Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ต้านอนุมูลอิสระ (ตะไคร้,…
สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ต้านอนุมูลอิสระ
มะนาว
สารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
วิตามินซี เป็นสารสารต้านอนุมูลอิสระ
“กรดซิตริก” กับ “กรดแอสคอร์บิก” ช่วยกระตุ้นต่อมนํ้าลาย
ประโยชน์จากมะนาว
ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
-เสริมสร้างคอลลาเจน
-ช่วยลดความดันโลหิต
ล้างพิษ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้หลอดเลือด
ช่วยควบคุมน้ำหนัก ให้พลังงานต่ำจึงไม่ทำให้อ้วน
-ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และยังช่วยลดการสูบบุหรี่ เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่
ให้ฝานมะนาวบางๆ แล้วนำมาเคี้ยวทั้งเปลือก
ผลข้างเคียงจากการใช้มะนาว
บางคนอาจไวต่อการตอบสนอง หากทาน้ำมันมะนาวลงบนผิวโดยตรง น้ำมันมะนาวทำให้ผิวตอบสนองไวต่อแสงแดด ดังนั้น คนที่มีผิวขาวควรสวมเสื้อผ้าเพื่อป้องกันแสงแดด ขณะที่อยู่กลางแจ้ง
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์
มะนาว เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุลส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย
ตะไคร้
สรรพคุณ
ลดอาการปวดเมื่อย แก้หวัด ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
ขับปัสสาวะ บำรุงไตให้แข็งแรง ช่วยให้ไตทำงานได้ดี
ประโยชน์
มูลอิสระช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวเปล่งประกายความมีสุขภาพดีและยังช่วยทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ และช่วยลดสิวต่าง ๆ ได้
ข้อควรระวัง
1.ทำให้เสี่ยงแท้งได้
2.อันตรายกับผู้ป่วยเป็นโรคบางชนิด
3.หญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
สารสำคัญที่ออกฤทธิ์
น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ คือ menthol, cineole, camphor และ linalool ช่วยลดอาการแน่นจุกเสียด และช่วยขับลมได้ นอกจากนี้มี citral, citronellol, geraneol และ cineole มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย คือ E. coli
อัญชัน
สรรพคุณของอัญชัน
ดอก
ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ เงางามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น
ดอก
นำมาคั้นนำใช้หุงข้าวได้ด้วย ช่วยให้ข้าวที่หุงมีสีสันที่สวยงาม
เมล็ด
เป็นยาระบาย
ราก
บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา นำไปวัดค่าความเป็นกรดเนื่องจากดอกอัญชันมีสารแอนโทไซยานิน
ข้อควรระวัง
อย่าดื่มน้ำอัญชันที่มีสีเข้มมากเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นในการขับสารสีจากอัญชันออกมา
ผู้ที่ป่วยด้วยโรคโลหิตจางก็ไม่ควรจะรับประทานดอกอัญชันรวมทั้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของอัญชันด้วย เพราะในดอกอัญชันนั้นมีสารที่มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง
สารสำคัญ
1.แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น
สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยับยั้งการเจริญของเส้นขน และมีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานินและกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ melanocyte
ใบเตย
สรรพคุณ
ใบเตยให้กลิ่นหอมหวาน และหอมเย็น ช่วยลดการกระหายน้ำ รักษาโรคหืด บำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด และรักษาระดับความดันให้เป็นปกติ ส่วนรากใช้เป็นยาบขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน รวมทั้งสามารถใช้เป็นสีผสมอาหารและแต่งกลิ่นอาหารและช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์
1.
นำมาทำอาหารคาว จะช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มกลิ่นหอมให้รู้สึกน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เช่น ไก่ทอดใบเตย หากคุณต้องใช้น้ำมันซ้ำอีกรอบ ให้นำใบเตยสดหั่นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไปทอดด้วย จะช่วยให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน
3.
ในเรื่องความสวยความงาม สามารถบำรุงผิวหน้า ด้วยทรีตเมนต์จากใบเตย วิธีการทำให้นำใบเตยมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จนได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือจะนำใบเตยสดมาตำหยาบๆ แล้วนำไปพอกร่างกาย ก็จะช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ดีอีกด้วย
2.
สีเขียวของใบเตยเป็นสีของคลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งเป็นสีขนมได้ ซึ่งช่วยให้ขนมน่ารับประทานยิ่งขึ้น อย่างขนมไทยๆ เช่น ลอดช่องน้ำกะทิ ขนมชั้น ขนมต้ม ขนมเปียกปูน และขนมถ้วย
4.
ช่วยดับกลิ่นภายในบ้าน โดยนำมาประดิษฐ์เป็นช่อดอกไม้ หรือจะนำใบเตยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปใส่ในถุงตาข่าย นำไปวางในตู้เสื้อผ้า ตู้กับข้าว ตู้รองเท้า หรือในห้องนอน ห้องรับแขกก็ได้ กลิ่นหอมของใบเตยเมื่อสูดดมเข้าไปจะช่วยผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยไล่ยุง และ แมลงสาบ
ข้อแนะนำการใช้
1
. ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง เพื่อใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
2.
นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม
เพื่อช่วยในการดับกระหายน้ำ
3.
นำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือไปต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ใบมาหั่นตากแดดให้แห้งแล้วชงดื่มแบบชา เพื่อใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง
2.
ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ให้ถี่ถ้วนก่อนบริโภคใบเตยหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากใบเตยเสมอ เพราะสารเคมีจากใบเตยอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพและยารักษาบางชนิด จนอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
1.
ไม่เหมาะสำหรับการรับประทานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม โรคไต ไม่ว่าจะเป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตเฉียบพลันก็ตาม รวมไปถึงกลุ่มผู้ปวยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนไปที่ไต หากต้องการใช้บริโภคจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและอยู่ในความควบคุมของแพทย์
ขมิ้น
สรรพคุณ
ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ขับพยาธิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด แก้ภูมิแพ้ หอบหืด เบาหวาน ฆ่าเชื้อโรค ช่วยขจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหารแล้วสะสมอยู่ในร่างกาย
ข้อควรระวัง
ขมิ้นทำให้แท้งได้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผล ต่อการตกไข่ ดังนั้นจึงควรระวังในการใช้กับหญิงมีครรภ์
การใช้ขมิ้นนานๆ อาจเกิดฤทธิ์ข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน ตื่นกลัว เป็นต้น
สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin)
น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) มีสีเหลืองอ่อน สารหลักคือเทอร์เมอโรน (turmerone) 60%, ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25%, borneol, camphene, 1, 8 ciniole , sabinene, phellandrene
ข้อแนะนำการใช้
เหง้าแก่แห้ง บดเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน
เหง้าแห้งบดเป็นผง นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
เหง้าแก่ 1 หัวแม่มือ ล้างสะอาดบดละเอียด เติมสารส้มเล็กน้อย และน้ำมันมะพร้าวพอแฉะๆใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง ที่หนังศีรษะ
ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ต้นหอม
สรรพคุณ
ช่วยเจริญอาหาร
แก้หวัด คัดจมูก
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ
ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจ
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด แก้ภูมิแพ้ หอบหืด เบาหวาน ฆ่าเชื้อโรค
ช่วยขจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหารแล้วสะสมอยู่ในร่างกาย
ข้อควรระวัง
ระวังผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่มวาร์ฟาริน (Warfarin-ยาป้องกันการอุดตันของเลือด) เนื่องจากต้นหอมมีวิตามินเคปริมาณมาก อาจส่งเสริมการทำงานของยาดังกล่าว ทำให้เลือดเป็นก้อน อาจเกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้
และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้นหอมมีรสร้อน อาจทำให้มีอาการเสียดท้องหรือแสบร้อนกลางอกในบางรายได้
สารสำคัญ
1.มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้า-แคโรทีน มีสารฟลาโวนอยด์ บางชนิดซ่อนอยู่ในใบของต้นหอม เช่น เควซีทีน สเปริโอไซด์ ซึ่งเป็นเกราะป้องกันมะเร็ง
2.มีน้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการหวัด
สารต้านอนุมูลอิสระ
สมุนไพรหลายชนิดถูกนำมาบริโภคในรูปของอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย นิยมนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อให้สะดวกแก่การบริโภคและได้รสชาติที่แปลกใหม่ กลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระส่วนใหญ่ที่พบในสมุนไพร ได้แก่ สารประกอบฟีนอลิก แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์และ วิตามินต่าง ๆ โดยประเทศไทยมีสมุนไพรที่นิยมนำมาผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด ซึ่งมีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณทางยารวมถึงประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบได้ในพืช นอกจากมีหน้าที่ในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันในอาหารแล้วยังมีบทบาทในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น