Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล กรณีศึกษา Myoma Uteri with Adenomyosis…
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล กรณีศึกษา Myoma Uteri with Adenomyosis
ผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยโดยการใช้คำพูดที่สุภาพอ่อนโยนโดยการแนะนำตนเองและบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจรวมทั้งเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกการซักถามข้อสงสัยรับฟังด้วยความเข้าใจพร้อมทั้งพูดคุยปลอบโยนให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยคลายความกังวลใจและยอมรับพร้อมให้ความร่วมมือในการวางแผนการรักษา
ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคและสาเหตุของการเจ็บป่วยในครั้งนี้รวมทั้งประเมินในเรื่องความรู้ความเข้าใจในวิธีการผ่าตัดและแผนการระงับความรู้สึกที่จะได้รับ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาของแพทย์การระงับความรู้สึกของวิสัญญีแพทย์ในขอบเขตของพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลและมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาโดยเป็นสื่อกลางให้กับทีมแพทย์วิสัญญีแพทย์ได้รับทราบถึงความต้องการการรักษาของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ
อธิบายให้ทราบถึงวิธีการขั้นตอนต่างๆในการเตรียมผู้ป่วยเพื่อการทำผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบและเข้าใจพร้อมให้ความร่วมมือ
ให้คำแนะนำต่างๆในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดในเรื่องของการเตรียมความสะอาดของร่างกายการเตรียมความสะอาดเฉพาะที่การเตรียมลำไส้โดยการสวนอุจจาระหรือการรับประทานยาระบายตามแผนการรักษาของแพทย์และแนะนำการงดน้ำงดอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงรวมทั้งแนะนำการประเมินระดับการปวดแผลภายหลังผ่าตัดโดยใช้คะแนนความเจ็บปวด (ระดับ pain score 1-10) เป็นเกณฑ์การประเมินพร้อมทั้งแนะนำการบริหารร่างกายภายหลังทำผ่าตัดการไออย่างถูกวิธีการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้รับการระงับความรู้สึกรวมทั้งให้เซ็นใบยินยอมเพื่อการรักษาในการทำผ่าตัด
ประเมินความรู้ความเข้าใจหลังทำผ่าตัดจากคำแนะนำที่กล่าวมาโดยการซักถามหากผู้ป่วยยังไม่เข้าใจเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจและมั่นใจในการปฏิบัติตัวมากขึ้นและประเมินความรู้ความเข้าใจอีกครั้งจนผู้ป่วยเข้าใจถูกต้อง
ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะท้องอืดหลังผ่าตัด
ประเมินการทำงานของลำไส้โดยการฟัง bowel sound ทั้ง 4 quadrants หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงหากพบว่าสำไส้เริ่มมีการทำงานมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ 3-5 ครั้ง / นาทีแสดงว่าลำไส้เริ่มทำงานรอรับคำสั่งเรื่อง step diet จากแพทย์เจ้าของไข้
ประเมินอาการท้องอืดหลังผ่าตัดตรวจร่างกายผู้ป่วยโดยการสังเกตเช่นอาการหน้าท้องแข็งแน่นท้องพร้อมทั้งสอบถามอาการเรอและอาการผายลมภายหลังผ่าตัด
อธิบายให้ทราบถึงสาเหตุของอาการท้องอืดภายหลังผ่าตัดเนื่องจากผู้ป่วยได้รับการระงับความรู้สึกทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวลดลงทำให้เกิดอาการท้องอืดตามมาภายหลังผ่าตัดจึงควรกระตุ้นให้ลำไส้กลับมาทำงานเร็วขึ้นโดยให้คำแนะนำในการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นเพื่อลดอาการท้องอืด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวภายหลังผ่าตัดโดยหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรกควรแนะนำให้พลิกตะแคงทุก 2-3 ชั่วโมงหลังจากนั้นควรเริ่มให้ลุกเดินรอบๆเตียงจนสามารถเดินในระยะใกล้ๆภายในห้องได้เพื่อช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารดีขึ้นด้วย
ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารตามคำสั่งแพทย์ (step dict) โดยเริ่มจากอาหารเหลว (liquid diet) เช่นน้ำข้าวน้ำขิงและน้ำหวานเป็นต้นต่อมาเป็นอาหารอ่อน (soft diet) ได้แก่ ข้าวต้มเครื่องก๋วยเตี๋ยวแล้วจึงให้รับประทานอาหารธรรมดา (regular diet) ได้โดยแนะนำให้เริ่มตามลำดับและควรเริ่มในปริมาณที่น้อยๆก่อนหากไม่มีอาการท้องอืดแน่นท้องสามารถเพิ่มปริมาณได้
แนะนำอาหารที่ช่วยป้องกันอาการท้องอืดเช่นน้ำขิงเพราะจะช่วยในการขับลมลดอาการท้องอืดแน่นท้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดเช่นนมน้ำอัดลมอาหารประเภทถั่วและอาหารที่มีไขมันสูง
ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหก
ประเมินสัญญาณชีพเพื่อประเมินความผิดปกติเช่นความดันโลหิตต่ำมีโอกาสเกิดอาการเวียนศีรษะทำให้หน้ามืดอาจเกิดการพลัดตกหกล้มได้
ยกราวข้างเตียงขึ้นทุกครั้งภายหลังให้การพยาบาลพร้อมวางกรุงหรือ nurse call ไว้ข้างตัวผู้ป่วยเพื่อหยิบใช้ได้สะดวกมือเมื่อต้องการความช่วยเหลือ
จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณข้างเตียงและภายในห้องให้เรียบร้อยให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการสะดุดลื่นล้ม
ดูแลช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆให้ผู้ป่วยเช่นการทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ในกรณีที่ผู้ป่วยยังได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและยังคาสายสวนปัสสาวะอยู่เพื่อช่วยลดการออกแรงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการพลัดตกหกล้ม
ตรวจดูบริเวณร่างกายของผู้ป่วยขณะตรวจเยี่ยมอาการว่ามีรอยฟกช้ำมีบาดแผลจากการพลัดตกหกล้มหรือไม
เน้นย้ำญาติควรอยู่ดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรต่างๆหากต้องการความช่วยเหลือให้เรียกเจ้าหน้าที่ทัน
ผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1) การดูแลแผลผ่าตัดหากแพทย์ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ชนิดไม่กันน้ำแนะนำไม่ให้ผู้ป่วยอาบน้ำให้เช็ดตัวไปก่อนในกรณีที่แพทย์ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำและแพทย์อนุญาตให้อาบน้ำได้แนะนำให้ผู้ป่วยอาบน้ำได้ตามปกติห้ามถูสบู่บริเวณขอบพลาสเตอร์ภายหลังอาบน้ำให้เช็ดตัวให้แห้งและใช้ผ้าขนหนูที่แห้งซับบริเวณขอบพลาสเตอร์เพื่อป้องกันการอับชื้นและป้องกันการหลุดลอกของพลาสเตอร์หลีกเลี่ยงการแช่น้ำในอ่างน้ำหรือลำคลองเนื่องจากอาจติดเชื้อจากสารปนเปื้อนมากับน้ำซึมเข้าสู่ร่างกายและทางช่องคลอดได้
2) สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติเน้นย้ำว่าควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงอาหารหมักดองเป็นต้น
3) ควรทำงานเบาๆเช่นกวาดบ้านล้างจานเป็นต้นงดการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากหรือกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในช่องท้องเพราะจะทำให้แผลผ่าตัดแยกได้เช่นการยกของหนักเป็นต้นและหลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ
4) สามารถออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเป็นเวลาอย่างน้อย 10-20 นาที งดการออกกำลังกายที่ต้องเกร็งหน้าท้องเช่น Sit up หรือสะพานโค้งภายใน 6 เดือนแรก
5) งดการมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน
6) อาการผิดปกติต้องมาพบแพทย์เช่นมีเลือดหรือหนองบริเวณแผลผ่าตัดมีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกทางช่องคลอดมีอาการปวดท้องน้อยตลอดเวลาร่วมกับการมีไข้และมีตกขาวตกขาวมีกลิ่นเหม็นเป็นต้น
7) ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดไม่ควรหยุดการรับประทานยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
8) มาตรวจติดตามอาการภายหลังผ่าตัดตามแพทย์นัดและควรตรวจติดตามต่อเนื่องประจำปี
เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยเน้นย้ำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดพร้อมให้ตระหนักถึงอาการผิดปกติต่างๆที่ต้องมาพบแพทย์ภายหลังผ่าตัดรวมทั้งประเมินความรู้ของผู้ป่วยโดยการซักถามหากผู้ป่วยยังไม่เข้าใจควรให้เวลาผู้ป่วยในการซักถามและตอบข้อสงสัยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและมั่นใจในการนำไปปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านและเพื่อที่จะช่วยลดการ กลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล (Re-admit) ภายหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัด
ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยโดยสอบถามชื่อ-นามสกุลวันเวลาสถานที่หากมีอาการซึมลงปลุกไม่ตื่น (sedation Score> 1) ให้รายงานแพทย์ทันทีเพราะอาจมีภาวะช็อคจากการเสียเลือดในช่องท้อง
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพโดยตรวจนับชีพจรหายใจและความดันโลหิตทุก 15 นาที 4 ครั้งทุก 30 นาที 2 ครั้งและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าสัญญาณชีพจะคงที่จากนั้นบันทึกต่อทุก 4 ชั่วโมงจนครบ 24 ชั่วโมงหากมีสัญญาณชีพผิดปกติเช่นชีพจรเร็วมากกว่า 100 ครั้งนาทีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 mmHg มีเหงื่อออกตัวเย็นปากซีดหายใจหอบเหนื่อยให้รายงานแพทย์ทันที
สังเกตและบันทึกเกี่ยวกับสีผิวเยื่อบุตาและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน (O, saturation) ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจนหากมีภาวะหายใจตื้นเหนื่อยหอบปลายมือปลายเท้าเขียวควรเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยหายใจและการให้ออกซิเจนเพื่อพร้อมช่วยเหลือได้ทันทีและรายงานให้แพทย์ทราบเพื่อประเมินอาการ
ประเมินแผลผ่าตัดลักษณะของแผลจำนวนของแผลภายหลังทำผ่าตัดขนาดของพลาสเตอร์ที่ปิดแผลสังเกตว่าผ้าปิดแผลมีเลือดซึมหรือไม่ถ้าหากพบว่ามีเลือดซึมออกเยอะจากแผลผ่าตัดให้รายงานแพทย์ทันที
ประเมินและบันทึกลักษณะจำนวนของปัสสาวะที่ออกจากสายสวนปัสสาวะควรมีปริมาณไม่น้อยกว่า 25 ซีซี / ชั่วโมงหากปัสสาวะออกน้อยกว่าเกณฑ์ให้รายงานแพทย์ทันที
ประเมินอาการปวดแผลผ่าตัดโดยประเมินจาก pain score ที่ผู้ป่วยบอกและพิจารณาให้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการตามแผนการรักษา
จัดให้ผู้ป่วยนอนราบไม่หนุนหมอนหากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้จัดให้นอนในท่านอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารและควรจัดภาชนะรองรับน้ำลายไว้ข้างๆผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆ (deep breathing exercise) โดยหายใจเข้าให้หน้าท้องพองขึ้นแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆประมาณ 10-15 ครั้งเพื่อป้องกันภาวะปวดแผลและแนะนำเรื่องการไออย่างมีประสิทธิภาพ (eflective cough) เพื่อช่วยให้เสมหะออกมาจากลำคอได้ง่ายในกรณีที่มีเสมหะค้างอยู่ในลำคอเป็นเวลานานลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้
กระตุ้นให้ผู้ป่วย ambulate ได้เร็วที่สุดเมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัวดีแล้วให้พลิกตะแคงตัวทุก 2-3 ชั่วโมงหรือบริหารขา (legs exercise) โดยการกระดกปลายเท้าขึ้นลงเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นไม่เกิดการคั่งของเลือดบริเวณปลายเท้าช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณขาหดรัดตัวมีผลทำให้เนื้อขาแข็งแรงและตึงตัวอีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและป้องกันการก่อตัวของก้อนเลือดอุดตันระบบการไหลเวียน
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนพักจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบเพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและเข้าติดตามประเมินอาการเป็นระยะๆ
เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากผ่าตัดมดลูกทั้งหมดจึงขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
แนะนำการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายโดยอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์นมปลาและสัตว์เล็กอื่นๆที่สามารถกินได้ทั้งกระดูกเช่นปลาซาร์ดีน กระป๋องปลาซิว ปลาไส้ตัน กุ้งฝอยกุ้งแก้ง เป็นต้น
2.แนะนำอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีผลต่อการดูดซึมและขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ได้แก่ โปรตีนจากสัตว์ที่มากเกินไปเช่นเนื้อแดง อาหารจำพวกเส้นใยที่มีสารไฟเตทและออกซาเลตในปริมาณสูงเช่น ยอดผักใบเขียว พริกชี้ฟ้า โกโก้อาหารที่มีรสเค็มจัดมากเกินไป เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่น กาแฟ ชาเขียว
แนะนำการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดที่มีน้ำหนักกดลงบนกระดูกเล็กน้อย เช่นการวิ่งเหยาะๆ การรำมวยจีน เต้นรำหรือการเดินอย่างคล่องแคล่ว 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งซึ่งการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้การทรงตัวดีขึ้นนำไปสู่การป้องกันการหกล้ม
4.แนะนำให้ผู้ป่วยออกมาสัมผัสแสงแดดบ้าง โดยเฉพาะแสงแดดตอนเช้า เพื่อร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีเองได้ใต้ชั้นผิวหนัง ผ่านการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (Ultraviolet B ray) เพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี
สูญเสียความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากได้รับการผ่าตัดมดลูกทั้งหมด
1.สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและมีการประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ การรับรู้เกี่ยวกับสภาพความเจ็บป่วยและกลไกการปรับตัว
2.หลีกเลี่ยงการให้ความมั่นใจผิด ๆ เช่น การผ่าจัดมดลูกออกทั้งหมดจะไม่เข้าสู่ภาวะวัยทอง เป็นต้น
3.ให้ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหากผู้ป่วยมีความเข้าใจผิดในเรื่องใดควรให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
มีการยอมรับ
4.กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายถึงความรู้สึก เกี่ยวกับการสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งรับฟังเรื่องราวของผู้ป่วยด้วยความเต็มใจและเป็นมิตร
5.บันทึกสิ่งที่สังเกตได้ จากพฤติกรรมผู้ป่วย เมื่อพูดถึงการผ่าตัดมดลูกทั้งหมด
6.เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม โดยสนับสนุนให้บุคคลที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยมาเยี่ยมผู้ป่วยบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต และใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป
7.การให้คำชมเชยทุกครั้งที่ทำกิจกรรมสำเร็จเพื่อให้ผู้ป่วย
รับรู้ถึงคุณค่าและความสามารถของตนเอง ให้ผู้ป่วยเกิดความรักในตนเองตระหนักในคุณค่าคุณงาม ความดีของตนองและความภาคภูมิใจในตนเอง
8.จัดกลุ่มหรือแนะนำให้มีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดมดลูกเช่นเดียวกัน
9.สื่อสารด้วยสีหน้าท่าทางที่เข้าใจและพร้อมช่วยเหลือ พูดด้วยคำพูดสุภาพ ไม่ใช้คำพูดที่รุนแรงกระทบจิตใจผู้ป่วย