Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด (Postpartum depression…
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด
(Postpartum depression and Postpartum psychosis
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
ความหมาย
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและพฤติกรรม
เริ่มมีอาการตั้งแต่ 4 สัปดาห์ ถึง 1 ปีหลังคลอด ลักษณะสำคัญที่ต่างจาก Postpartum blue คือ อาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารก อาการเป็นอยู่นานได้ถึง 6 เดือนหลังคลอดหรือนานกว่า
สาเหตุ
ความตึงเครียดทางจิตใจ
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึ่งปราถนา
ปัญหาในชีวิตสมรส
ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอจากคู่สมรส
ครอบครัว เคยมีประวัติซึมเศร้ามาก่อน
ความตึงเครียดทางสังคม
เศรษฐานะ ความยากจน
ได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดจากครอบครัว
มารดาวัยรุ่นที่ต้องพึ่งพาบิดา มารดา
ความตึงเครียดทางร่างกาย
อาจเกิดจากเสียเลือด สูญเสียน้ำและอิเล็คโทรไลต์
เหนื่อยล้าจากการคลอดลำบาก
ประสบการ์ของการคลอดไม่ดี
อาการและอาการแสดง
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
ความสนใจหรือความเพลิดเพลินลดลง
สมาธิลดลง ลังเลใจ
อาจมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายบุตร
ผลกระทบ
ต่อครอบครัว
สมรรถภาพทางเพศลดลง
สูญเสียความสนใจในชีวิตสมรส
ติดต่อสื่อสารภายในครบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
ต่อบุตร
ไม่พูดคุยกับคนรอบข้าง
ทักษะด้านสังคมบกพร่อง
มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ต่อมารดาหลังคลอด
เหนื่อยล้า เชื่องซึม
อาจมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง ได้แก่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติด หรือการฆ่าตัวตาย
สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ
การวินิจฉัย
ใช้เกณฑ์ DSM-V มีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยต่อไปนี้ 5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1 หรือข้อ 2 หนึ่งข้อ และมีอาการนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่เคยมีประวัติของ mania หรือ hypomania ดังนี้
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
เบื่ออาหาร น้ำหนักลง หรือกินจุ
น้ำหนักเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก
คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
สมาธิลดลง ลังเลใจ
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน
รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
Psychomotor agitation หรือ Retardation
การพยาบาล
อธิบายให้มารดาหลังคลอดทราบถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะหลังคลอด รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอารมณ์ซึมเศร้า
สนับสนุนให้มารดาหลังคลอดได้รับการประคับประคองทางจิตใจจากทีมบุคลากรสุขภาพ และครอบครัว
รับฟังปัญหาต่างๆ ของมารดาหลังคลอด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว
ส่งเสริมและให้กำลังใจในการแสดงบทบาทการเป็นมารดา โดยกล่าวชมเชยเมื่อมารดาสามารถปฏิบัติตัวให้การพยาบาลทารกได้ถูกต้อง
การใช้เครื่องมือประเมินและคัดกรองภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เช่น EPDS, BDI-II และ PDSS โดยคัดกรองเบื้องต้นเพื่อส่งต่อจิตแพทย์วินิจฉัย
ป้องกันไม่ให้มารดาทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายบุตร ในรายที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
จัดมารดาเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกับมารดารายอื่นที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เพื่อทำให้เกิดความอบอุ่น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือว้าเหว่
หากมารดาเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางจิตใจรุนแรงขึ้น ควรส่งต่อจิตแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษาต่อไป
ภาวะโรคจิตหลังคลอด
(Postpartum psychosis)
ความหมาย
มารดาหลังคลอดเกิดความวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติด้านอารมณ์ จะมีอาการของไบโพลาณ์และโรคจิตเภท
โดยมักเริ่มเกิดอาการใน 2-3 วันแรกหลังคลอด
อาการจะพบได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด
สาเหตุ
มีความเครียดในระยะตั้งครรภ์
มีลักษณะบุคลิกภาพแปรปรวน
มีประวัติไบโพลาร์
ปัญหาเศรษฐานะ
เคยมีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
ประวัตอบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
อาการและอาการแสดง
อาการนำ
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
อารมณ์ไม่แน่นอน หงุดหงิดง่าย
นอนไม่หลับ ฝันร้าย
ขาดสมาธิ สูญเสียความจำ
มักเป็นในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด
อาการโรคจิต
ต่ออจากระยะแรก มีอาการโรคจิตหรือวิกลจริต (หลงผิด) ร่วมกับความผิดปกติของอารมณ์
อาการจำเพาะ คือ Bipolar disorder
หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองแบบ (manic depressive illness)
มีทั้งอาการซึมเศร้าและอาการแมเนีย
หรืออาจมีอาการทั้ง 2 แบบผสมกันในเวลาเดียวกัน
ผลกระทบ
รู้สึกว่าตนมีความผิดที่มีอารมณ์เศร้าในช่วงเวลาควรมีความสุข
รู้สึกห่างเหินต่อบุตร
ขาดความสนใจทางเพศ
มีอาการวิกลจริตไปชั่วคราวและไม่มีความสามารถรู้ผิดชอบชั่วดี อาจฆ่าบุตรได้
สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย
มีโอกาสสูงถึงร้อยละ 30-50
ที่จะเกิดอาการโรคจิดซ้ำในการคลอดครั้งต่อไป
การประเมินและการวินิจฉัย
ตรวจร่างกาย
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับมารดาหลังคลอด
เช่น ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ หลงผิด หรือมีประสาทหลอน
ซักประวัติ
ซักถาม และเฝ้าระวังประวัติเสี่ยง
เช่น ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย
ส่งพบจิตแพทย์ เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยต่อไป
ใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การพยาบาล
สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และคำพูดของมารดาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเอง
ให้เวลาแก่มารดาในการพูดคุย และรับฟังในสิ่งที่มารดาพูดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
จัดกิจกรรมการพยาบาลให้มารดาอย่างเหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเครียด และวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น
ชักนำให้มารดาเข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัด เมื่อมารดามีความพร้อม อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงเหตุผลในการมารวมกลุ่ม
อธิบายให้มารดา สามี และญาติ ได้ทราบถึงการวินิจฉัย และการรักษาของแพทย์
ดูแลให้มารดาได้รับยารักษาโรคจิตเวชอย่างถูกต้องตรงตามแผนการรักษา
และสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากยา
ดูแลการรับประทานอาหาร และพยายามจัดอาหารตามความชอบมารดา พร้อมคำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร
ส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีภายในครอบครัว ให้คำแนะนำและให้กำลังใจแก่สามี และญาติ
ส่งเสริมและกระตุ้นให้มารดาได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากที่สุด พร้อมกล่าวชมเชย
ให้คำแนะนำในการเว้นระยะการมีบุตร การคุมกำเนิดเป็นระยะ 2-3 ปี เนื่องจากอาจมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้
ควรมีการติดตามเยี่ยมบ้านหรือติดต่อทางโทรศัพท์ หลังจำหน่าย 2-3 สัปดาห์
รวมทั้งให้คำแนะนำการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด
การรักษาทางกาย
ให้ยาต้านโรคจิต
กลุ่ม Atypical antipsychotic
สามารถใช้ได้ทั้งในรายที่มีอาการจิตเภทและอารมณ์แมนเนีย
ให้ยาควบคุมอารณ์
Ex. Lithium carbonate / Carbamazepine
ในกรณที่ให้ยา Lithium ควรงดให้นมบุตร
การช็อกไฟฟ้า (ECT)
ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือรักษาร่วมการใช้ยา
ให้ยาแก้ซึมเศร้า
กลุ่มยาที่เลือกใช้อันดับแรก คือ Serotonin reuptake inhibitor
ในระหว่างให้ยาผู้ป่วยสามารถให้นมบุตรได้
การรักษาทางจิตโดยใช้จิตบำบัด
**ใช้ในรายที่อาการไม่รุนแรง หรือรักษาร่วมกับการใช้ยา
จิตบำบัดรายบุคคล และจิตบำบัดกลุ่ม
การบำบัดทางปัญญา หรือการบำบัดที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา
เพื่อแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ให้ยอมรับบทบาทการเป็นมารดามากขึ้น
ให้มารดามีโอกาสระบายความโกรธ ความไม่พอใจ และปัญหาต่างๆที่มีอยู๋
จิตบำบัดครอบครัว หรือจิตบำบัดระหว่างคู่สมรส หรือสุขภาพจิตศึกษา
โดยให้จิตบำบัดร่วมกับการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดขึ้น
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม
จัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่
ให้มารดาหลังคลอดช่วยกิจกรรมต่างๆ เท่าที่ทำได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง
แนะนำสามีให้หมั่นมาเยี่ยมภรรยาขณะอยู่ที่โรงพยาบาล คอยอยู่เป็นเพื่อน และให้กำลังใจ
ไม่ควรแยกบุตรจากมารดา ให้มารดาได้มองเห็นบุตรเสมอ เพื่อรักษาความสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตร
นางสาวเบญจพร วงศ์ศรีชา เลขที่ 31 ชั้นปีที่ 3 ห้อง A