Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Infected Diabetes mellitus (การป้องกันแผลเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันการ…
Infected Diabetes mellitus
พยาธิสภาพ
ภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น
อาการ
โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป
สาเหตุของโรคเบาหวาน
เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
โรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ด้วย
การวินิจฉัย
สอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว
การตรวจร่างกาย
แพทย์ตรวจบาดแผลพบว่ามี การบวมของแผลและมีการเน่าตายของนิ้วชี้เท้าข้างขวา แพทย์วินิจฉัย Infected Diabetes mellitus Foot Right 2nd toe
ระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test) DTX 240 ER
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
การรักษา
เบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม
ประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล เป็นต้น หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม
ผู้ป่วยได้รับ
ยาปฏิชีวนะ
Ceftriaxone 2 gm IV OD
Clindamicin 600 mg IV stat (ER)
Metronidazole 500 mg IV q 8 hr
การผ่าตัด
Amputate Foot Right 2nd toe
IV Fluid
0.9 NSS 1000 ml IV 80 cc/hr.
อาหาร
Diabetes mellitus Diet
Control Pain
MO 4 mg IV prn q 6 hr
Fever
Paracetamol 500 mg 1 tab po prn for pain or fever 4-6 hr.
Vitamin
B co 1x2 po pc
ภาวะแทรกซ้อน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก
เบาหวานขึ้นตา
โรคไต
โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่
โรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
โรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน
สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน
เสี่ยงการแท้งบุตร
เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ
อาการแผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer)
เป็นภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ และเกิดอาการชา หรือไร้ความรู้สึกบริเวณปลายมือและเท้า เนื่องจากหลอดเลือดทำงานผิดปกติ และหากเกิดเป็นแผลขึ้น จะทำให้หายช้าหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีไขมันและน้ำตาลที่ไม่ถูกย่อยสลาย ไปจับตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งจนเกิดการอุดตัน ทั้งหมดนี้อาจทำให้เกิดแผลได้โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า ซึ่งเป็นส่วนที่ขาดเนื้อเยื่อไปล่อเลี้ยง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่การตัดอวัยวะจากการติดเชื้อได้ในที่สุด เป็นเหตุที่อาจทำให้เสียขา ไปจนถึงเสียชีวิตได้
วิธีการสังเกตอาการแผลเบาหวานด้วยตาเปล่าได้ คือ หากพบของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติไหลออกมาจากผิวหนัง และผิวหนังมีสีหรือลักษณะที่เปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เพราะอาจทำให้แผลเสี่ยงต่อการเน่าและติดเชื้อได้
การป้องกันแผลเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันการเกิดแผลเบาหวานได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต อาทิ งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงจนเกินไป และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมไปถึงระมัดระวังไม่ให้เกิดแผล โดยเฉพาะที่เท้า ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ล้างเท้าให้สะอาดทุกวัน
ตัดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้ยาวหรือตัดสั้นจนเกินไป
พยายามให้เท้าแห้ง และมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
ซักถุงเท้าที่สวมใส่บ่อย ๆ
ดูแลเท้าให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ หากมีตาปลาหรือบริเวณที่มีหนังด้านควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา
สวมรองเท้าที่พอดีกับเท้า และสวมใส่สบาย
ข้อมูลผู้ป่วย
1 สัปดาห์ก่อนมา มีแผลเปิดที่นิ้วชี้เท้าข้างขวา มีเลือดออกเล็กน้อย ใช้น้ำยาล้างแผลที่มีอยู่บ้านล้างแผลเองทุกวัน แล้วออกไปกรีดยางตามปกติ
5 วันก่อนมา แผลเริ่มมีอาการบวม แดง มีหนองและมีกลิ่นเหม็น ผู้ป่วยรู้สึกปวดตามร่างกาย มีไข้ร่วมด้วย แต่ยังล้างแผลเองและรับประทานยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบที่เหลือในบ้านเอง
2 ชั่วโมงก่อนมา ผู้ป่วยปวดแผลและขาข้างขวามาก มีไข้สูง แผลมีเนื้อตายและมีกลิ่นเหม็นมากขึ้น ญาติจึงพามารับการรักษาที่โรงพยาบาลกุดจับ ที่โรงพยาบาลกุดจับแพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก แพทย์จึงพิจารณาส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อที่โรงพยาบาอุดรธานี เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
U/D
DM มาแล้ว 10 ปี, HT มาแล้ว 5 ปี รับยาที่โรงพยาบาลกุดจับ มาพบแพทย์ตามนัดทุก 3 เดือน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากมีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารหวาน มัน เค็มอยู่ มียาที่รับประทานประจำ ดังนี้ Metformin 500 mg 2x2 po pc, Glipizide 5 mg 1x2 po pc, Simvastatin 20 mg 1x1 po hs, Aspirin 81 mg 1x1 po pc, Mixtard 100 IU/ml ฉีดเช้า 40 unit ฉีดเย็น 20 unit
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลหลังการผ่าตัด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Hyperglycemia และ Hypoglycemia เนื่องจากผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมจากการมีแผลผ่าตัดบริเวณนิ้วชี้เท้าข้างขวาและมีช่องทางเปิดเข้าสู่ร่างกายเพิ่ม
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเนื่องจากผู้ป่วยเจ็บป่วยกะทันหัน
พร่องความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด