Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Greater Mekong Subregion (GMS) (โดยแผนงานที่มีความสำคัญในลำดับสูง…
Greater Mekong Subregion (GMS)
วัตถุประสงค์
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก
วิสัยทัศน์
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันให้มากขึ้น (connectivity)
เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness)
สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community)
จุดแข็ง
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
อัตราค่าจ้างแรงงานยังคงต่ำรัฐบาลได้สนับสนุนการใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดที่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และแต้มต่อในฐานะประเทศด้อยพัฒนา ที่จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจและเพิ่มความสามรถในการแข่งขัน
จุดอ่อน
ประชากรยังมีการศึกษาที่อยู่ในระดับต่ำ ขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพและความชำนาญในอาชีพนั้นๆ ข้อจำกัดด้านระดับการพัฒนาและการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิต และปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไม่เอื้อประโยชน์ ต่อความสะดวกทางการค้าต่างๆ ภัยคุกคาม มาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว การขาดเสถียรภาพของราคาและตลาดส่งออกสินค้าเกษตรจากมาตรการปกป้องการนำเข้าของประเทศพัฒนาแล้วที่ล้มเหลว จากการ เจราจา WTO
ผลกระทบจากการมีโครงการนี้ในอนุภูมิภาค
การพัฒนาหลายประการในแม่น้ำโขงล้วนส่งผลกระทบ
ต่อแม่น้ำและผู้คนสองริมฝั่งโขง
การเปิดให้มีการขนส่งสินค้าทางเรือขนาดใหญ่ ทำให้คลื่นจากเรือพุ่งเข้ากระแทกและกัดเซาะทำลายตลิ่ง
การระเบิดเกาะแก่งหินและสันดอนทราย ทำให้กระแสน้ำมีความเร็วและไหลเชี่ยวมากขึ้น เพราะไม่มีเกาะแก่งชะลอการไหลของน้ำ ทำให้น้ำพุ่งกัดเซาะทำลายชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น
ทำให้การดำรงชีวิตของชาวสองฝั่งโขงต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติ รัฐบาลประเทศต่างๆควรตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญ ร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับแม่น้ำโขงเป็นผลกระทบต่อคนหลายสิบล้านคน และมีอาณาบริเวณกว้างขวาง และนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจนยากที่จะแก้ไข
โดยแผนงานที่มีความสำคัญในลำดับสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน ได้แก่
1) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)
3) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
4) แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
5) แผนงานซื้อขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements)
6) แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment)
7) แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness)
8) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะควาชำนาญ : (Developing Human Resources and Skills Competencies)
9) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
10) แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management)
11) แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
2) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตก (East-West Economic)