Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัลดีเด่น (10.ข้อเสนอแนะ…
การบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัลดีเด่น
1.ประเภทของงานวิจัย
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
2.วัตถุประสงค์
เพื่อบรรยายประสบการณการณ์บริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัลดีเด่น
3.กลุ่มตัวอย่าง
หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลงานดีเด่น และได้ รับรางวัลดีเด่นจากฝ่ายการพยาบาลของโรงพยาบาล ที่ใช้เป็น พื้นที่ในการศึกษา ในระหว่าง พ.ศ. 2550 - 2555 และมีความ ยินดีให้ความร่วมมือในการทำวิจัย จำนวน 14 คน
4.เครื่องมือในวิจัย
ผู้วิจัยได้ทำการนัดหมาย เพื่อทำการสัมภาษณ์ซึ่งถือความสะดวกของผู้ให้ข้อมูลเป็นหลัก ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล เฉลี่ยรายละ 1 ครั้ง ใช้เวลาในการ สัมภาษณ์ เฉลี่ยครั้งละประมาณ 60 นาที โดยมีจำนวน 3 ราย ที่ต้องสัมภาษณ์ 2 ครั้ง และข้อมูลมีความอิ่มตัว หลังจาก สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลได้ทั้งหมด 14 ราย
5.การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้ เกณฑ์ของ Guba and Lincoln
2) ความสามารถในการถ่ายโอน (Transferability)
3) ความสามารถในการพึ่งพา (Depenability)
1) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Credibility)
4) การยืนยันผลการวิจัย (Confirmability)
6.วิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของDiekelman ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทำการถอดเทปจาก บทสัมภาษณ์เป็นตัวอักษรคำต่อคำทุกวันหลังการสัมภาษณ์โดยเร็วที่สุด หลังจากนั้นนำข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้จากการ สัมภาษณ์ เฉพาะส่วนที่สำคัญมาใส่ไว้ในแฟ้มข้อมูลของแต่ละ บุคคล
7.วิธีการดำเนินงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อบรรยาย ประสบการณการณ์บริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัล ดีเด่นที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง โดยใช้ รูปแบบการศึกษาตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาการตีความ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อที่จะได้ข้อมูลเชิงลึกจากประสบการณ์ ตรงของผู้ให้ข้อมูล
8.ผลวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก
พัฒนาตนให้มีความรู้ บริหารตนสู่ความสมดุล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 1.1) เรียนรู้จากรุ่นพี่ ประสบการณ์ที่มี เก็บสิ่งดี ๆ มาพัฒนา 1.2) ไม่หยุดการค้นคว้า หาเวลา ศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ 1.3) แบ่งให้เวลากับงาน พอกลับบ้านแยกงานจาก ชีวิตส่วนตัว
ลูกน้องต้องสนับสนุน สร้างต้นทุนการทำงาน ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 2.1) สนับสนุนให้สร้างงาน เพิ่มความ เชี่ยวชาญสู่การเป็นวิทยากร 2.2) ส่งเสริมความสามารถ สร้างคน สร้างโอกาสให้เรียนต่อ 2.3) รับฟังปัญหา คอยเป็นที่ปรึกษา และแก้ปัญหาเวลาติดขัด 2.4) สร้างบรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นบ้านที่สองของทุกคน และ 2.5) มอบหมายงานตามความ สามารถ เปิดโอกาสตัดสินใจได้เต็มที่
โครงการต้องสร้างสรรค์ บริหารงานอย่างจริงใจ ไม่เห็นแก่ใคร แต่ใช้ตามหลักการ ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย
3.1) พัฒนาโครงการ ตอบสนองงานตามนโยบาย นำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน 3.2) บริหารด้วยความจริงใจ ใช้หลักความยุติธรรม มีธรรมะในการทำงาน 3.3) มีความสามารถ บริหารคนได้ บริหารงานดี มีภาวะผู้นำ และ 3.4) ทุ่มให้งานอย่างเต็มที่ มีท้อใจบ้าง แต่ไม่ปล่อยวาง ยังมุ่งมั่นทำงานต่อไป
10.ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้
ฝ่ายการพยาบาลควรมีการวางแผนและพัฒนา พยาบาลเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น และมีการมอบหมายพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ให้ สอนงาน เพื่อให้หัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่เกิดความมั่นใจในการทำงาน
เนื่องจากหัวหน้าหอผู้ป่วยทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แก่บุคลากร ดังนั้น ควรมีการอบรมทักษะการให้คำปรึกษาแก่ หัวหน้าหอผู้ป่วย เพื่vประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ต่อไป
ฝ่ายการพยาบาลควรสนับสนุนแหล่งข้อมูลวิชาการเพื่อให้หัวหน้าหอผู้ป่วยได้มีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่จะ นำมาพัฒนาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาเพิ่มกับหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับ รางวัลดีเด่นในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิอื่น เนื่องจากอาจมี บริบทในการทำงานที่แตกต่างกัน
ควรมีการศึกษาเชิงลึกในกลุ่มหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ มีภาระครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ และในกลุ่มที่ไม่มีภาระครอบครัวว่ามีการใช้เวลาในการบริหารงานเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร
9.คำสำคัญ
หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัลดีเด่น, การบริหารงาน
นางสาว ฐิติกา วงค์จุมปู รหัสนักศึกษา 590487