Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการเขียนรายงานการวิจัยส่วนเนื้อหา (บทที่ 1 บทนำ (1) …
หลักการเขียนรายงานการวิจัยส่วนเนื้อหา
บทที่ 1 บทนำ
1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มีแนวทางการเขียนและต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ประเด็นดังนี้
1.1 เกริ่นนำสภาพทั่วไป
1.2 ชี้ให้เห็นปัญหา
1.3 เสนอแนวทางแก้ไข
1.4 สรุปเหตุผลที่สำคัญในการเลือกใช้แนวทาง วิธีการ แนวคิดหรือทฤษฎีนั้นๆ ในการศึกษาวิจัย
2) วัตถุประสงค์การวิจัย
หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย มีดังนี้
1 วัตถุประสงค์การวิจัย ต้องเขียนให้เห็นประเด็นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกรอบของเรื่องที่ทำวิจัย
2 เขียนเป็นรูปประโยคบอกเล่า หรือเขียนในเชิงของการเปรียบเทียบหรือความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องการศึกษา โดยหลีกเลี่ยงการเขียนเป็นประโยคคำถาม
3 วัตถุประสงค์แต่ละข้อ ควรมีประเด็นการศึกษาเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น
4 มีความชัดเจนในตัวเองว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดที่อยู่ในกรอบของการวิจัย
3) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
หลักการเขียนสมมติฐานการวิจัยที่ดี จะต้องเขียนให้มีลักษณะดังนี้
1 สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมายต้องการศึกษาอะไร สมมุติฐานก็ควรตั้งให้อยู่ในลักษณะแนวทางเดียวกัน
.2 ต้องตอบคำถามได้ครอบคลุมปัญหาทุกๆ ด้านที่ศึกษา
3 สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูลและวิธีการทางสถิติ
4 ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย รัดกุม
5 สมมุติฐานแต่ละข้อควรตอบคำถามเพียงข้อเดียวหรือประเด็นเดียว หากมีตัวแปรที่จะต้องศึกษาหลายตัว ควรแยกเป็นสมมติฐานย่อยแต่ละข้อ
6 สมเหตุสมผลตามทฤษฎี หลักการและเหตุผล สภาพที่เป็นจริงที่ยอมรับกันทั่วไป
4) ขอบเขตของการวิจัย
จะต้องเขียนให้คลอบคลุมใน 4 ด้านดังนี้
1 ด้านเนื้อหาหรือโครงสร้าง
3 ด้านตัวแปรที่ทำการศึกษา
4 ด้านระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย
2 ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
5) นิยามศัพท์เฉพาะ
นิยามศัพท์เฉพาะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมหรือวิธีการตามหัวข้อที่จะทําวิจัย เพื่อแจ้งให้คนอ่านทราบว่างานวิจัยครั้งนี้หมายถึงอะไร อย่างไร เพราะหัวข้อเรื่องคล้ายกัน
6) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ควรเขียนให้เห็นว่าใครได้รับประโยชน์สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ และได้รับประโยชน์อย่างไร โดยเขียนให้ชัดเจน และควรลำดับความสำคัญของผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด นำไปไวเป็นแรกๆ ตามลำดับ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องมักได้แก่ ทฤษฎีหรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทําผู้วิจัยจะต้องค้นคว้าให้ ได้มากพอสมควร เพื่อไม่ให้การวิจัยไปซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของคนอื่น หรือช่วยให้การทําวิจัยมีความคมชัดถูกทิศทางมากยิ่งขึ้น
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ งานวิจัย (รวมถึงการค้นคว้าอิสระ = Independent Stydy หรือวิทยานิพนธ์ =Thesis หรือ ดุษฎีนิพนธ์ = Dissertation) ที่มีคนทําไว้แล้ว และมีส่วนเกี่ยวพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กําลังจะทํา สามารถนํามาอ้างอิงได
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/แหล่งข้อมูล
2) เครื่องมือในการวิจัย
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
4) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเขียน บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก
ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ มักจะเสนอในรูปของตาราง หรือ กราฟ
และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น จะต้องนำเสนอผลการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยลำดับตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือจะแบ่งเป็นกี่ตอน จัดลําดับ อย่างไร
ส่วนที่ 1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การเขียน บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้
เป็นการกล่าวถึงจุดมุ่งหมาย(หรือหัวข้ออื่น ๆ ด้วย) และสรปุผลการวิจัย ซึ่งย่นย่อมาจากบทที่ 4
สิ่งที่สําคัญมากที่สุดในบทนี้ก็คือ การอภิปรายผล ซึ่งผู้วิจัยต้องแสดงความสามารถในการวิจารณ์ ถึงเหตุและผลของการวิจัยที่ค้นพบ ว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไรหรือทําไมจึงได้ผลเช่นนั้น
ข้อเสนอแนะให้กับผู้ที่จะทําวิจัย หรือการนําผลงานวิจัยไปใช้ ต้องเสนอแนะตามผล ที่เกิดจากผลของการวิจัยเท่านั้น