Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลเลือดมารดา HbsAg =positiveไวรัสตับอักเสบบีในสตรีตั้งครรภ์…
ผลเลือดมารดา HbsAg =positiveไวรัสตับอักเสบบีในสตรีตั้งครรภ์
หมายถึง
สตรีที่ตั้งครรภ์และมีภาวะตับอักเสบบีเรื้อรัง คือตรวจเลือดพบไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือด มีความสำคัญคือ มีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกที่เกิดออกมาได้ และทำให้ลูกเป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรังในภายหลังได้มาก ถ้าไม่มีการป้องกัน และเคยมีการสำรวจในประเทศไทยพบสตรีตั้งครรภ์เป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรังอยู่ถึง 8-10 % และพบว่าคนในแถบเอเชียก็เป็นกันมาก
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวของโรคตับอักเสบบีประมาณ60-150วันโดยเฉลี่ย90วันภายหลังจากการติดเชื้ออาการและอาการแสดงโดยทั่วไป(commonsymptoms)ของผู้ที่ได้รับเชื้อมีความแตกต่างกันโดยที่เด็กที่อายุต่ำกว่า5ปีและผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อในระยะแรกจะไม่มีอาการ
เด็กที่อายุมากกว่า5ปีร้อยละ30-50จะมีอาการติดเชื้อเฉียบพลัน
ผู้ที่อายุมากกว่า60ปีจะมีอาการรุนแรง(CDC,2013)อาการของการติดเชื้อได้แก่มีไข้อ่อนเพลียเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียนปวดท้องปัสสาวะสีเข้มอุจจาระสีซีดปวดข้อและในรายที่มีอาการรุนแรงมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
เด็กทารกที่ได้รับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์จะกลายเป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรังได้สูงกว่าผู้ใหญ่คือร้อยละ50-90
การแพร่ระบาดของโรคตับอักเสบบี
1.การแพร่ระบาดโรคตับอักเสบบีทางตรงได้แก่การส่งผ่านเชื้อไวรัสด้วยการให้เลือดที่ปนเปื้อนการสัมผัสส่วนประกอบของเลือดที่ปนเปื้อนการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดโรคการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มเสพยาเสพติดการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือดของผู้ป่วยผ่านทางผิวหนังที่มีแผล
2.การแพร่ระบาดโรคตับอักเสบบีทางอ้อมเกิดจากการที่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถอยู่บนพื้นผิวของภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเป็นระยะเวลากว่า7วันโดยยังไม่สูญเสียความสามารถในการแพร่เชื้ออุปกรณ์เหล่านั้นเช่นบนพื้นผิวของโต๊ะใบมีดโกนภาชนะที่เปื้อนเลือด
3.การติดต่อไวรัสตับอักเสบบี จากมารดาสู่ทารกนั้น เกิดจากการที่หญิงมีครรภ์ทั้งในผู้ที่ติดเชื้อเฉียบพลันและเป็นพาหะสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปยังทารก โดยทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของโรคและตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HbAg positive)
ทารกเหล่านี้จะกลายเป็นพาหะของโรคและเสียชีวิตด้วยโร คตับอักเสบเรื้อรังและมะเร็งตับเมื่ออายุมากขึ้น
การแพร่กระจายเชื้อจากมารดาสู่ทารกมักเกิดในขณะคลอด เพราะทารกที่คลอดจะสัมผัสกับเลือดของมารดาโดยตรง ทารกจึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนต้ังแต่แรกเกิด มิเช่นนั้น แล้วทารกจะเป็นโรคตับอักเสบบีไปตลอดชีวิตขณะที่ในระยะตั้งครรภ์นั้นเน่ืองจากไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่านผนังหุ้มเซลล์ผิวหนังท่ีไม่มีบาดแผลได้
การป้องกันการติดต่อโรคตับอักเสบบี
การหลีกเลี่ยงหรือปกป้องจากการสัมผัสโรค
2.1 การป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง ของผู้ที่ติดเชื้อ
2.2 การป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก SAPPGW แนะนำแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก โดยหญิงมีครรภ์ที่มีการติดเชื้อแต่ผลเลือดมี anti HBV น้อยกว่า 10 IU/ml ควรได้รับ Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) (400 IU) ทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมงหลังติดเชื้อ จากนั้นควรให้วัคซีนภายใน 7 วัน และให้ซ้ำใน 1 เดือนและ 6 เดือนหลังการติดเชื้อ
3.การคัดกรองโรคและเฝ้าระวังโรค
3.1สำหรับกลุ่มเสี่ ยงหรือผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่เป็นพาหะได้แก่บุคคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขควรได้รับการคัดกรอง
3.2 การตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรกโดยตรวจหาพาหะHBsAg
1.การได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีสำหรับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการได้ติดเชื้อที่ ควรได้รับวัคซีนคือทารกแรกเกิดวัยรุ่น และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ผู้ป่วยเอชไววี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
การพยาบาลสตรีที่เป็นโรคตับอักเสบบี
ระยะตั้งครรภ์
หญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกจะได้รับการคัดกรองโรคตับอักเสบบีและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการดำเนินโรคที่รุนแรงขึ้นและการแพร่กระจายของโรคในกรณีที่พบว่าเป็นพาหะของโรคและการป้องกันผลของการติดเชื้อต่อการตั้งครรภ์
ระยะคลอด
ยังเป็นระยะที่มีการแพร่กระจายเชื้อของผู้คลอดสู่บุคลลากรที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งโดยตรงดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์จึงต้องเผ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อควบคู่ไปกับการดูแลให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ระยะที่มีการแพร่กระจายของเชื้อได้จากน้ำคาวปลา และสิ่งคัดหลั่งของมารดาหลังคลอดสำหรับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดานั้นสามารถทำได้แม้ว่าจะพบ HBV DNA และ HBsAg ในน้ำนมมารดาก็ตาม ควรส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและควรให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือน และสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ถึง 2 ปี สำหรับการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อและการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การปรับตัวด้านจิตสังคมและการเข้าสู่บทบาทมารดา