Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พืชสมุนไพรที่ใช้รักษาเบาหวาน (ว่านหางจระเข้ (สรรพคุณ (ทางยา…
พืชสมุนไพรที่ใช้รักษาเบาหวาน
สมุนไพรไทยกับการรักษาเบาหวาน
เป็นโรคที่เรื้อรังสามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาดทั้งนี้เกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างทั้งจากกรรมพันธุ์และอาหารการกิน ถ้าไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ เบาหวานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับอวัยวะสำคัญได้ เช่น การติดเชื้อที่ดวงตา หรือที่ไต หรือเกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ
และความดันโลหิต
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้
ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงานเมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอน้ำตาลก็ไม่ถูกนำมาใช้จนทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
เบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า“อินซูลิน”ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ฟักทอง
สรรพคุณ
เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง และ เบต้าแคโรทีน ” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังต้านชรา ป้องกันโรคผิวหนังบรรเทาอาการปวดเมื่อยของข้อเข่า และบั้นเอว
เยื่อกลางผลฟักทอง นำมาพอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวด อักเสบได้
ดอกฟักทอง มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย
เมล็ดฟักทอง ประกอบด้วยแป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน รวมทั้งสารที่ชื่อว่า “ คิวเคอร์บิติน ” ( Cucurbitine ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี และยังช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ใบอ่อน มีวิตามินเอสูง มีแคลเซียม ( Calcium ) และฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) สูง
เปลือกฟักทอง หากทานฟักทองทั้งเปลือก จะกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรระวัง
ฟักทอง มีฤทธิ์อุ่น ดังนั้นคนที่กระเพาะร้อน จะมีอาการเบื้องต้น เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่ายปัสสาวะเหลืองท้องผูกเป็นแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้นได้นั่นเอง หรือแม้แต่ในคนปกติ การทานฟักทองมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้
ชื่่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Duchesne.
ใบเตย
สรรพคุณ
ใบสด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต รักษาโรคผิวหนัง
ต้นและราก มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะและระดับน้ำตาลในเลือด จึงรักษาโรคเบาหวานได้
คุณประโยชน์จากต้นเตย
ช่วยบำรุงหัวใจ และลดความดันโลหิต
ช่วยบำรุงสมอง ประสาท
ช่วยขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน
ช่วยรักษาโรคหัด
ช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อ
ช่วยรักษารังแคบนหนังศีรษะ
ย้อมผมดำ
ช่วยบำรุงผิวพรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amarylifolius Roxb.
ว่านหางจระเข้
สรรพคุณ
วุ้นจากใบ : ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ผิวหนังอักเสบ บวม แมลงกัดต่อย เริม ฝี และ ลดน้ำตาลในเลือด
ยางจากใบและต้น : ใช้รักษาอาการท้องผูก
ทางยา
ช่วยบรรเทาและป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น
2.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดง
การใช้ : ใช้เนื้อว่านหางจระเข้ สดวันละ 15กรัม ทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
ประโยชน์ทั่วไป
ลดหน้าท้องลายหลังคลอดบุตรโดยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ทาท้องเป็นประจำ ในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด
นำวุ้นของว่านหางจระเข้มาทำเป็นของหวานเพื่อสุขภาพได้ เช่น วุ้นว่านหางจระเข้ลอยแก้ว
ชะลอความแก่ชราได้ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f
ข้อควรระวัง
การดื่มน้ำว่านหางจระเข้ที่มีส่วนประกอบของวุ้น จะกระตุ้นตับอ่อนให้สร้างสารอินซูลินเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยารักษาที่เป็นอินซูลินตามแพทย์สั่งอยู่แล้ว การดื่มน้ำว่านหางจระเข้เพิ่มเข้าไป เสมือนกับเติมอินซูลินในร่างกายให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกได้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อน
มะระขี้นก
สรรพคุณ
นำเนื้อมะระขึ้นกอบแห้งมาบรรจุแคปซูลเพื่อเป็น
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ยอดใบและผลอ่อน แก้โรคลมเข้าข้อ หัวเข่าบวมบำรุงน้ำดี แก้โรคของม้าม โรคตับ ขับพยาธิและผลอ่อนนำไปลวกจิ้มน้ำพริกไปผัดกับไข่หรือนำไปแกงได้
ผล : สรรพคุณทางยา เช่น แก้โรคบิด ลดการอักเสบ รักษาโรคสะเก็ดเงิน ลดไข้ ใช้ผลมหรือน้ำคั้นจากผลเพื่อลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย
อาการไม่พึงประสงค์และปฏิสัมพันธ์กับยา
รับประทานในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้องและท้องเสีย
รับประทานในปริมาณมากหรือรับประทานยาเม็ด ลดระดับน้ำตาลร่วมกับมะระขี้นกอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำลง อย่างเฉียบพลัน
การใช้เมล็ดมะระขี้นกต้องระมัดระวังฤทธิ์ที่ก่อให้เกิด การแท้งด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia (L.)
ชื่อวงศ์ Cucurbitaceae
ชื่ออื่น มะห่อย, มะไห่ (เหนือ), ผักไห่, ผักเหย, ระ (ใต้), มะร้อยรู,โคกวย (จีน), มะระเล็ก
ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt
สรรพคุณ
เปลือกราก : เป็นยาถ่าย ยาระบาย
เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา โรคตา ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน
ต้น : กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน
ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน
ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อนถอนพิษคูน แก้คัน แมลงกัดต่อย ไข้หวัด พิษกาฬ เริม งูสวัด
ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย
ผล : แก้ฝีแดง
ประโยชน์
ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง (ยอดตำลึง)
ใช้เป็นยารักษาตาไก่ (เถา)
นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหาร ได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น
ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวานกินได้
ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (ทั้งเถาและใบ)
ข้อแนะนำ
ตำลึง มีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
ตำลึง มีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้
อ้างอิง
นาถศิริ ฐิติพันธ์. (2554). 50 วิธีหยุดป่วยด้วยสมุนไพร. กรุงเทพฯ: บีเวลล์ สปีเชียล.
ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร. (2556). ตำราโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาศรี ธนากูล. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านโดย กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(2), 3-5
พิช์ญญาดา. (2553). ประกันสุขภาพ 5 โรคร้าย ด้วยสมุนไพร. กรุงเทพฯ: เอพี ครีเอทีฟ.
พิสนธิ์ จงตระกูล. (2557). การใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อการจัดการโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์
สมาชิก 2A
นาย จอมพล ขันธวรรณา เลขที่ 10
นางสาวจิรชยา หุ้มไหม เลขที่ 13
นางสาวธนพร รูปทรง เลขที่ 31
นางสาวนนทิยา แหลมภู่ เลขที่39
นางสาวเนตรชนก กองจรูญ เลขที่ 46
นางสาวปฐมาวดี สงวนวงษ์ เลขที่ 49
นางสาวพิมพ์ชนก กองจรูญ เลขที่ 60
นางสาวศุภลักษณ์ โพธิ์ไทย เลขที่79
นางสาวสุณิสา ปาอินทร์ เลขที่83
นางสาว อัชฌา เผ่ากันทะ เลขที่94
นางสาวอารีรัตน์ คุณกิจชัยเจริญ เลขที่99
นางสาวไอรดา รักคำ เลขที่102