Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Head injury (ความหมายของการบาดเจ็บที่ศีรษะ คือ การที่ศีรษะถูกแรงกระทำจากภา…
Head injury
ความหมายของการบาดเจ็บที่ศีรษะ คือ การที่ศีรษะถูกแรงกระทำจากภายนอกและส่งผลกระทบต่อ หนังศีรษะ กะโหลก เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมอง ทำให้หลังการกระทบกระเทือนแล้ว จะทำให้เกิดการเพิ่มปริมาตรของสิ่งที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ จากการที่สมองบวมหรือมีเลือดออก รวมไปถึงการมองเห็นได้จากภายนอก คือ กะโหลกแตกหรือยุบ อาจทำให้กระดูกทิ่มทะลุเข้าถึงเนื้อสมองสมองได้ สาเหตุที่ทำให้เกิด Head injury ได้แก่ การประสบอุบัติเหตุ หรือการถูกทำร้าย
-
พยาธิสภาพ
2.การบาดเจ็บแบบทุติยภูมิ ซึ่งเป็นผลแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บขั้นปฐมภูมิทำให้สมองเนื้อสมองถูกทำลายมากขึ้นจากการได้รับการวินิจฉัยล่าช้าหรือการรักษาที่ช้า กลไกการควบคุมอัตโนมัติในสมองจึงสูญเสียไป เกิดการเสียหน้าที่ของเซลล์สมอง และ Blood brain barier มีแคลเซียมเข้าเซลล์มากขึ้นทำให้เกิดภาวะสมองบวมและความดันในกะโหลกศีรษะสูง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บแบบทุติยภูมิมีอีกหลายปัจจัย เช่น การมีไข้ ชัก พร่องออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำกว่าปกติ PaCo2<25mmhg หรือสูงมากกว่า 45mmHg ความดันโลหิตต่ำกว่า90mmHg การแข็งตัวของเลือดผิดปกติเกิดการเสียเลือดมากและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดสมองขาดเลือด ซีดhemoglobin<10mg% ร่างกายเป็นกรด เกิดการติดเชื้อและโซเดียมในเลือดต่ำซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทได้ ซึ่งการบาดเจ็บขั้นทุติยภูมินั้นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด
1.การบาดเจ็บแบบปฐมภูมิ เป็นผลจากการบาดเจ็บที่ศีรษะได้รับแรงกระแทกทันที ทำให้ หนังศีรษะฉีกขาด กะโหลกแตกร้าว หรือมีเลือดออกในสมอง
-
กรณีศึกษา พยาธิสภาพ
มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ
เกิดการบาดเจ็บแบบทุติยภูมิ เพราะสมองส่วนเนื้อขาวได้รับบาดเจ็บ ได้รับการรักษาล่าช้า อยู่โรงพยาบาลสระบุรี4วัน อาการไม่ดีขึ้น มีปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้น คือ มีไข้ พร่องออกซิเจน
-
-
ตำแหน่งที่เกิด
Frontal area ทำหน้าที่เกี่ยวกับสติปัญญา การตัดสินใจ การมีเหตุผล การแก้ปัญหาควบคุมการเคลื่อนไหว และความจำระยะยาว เปรียบเทียบกับกรณีศึกษา เเขนขาอ่อนเเรง ช่วยเหลือตนเองได้น้อย
Temporo-occipital area contusion ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน ดมกลิ่น และการมองเห็น
เปรียบเทียบกับกรณีศึกษา Pupil 2 ข้าง 3 mm. มีปฏิกริยาต่อแสงดี ยังไม่พบอาการผิดปกติ
2.เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง(Subdaral hematoma) แบ่งระดับความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ 1.ระยะเฉียบพลัน (acute SDH) คือเลือดออกใน48ชม. แค่ไม่มีอาการหมดสติชั่วครู่ แต่จะซึมลง สับสน ไม่รู้สึกตัวอัตราการตายสูง 2.ระยะรองเฉียบพลัน(Subacute SDH)เลือดออกในเยื่อหุ้มสมองตั้งแต่48ชม.ถึง3สัปดาห์หลังบาดเจ็บ 3.ระยะเรื้อรัง(Chronic SDH)เลือดออก3สัปดาห์ถึงเดือนทำให้ผู้ป่วยจำอะไรไม่ได้ ปวดหัว ชัก ประสาทตาบวม ตาข้างที่เกิดพยาธิไม่ตอบสมองต่อแสง อัมพาตครึ่งซีก