Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9: การจัดการเชิงกลยุทธ์ (หลักสําคัญ (การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการ…
หน่วยที่ 9:
การจัดการเชิงกลยุทธ์
แนวคิด
กลยุทธ์ คือ การกําหนดภารกิจ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายทั้งใน
ระยะสั้นและระยะยาว
ความหมาย
เป็นการกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารจัดการ โดยคํานึงถึง
สภาพปัจจุบัน
เป้าหมายในอนาคต
สภาพแวดล้อม
การจัดสรรทรัพยากร
การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ความสําคัญ
• เป็นกระบวนการของการบริหารจัดการโดยรวม
• เป็นการบริหารจัดการที่เน้นการสร้างกลยุทธ์
เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว
• ต้องอาศัยความร่วมมือ พันธะสัญญาหรือข้อตกลง
และทรัพยากรที่มีอยู่
• มีทิศทางที่ชัดเจนต่อทางเลือกต่าง ๆ และแสดงให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน
• เป็นการตัดสินใจที่อาศัยชั้นเชิง
ไม่มีวิธีการที่สําเร็จรูป
หลักสําคัญ
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกําหนดวิสัยทัศน์
ทิศทาง และวัตถุประสงค์อย่างเป็นระบบ
การจัดการเชิงกลยุทธ์
นําไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนํา
แนวทางที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น
มาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย
การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของผู้นํา
การจัดการเชิงกลยุทธ์ทําให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ช่วยสร้างประสิทธิภาพ และศักยภาพในการ แข่งขัน
การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทํางานมีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจน
องค์ประกอบ
การกําหนดทิศทาง
(Direction Setting)
ในการกําหนดทิศทางขององค์กร ประกอบด้วย
การกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และการกําหนดภารกิจ(Mission)
หรือกรอบในการดําเนินงานท่ีชัดเจน ช่วยให้องค์กรสามารถกําหนดทิศทางในระยะยาว อีกท้ังยังแสดงถึง ความตั้งใจในการดําเนินธุรกิจอีกด้วย
การประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กร
ที่ประกอบด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
และ การประเมินสภาพแวดล้อม ภายใน
เพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
โดยเรียกว่าการวิเคราะห์แบบสว็อท (SWOT Analysis)
การดําเนินกลยุทธ์
(Strategy Implementation)
4.1 การกําหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร
4.2การปรับโครงสร้างองค์กร
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์และการใช้ทรัพยากร
4.3 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบและ
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
4.4 การกระจายกลยุทธ์
หากองค์กรมีการสร้างวิสัยทัศน์ สร้างพันธกิจขึ้น
มาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดําเนินการจะทําให้เกิดการสูญเปล่า (Waste) ได้
การประเมินผลและการควบคุม
(Evaluation and Control)
การควบคุมกลยุทธ์ เป็นหน้าที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นําไปปฏิบัติ ทั้งนี้ ในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้น มักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้น ก่อให้ เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้
การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Control) จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการกําหนด เกณฑ์และมาตรฐาน โดยมาตรวัดการดําเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร ซึ่งในแต่ละองค์กรจะมีมาตรฐานและเกณฑ์ การดําเนินงานของตนเอง ทั้งนี้ การกําหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทํางานได้อย่าง เป็นรูปธรรม
การกําหนดกลยุทธ์
(Strategy Formulation)
3.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบ่งบอกถึงกลยุทธ์โดยรวม และทิศทางในการแข่งขันขององค์กรว่า องค์กร จะมีการพัฒนาไปสู่ทิศทางใด จะดําเนินงานอย่างไร และจะจัดสรรทรัพยากรไปยังแต่ละหน่วยขององค์กรอย่างไร
3.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
เป็นการกําหนดกลยุทธ์ในระดับที่ย่อยลงไป จะมุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันขององค์กรกับคู่แข่งและ ระบุถึงวิธีการท่ีองค์กรจะใช้ในการแข่งขัน มุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น
3.3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)
เป็นการกําหนดกลยุทธ์ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน (Function) ต่างๆ มุ่งเน้นให้แผนกงานทําหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา โดยอยู่ภายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์กรและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
สรุป
เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น
การมีกลยุทธ์ที่เหมาะสม การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติบุคลากรต้องมี
ขีดสมรรถนะที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนกลยุทธ์โครงสร้างองคก์รและ
กระบวนการทํางานต้องเหมาะสมกับกลยุทธ์ ค่านิยม
วัฒนธรรมต้องเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้นําที่
ผลักดันและขับเคลื่อนกลยุทธ์ ดังนั้น ควรทําความเข้าใจกับการบริหารกลยุทธ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กร สู่เป้าหมายที่ตั้งไว้