Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) (ปัจจัยเสี่ยง (การรับประทานอาหารสุกๆดิ…
มะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)
สาเหตุ
ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่มีบางข้อมูลพบว่าอาจเกิดจากนิ่วในท่อน้ำดี
ประเภท
extrahepatic cholangiocarcinoma
ส่วนกลางของท่อน้ำดี (middle)
ท่อน้ำดีส่วนล่าง (distal common bile duct)
ขั้วตับ (hilar)
intrahepatic holangiocarcinoma
Mass forming (MF) : 59% สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HBV , HCV
Periductal infiltrating (PI) : 7% มักมาด้วยดีซ่าน <-- ทางเดินท่อน้ำดีอุดตัน เนื่องจากมีการลุกลามตามเส้นประสาท (neural invasion) มาด้วย obstructive jaundice
intraductal growth (IG) : 4% มักมาด้วยท่อน้ำดีอักเสบ (cholangitis)
Perihilar cholangiocarcinoma (MF + PI) : 20% มักลุกลามไปตามท่อน้ำดี รวมถึง portal vein ร่วมกับการมีก้อนอยู่ในเนื้อตับ
การรักษา
การรักษามะเร็งท่อน้ำดีขึ้นอยู่กับระยะของโรค ในระยะเริ่มต้นส่นใหญ่รักษาด้วยการผ่าตัด ในระยะลุกลามรักษาด้วยเคมีบำบัด กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อาจพิจารณาใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดี
การพยาบาล
PTBD
การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ PTBD ตามบทบาทของผู้ช่วยพยาบาล
งดน้้าและอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง(ยกเว้นยาความดัน)
ก่อนท้าหัตถการ 1 ชั่วโมง
ถ้าผนังหน้าท้องผู้ป่วยมีขนเยอะ แนะนำ clean & shave ผนังหน้าท้องส่วนบน รวมถึงบริเวณชายโครงขวาด้วย
การดูแลผู้ป่วยหลังทำ -ผู้ป่วยได้รับการคาสายระบายน้้าดีต่อลงถุงรองรับ (PTBD Tube e urine bag )
ดูแลการจัดวางสายระบายน้้าดี เพื่อให้เกิดการไหลของ bile content อย่างมีประสิทธิภาพ
สังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น bleeding, shock,มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง รุนแรง มีน้้าดีซึมมากที่แผล - ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติ
สังเกตและประเมินการไหลของ bile content จากสายระบาย PTBD ถ้าไม่มี bile content ไหลออกมาภายใน 24 ชั่วโมง ควรต้องรายงานแพทย์
การผ่าตัด
การพยาบาลก่อนการผ่าตัด
การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจโดย 1 วัน ก่อนผ่าตัดจะต้องทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ
งดน้ำงดอาหารก่อน 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันเศษอาหารในกระเพาะสำลักเข้าหลอดลมเวลาดมยา
พฤติกรรมบางอย่างอาจมีผลต่อผู้ป่วยหลังผ่าตัด เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ควรจะงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนเพราะจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
การพยาบาลหลังผ่าตัด
แนะนำหลังผ่าตัดควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยและแคลอรี่สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ แป้ง และจำพวกวิตามินซึ่งมีในจำพวก ผัก ผลไม้ต่างๆ หลังจากนั้นผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติเพราะน้ำดีสามารถไหลผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นได้ดีมากขึ้น เพื่อช่วยย่อยไขมัน แต่ต้องระวังไม่ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป
สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เช่น ปวดท้อง มีไข้หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน แนะนำให้รีบกลับมาพบแพทย์
การทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงานหนักในระยะหลังผ่าตัด 3 เดือน
แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชม. สามารถออกกำลังกายที่ไม่หนักมากได้
ปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
ภาวะที่มีความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีแต่กำเนิด เช่น โรคซีสต์ของทางเดินท่อน้ำดี
ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของท่อน้ำดี
การติดเชื้อไวรัสอักเสบบีหรือซี
ภาวะตับเเข็ง
อาการ
มักไม่เเสดงอาการในระยะเเรก เมื่อลุกลาม มีอาการคือ ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง เนื่องจากท่อน้ำดีอุดตันโดยเนื้องอก ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม อุจจาระสีซีดลง คันตามร่างกาย อ่นเพลีย มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด