวดท้องน้อยของมารดาตั้งครรภ์ และหรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในระยะ 1-2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ การตรวจอัลตราซาวด์ช่วยบอกขนาดมดลูกรวมทั้งขนาดของการตั้งครรภ์ ถุงน้ำของการตั้งครรภ์ว่าอยู่ในหรือนอกมดลูก เพราะถ้าอยู่นอกมดลูก ต้องผ่าตัดรักษาฉุกเฉินมิฉะนั้นผู้ป่วยอาจจะเลือดตกในช่องท้องและเสียชีวิตได้ ถ้าเรารักษาไม่ทันท่วงที ในกรณีของการแท้งบุตร อัลตราซาวด์จะช่วยวินิจฉัย ภาวะแท้งบุตรได้ดี ช่วยบอกว่าเด็กมีชีวิตอยู่หรือไม่ หรือแท้งไปแล้ว
การตรวจในไตรมาสต่างๆ
ไตรมาสที่ 2
ตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ในมารดาที่มาฝากครรภ์ช้า และไม่ได้รับการตรวจตั้งแต่ในไตรมาสแรก สมารถตรวจอวัยวะต่างๆ สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต ตรวจดูตำแหน่งรกและปริมาณน้ำคร่ำ อีกทั้งยังสามารถตรวจการไหลเวียนโลหิตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกซึ่งเชื่อมต่อมายังทารก ซึ่งหากพบความผิดปกติ ก็อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษและภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้
ในกรณีที่มารดามีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน เราสามารถวัดความยาวของปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์นี้ เพื่อทำนายโอกาสในการที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดซ้ำ เพื่อให้การป้องกันภาวะดังกล่าว
ไตรมาส 3
ทำในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ ที่สำคัญสามารถตรวจดูอัตราการเจริญเติบโตของทารก โดยปกติภาวะทารกเติบโตช้าจะเกิดในช่วงนี้ ถ้าสามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของทารก และยังช่วยลดโอกาสการเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงของทารกหลังคลอดได้อีกด้วย
การทำอัลตร้าซาวด์ในช่วงนี้ยังสามารถตรวจการเจริญเติบโตของกระดูกของทารกได้ ซึ่งจะเป็นการวินิจฉัยความผิดปกติของกระดูก เช่น คนแคระ กระดูกบางผิดปกติ แขน-ขาสั้น มือหรือเท้าอยู่ในท่าผิดปกติ เช่นเท้าปุก
ไตรมาสที่ 1
ทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 11-13 + 6 สัปดาห์ เป็นการตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์ โดยการวัดความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงกระดูกก้นกบ ทำให้ทราบกำหนดวันคลอดที่แน่นอนในมารดาที่ประจำเดือนไม่มาและยังสามารถใช้ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ โดยการวัดความหนาของต้นคอทารก และกระดูกจมูกของทารก ร่วมกับการตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดา ทำให้เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้อีกด้วย
ความผิดพลาด
อวัยวะของทารกไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ ความผิดปกติจึงอาจเกิดตอนหลังคลอดได้
อวัยวะบางอย่างมันเล็กมาก บางอย่างเรามองไม่เห็น อย่างนิ้วถ้าเด็กไม่กางมา เราก็มองไม่เห็น หรือหัวใจถ้าเล็กกว่าครึ่งเซ็นต์ ก็มองไม่เห็น 3อวัยวะของเด็กในท้องกับนอกท้องไม่เหมือนกัน
ท่าทางของเด็ก อาจบดบังการมองเห็นภาพอวัยวะต่างๆ ได้
การตรวจวินิจฉัยและการคัดกรองดาวน์ซินโดรม
การตรวจคัดกรอง
การตรวจคัดกรองผู้ตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก -
คุณจะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วง 11 ถึง 13 สัปดาห์และการตั้งครรภ์ 6 วัน การทดสอบเลือดจะดำเนินการในช่วงระยะเวลาเดียวกันของการตั้งครรภ์เพื่อวัดการตั้งครรภ์ของพลาสมาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ (PAPP-A) และระดับโกนาโดโทรปิน (hCG) ในมนุษย์ การทดสอบนี้ตรวจพบการตั้งครรภ์ดาวน์ซินโดรม 80-90% การทดสอบนี้ไม่เหมาะสำหรับคุณถ้าคุณตั้งครรภ์นานกว่า 14 สัปดาห์
การตรวจครรภ์ระยะที่สอง -
หากคุณตั้งครรภ์นานกว่า 14 สัปดาห์และน้อยกว่า 20 สัปดาห์คุณจะได้รับการตรวจเลือดในสัปดาห์ที่ 16 ถึง 19 และ 6 วันสำหรับการตรวจค่าโปรตีนจากรก (AFP) ฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก (hCG) เอสไตรออล(uE3) และอินฮิบิน เอ การทดสอบการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ดาวน์ซินโดรมประมาณ 80%
วิธีการตรวจ
การตรวจโครโมโซมของทารก เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน โดยการเจาะตรวจน้ำคร่ำขณะอายุครรภ์ 17-20 สัปดาห์ ทำให้ทราบว่าทารกมีโครโมโซมผิดปกติหรือไม่ แต่การเจาะตรวจน้ำคร่ำมีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรประมาณ 1 ใน 350 ราย ดังนั้นสูติแพทย์จึงแนะนำการเจาะตรวจน้ำคร่ำในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น เช่น คุณแม่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป คุณแม่ที่คลอดลูกคนก่อนเป็นทารกดาวน์ หรือคุณแม่ที่ทำการตรวจคัดกรองเลือดแล้วได้ผลบวก เป็นต้น
การตรวจสารชีวเคมีในเลือดของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถตรวจคัดกรองทารกดาวน์ได้ถึงร้อยละ 85-90 เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีประโยชน์ในการวางแผนในการตรวจวินิจฉัยและดูแลทารกที่มีความเสี่ยงต่อไป วิธีนี้สามารถทำได้เฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 10 -14 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้นคุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์กับสูติแพทย์ทันทีที่สงสัยว่าตั้งครรภ์เพื่อรับการตรวจคัดกรองในช่วงดังกล่าว
การแปลผล
การตรวจคัดกรองให้ผลบวก หมายความว่าคุณแม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทารกดาวน์สูงกว่า 1 ใน 200 (ณ ขณะที่ตรวจเลือด) ซึ่งมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี คุณแม่ในกลุ่มนี้จะได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ และให้ทางเลือกในการตรวจโครโมโซมของทารกโดยการเจาะตรวจน้ำคร่ำหรือการตัดชิ้นเนื้อรกไปตรวจ อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองให้ผลบวก ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทารกดาวน์ แต่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ทารกดาวน์สูงกว่าคุณแม่ทั่วไป
การตรวจคัดกรองให้ผลลบ หมายความว่าผลการตรวจปกติ คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทารกดาวน์ต่ำกว่า 1 ใน 200 (ณ ขณะที่ตรวจเลือด) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงน้อย และไม่มีความจำเป็นต้องทำการเจาะตรวจโครโมโซมของทารก เพราะอาจไม่คุ้มต่อความเสี่ยงของการแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำหรือการตรวจเนื้อรก อย่างไรก็ตามการที่การตรวจคัดกรองให้ผลลบ มิได้หมายความว่าทารกไม่มีโอกาสเป็นดาวน์ เพียงแต่บอกว่ามีโอกาสเกิดน้อยมาก