Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ฝีหนองที่เต้านม (Breast abscess) (สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง…
ฝีหนองที่เต้านม
(Breast abscess)
ความหมาย
ภาวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อแล้วเกิดน้ำหนองรวมกันเป็นกลุ่มในเต้านม
ทำให้ผิวหนังเหนือบริเวณที่เกิดฝีหนองเปลลี่ยนแปลงมีลักษณะคล้ำ หรือช้ำหนอง
มักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด
พยาธิสภาพ
Staphylococcus aureus
หัวนมแตก
อักเสบติดเชื้อ (mastitis)
เพียงส่วนเดียวของเต้านม (lobe)
แบคทีเรียเจริญเติบโต และแพร่กระจายไป lobe อื่น
ฝีหนองที่เต้านม
(Breast abscess)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
การติดเชื้อที่เต้านม
หัวนมแตก หรือมีแผลที่หัวนม
ท่อน้ำนมอุดตัน
เต้านมคัดตึง หรือมีน้ำนมคั่งในเต้านม
มีประวัติการติดเชื้อที่เต้านมหรือหัวนม
มีความผิดปกติที่เต้านม หรือได้รับการผ่าตัดเต้านม
ตั้งครรภ์ครั้งแรก
อายุ > 30 ปี
มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้าน
ประวัติสูบบุหรี่
อาการและอาการแสดง
เต้านมบวมแดง ร้อน และปวดมาก
คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมาก
และผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนเป็นสีแดง
หัวใจเต้นเร็ว
มีไข้ หนาวสั่น
อุณหภูมิ > 38.4 องศาเซลเซียส
ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
คลื่นไส้ อาเจียน
ฝีแตก และมีหนองไหลออกมา
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บ
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ประเมินความเสี่ยง
เต้านมคัดตึง
เคยมีประวัติการติดเชื้อที่เต้านม หรือหัวนม
ท่อน้ำนมอุดตัน
มารดาตั้งครรภ์ครั้งแรก
หัวนมแตก หรือมีแผลที่หัวนม
มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้าน
มารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรไม่ถูกวิธี
ตรวจร่างกาย
มีไข้ หนาวสั่น
อุณหภูมิกาย > 38.4 องศาเซลเซียส
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับ
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บ
ผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะบวมแดง ร้อน
คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมาก
กรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง
อาจพบหนองไหลออกมาจากเต้านม
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และตรวจพิเศษ
การอัลตราซาวนด์เต้านม
เพื่อหาตำแหน่งหนองแและเจาะดูดหนอง
หรือสารคัดหลั่งบริเวณที่มีฝีหนอง
ส่งตรวจ CBC
ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนม หรือของเหลวที่ออกจากเต้านม
ส่งเพาะเชื้อจากหนอง ตรวจหาความไวของเชื้อต่อยา
การรักษา
การระบายเอาหนองที่เต้านมออก
โดยการ needle aspiration หรือ incision and drainage ควบคู่ไปกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
ให้ยาปฏิชีวนะ
บรรเทาอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ (analgesics and antipyretics
**สามารถให้นมลูกได้ในข้างที่เต้านมเป็นฝีที่ระบายเอาหนองออกหมดแล้ว ยกเว้น ในกรณีที่มีอาการเจ็บมาก หรือการผ่าเป็นแผลขนาดใหญ่ใกล้ลานนม ควรปั๊มนมออกไม่ให้นมคัดตึง เมื่อแผลดีขึ้นมามารถกลับมาให้นมได้
หรือเมื่อแพทย์อนุญาต มักใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
การพยาบาล
ลดการกระตุ้นเต้านม และหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ
ประคบร้อนหรืออาจใช้ความร้อนเป่า (ไดร์เป่าผม) และอาจช่วยระบายน้ำนม โดยใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า
กรณีเต้านมอักเสบ สามารถให้ลูกดูดนมได้ แต่หากเต้านมเป็นฝีหนอง ควรงดให้ทารกดูดข้างที่เป็นฝี
โดยบีบระบายน้ำนมออกแทน และให้ทารกดูดข้างที่ไม่เป็นฝี และกลับมาดูดข้างที่เป็นฝีได้เมื่อแพทย์อนุญาต
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา
แนะนำสวมเสื้อชั้นในหรือพันผ้าเพื่อพยุงเต้านม ต้องระวังไม่พันผ้าแน่น หรือสวมเสื้อชั้นในคับแน่นเกินไป
กรณีที่แพทย์ผ่าฝีหนองเปิดแผลเพื่อระบายหนอง ดูแลทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง
กรณีที่แพทย์อัดแผลด้วยผ้าก๊อซ เมื่อครบ 24 ชั่วโมงเปิดทำแผลและเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่ที่มีขนาดเล็กลง หากพบว่าแผลมีเลือด หนองเพิ่มขึ้น หรือมีกลิ่นเหม็น ให้รีบรายงานแพทย์
กรณีผ่าฝีหนองและมีการใส่ drain ควรดูแลความสะอาดและสังเกตลักษณะของสารคัดหลั่งที่ออกมา
แนะนำมารดาให้สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ยังมีเลือด หนองซึม หรือแผลมีกลิ่นเหม็น ให้รีบแจ้งพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ เพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเต็มที่ อาจใช้หมอนเล็กรองใต้ไหล่
หรือแขนข้างที่มีแผล เพื่อให้มารดาสุขสบายและพักผ่อนได้ดี
แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
นางสาวเบญจพร วงศ์ศรีชา เลขที่ 31 ชั้นปีที่ 3 ห้อง A