Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดล (การบริหารจัดการน้ำ (ต้องมีการปรับหัวคันนาให…
เกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดล
หลุมขนมครก
เป็นการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่กลางโดยผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่กับภูมิปัญญาพื้นบ้าน
โคก
การนำดินที่ได้จากการขุดหนอง นำมาถมเป็นโคกเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งปลูกต้นไม้ตามแนวทางศาสตร์พระราชา คือ “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” เพื่อพอกิน เพื่อใช้สอยในครัวเรือนหรือพอใช้ และเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือพออยู่
หนอง
ขุดหนอง รูปร่างคดโค้งอิสระ ไม่เป็นสี่เหลี่ยม
เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น
สามารถใช้เป็นที่รองรับน้ำยามน้ำท่วมหลาก
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา
นา
ยกหัวคันนาให้กว้างและสูงอย่างน้อย 1 เมตร
ธรรมชาติของข้าวจะทะลึ่งน้ำไม่จมน้ำตาย เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในนา
ขุดร่องใกล้หัวคันนา เป็นที่อยู่ของปลา ปู
ปั้นหัวคันนาให้มีความกว้างมากพอที่จะปลูกต้นไม้ พืชผัก ให้มีรากยึดเหนี่ยวคันนา
คลองไส้ไก่
ช่วยระบายน้ำรอบพื้นที่ โดยขุดให้มีลักษณะคดเคี้ยว
เพื่อให้น้ำไหลได้ทั่วถึงตลอดทั้งพื้นที่
การบริหารจัดการน้ำ
วางแผนเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี
เพราะหากมีน้ำใช้แล้วก็จะอยู่ได้และประกอบอาชีพได้
ช่วยลดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร
ช่วยลดความแออัด
ลดการแย่งพื้นที่ทำกินในเมืองใหญ่
ช่วยลดปริมาณน้ำหลากที่จะเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ
ลดการเกิดตะกอนดินทับถม
เพราะมีพื้นที่กักเก็บน้ำเพียงพอและมีต้นไม้คอยดูดซับน้ำลงสู่ใต้ดิน
ใช้ลักษณะของการคำนวณการระเหยของน้ำ
การคำนวณการใช้น้ำ
การคำนวณการบำบัดน้ำเสีย
ต้องมีการปรับหัวคันนาให้สูงขึ้นถึง 2 เมตร
เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ
วางแผนปลูกข้าว ปลูกพืชอายุสั้นอายุยาว
เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในพื้นที่
การกักเก็บน้ำ
เก็บน้ำไว้ในหนอง
จะต้องขุดให้คดโค้ง และมีระดับตื้นลึกแตกต่างกันไปในแต่ละจุด
ซึ่งก่อนขุดต้องมีการคำนวณปริมาตรน้ำที่สามารถเก็บได้ในหนองเพื่อให้พอใช้งาน
เก็บน้ำไว้บนโคก
ทำได้โดยการปลูกป่าและเก็บในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ
ไม้ระดับสูงไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน
เก็บไว้ในนา
ยกคันนาให้สูงและกว้าง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง
ช่วง นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกพืชผักไว้บนคันนาได้อีกด้วย
การออกแบบที่ควรคำนึง
ภูมิสังคม
ภูมิ คือ สภาพทางกายภาพเช่น สภาพดิน น้ำ ลม
สังคม คือวัฒนธรรม ความเชื่อภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น
ไฟ (ทิศทางของแสง) สำรวจ ทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก และทิศทางการขึ้นของดวงอาทิตย์
ลม ออกแบบบ้านให้มีทิศทางของช่องลมสอดรับกับลมที่พัดมาในแต่ละฤดูกาล จะช่วยลดการใช้พลังงานในบ้าน และเพื่อให้บ้านเย็นอยู่สบาย
ดิน วางแผนการขุดหนองน้ำ และการปรับปรุงสภาพดินให้เหมาะสม
น้ำ ขุดหนองน้ำ โดยดูทางไหลของน้ำเข้าและออกจากพื้นที่
คน ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการ ฐานะและกำลังของเจ้าของที่ดิน