Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hypersensitivity …
Hypersensitivity download (19)
ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากเกินพอดีต่อ
สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ซึ่งเรียกว่า allergen ทำให้มีการอักเสบทำลายเนื้อเยื่อตนเองโดยปกติแล้วเมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นให้หมดไปแต่ในบางโอกาสจะด้วยธรรมชาติ (nature) ของสิ่งแปลกปลอมหรือพันธุกรรมของคนๆนั้นก็ตามภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมากลับไปทำลายเนื้อเยื้อของตัวเองทำให้เกิดภาวะภูมิไวเกินจำแนกออกเป็น 4 type ซึ่งแบ่งตามกลไกการเกิดพยาธิสภาพแก่เนื้อเยื่อ ดังต่อไปนี้
1.ประเภทที่หนึ่ง Type I : Anaphylactic หรือ Immediate type Hypersensitivity
2.ประเภทที่สอง Type II : Cytotoxic หรือCytolytic type Hypersensitivity
3.ประเภทที่สาม Type III : Immune Complex หรือArthus type Hypersensitivity
4.ประเภทที่สี่ Type IV : Delayed type Hypersensitivity หรือ Cell-mediated immune disorders
พยาธิสภาพ
:pencil2: ชนิดที่ 1 ปฏิกิริยาภูมิไวเกินที่เกิดขึ้นฉับพลัน (immediate hypersensitivity reaction หรือ anaphylactic
hypersensitivity reaction) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดภาวะ anaphylaxisโดยออกฤทธิ์ผ่านการทำงานของอิมมูโนโกลบูลินชนิด E(IgE)และ mast cellกับเม็ดเลือดขาวชนิด Basophils
:pencil2: ชนิดที่ 2 ออกฤทธิ์ผ่านการทำงานของของอิมมูโนโกลบูลินชนิด G(IgG)และอิมมูโนโกลบูลินชนิด M(IgM)
โดยจะเกิดปฏิกิริยาที่ผิวของเซลล์ เป็นภาวะภูมิไวเกิน ที่เรียกว่า cytotoxic antibody ตัวอย่างของปฏิกิริยา
ชนิดนี้ ได้แก่ การให้เลือดผิดกลุ่ม เป็นต้น
:pencil2: ชนิดที่ 3 เป็นภาวะภูมิไวเกินที่เกิดจากแอนติบอดีในร่างกายกับแอนติเจนจากภายนอกร่างกายจับกัน(immune complex)ทำให้มีการกระตุ้นระบบ complement ทำให้เม็ดเลือดขาวมารวมกัน แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ตัวอย่างของปฏิกิริยาชนิดนี้ ได้แก่ serum sickness,rheumatoid arthritis,
systemic lupus erythematosus(SLE)
:pencil2: ชนิดที่ 4 เป็นภาวะภูมิไวเกินที่ออกฤทธิ์ผ่านเม็ดเลือดขาวชนิดที (T lymphocyte)โดยสิ่งแปลกปลอมจะกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดที ให้มีปริมาณมากขึ้นและเปลี่ยนเป็น cytotoxic T cell รวมทั้งมีการกระตุ้น macrophage และไปทำลายสิ่งแปลกปลอมและเนื้อเยื่อรอบๆ ซึ่งภาวะภูมิไวเกินชนิดนี้จะต่างจากชนิดอื่นๆ ตรงที่ออกฤทธิ์
ผ่านเซลล์ และกลไกการออกฤทธิ์จะช้า (cell-mediated delayed-type hypersensitivity reaction) โดยทั่วไปจะเกิดประมาณ 18-24 ชั่วโมง ตัวอย่างของปฏิกิริยาชนิดนี้ได้แก่ contact dermatitis, graft-versus-host
การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้
การทดสอบทางผิวหนัง :pen:
วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับอาการได้ดี และยังสามารถทราบผลได้ภายใน 20 นาที นอกจากนี้ผลจากการทดสอบทางผิวหนังยังเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินว่าควรจะได้รับวัคซีนภูมิแพ้ชนิดใด วิธีนี้ทำได้โดยหยดสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังและสะกิดผิวหนังชั้นบน
(โดยไม่ให้เลือดไหล) เพื่อให้สารก่อภูมิแพ้ถูกดูดซับเข้าในผิวหนัง
การเจาะเลือดตรวจทางอิมมูโนวิทยา :pen:
วิธีนี้ใช้น้อยกว่าวิธีแรก จะใช้ในบางภาวะที่ไม่สามารถทำการทดสอบทางผิวหนังได้ เช่น ในคนที่มีประวัติแพ้รุนแรงถึงช็อก หรือในคนที่มีผื่นมากและไม่มีผิวหนังปกติมากพอที่จะทำการทดสอบทางผิวหนังได้ บางครั้งเมื่อตรวจเลือดแล้วยังต้องตรวจยืนยันด้วยการทดสอบทางผิวหนัง
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิด เช่น สารก่อภูมิแพ้ อาหาร ฝุ่นและควัน รักษาความสะอาด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือเกิดอาการแพ้แล้ว ให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด ภาวะภูมิไวเกิน
และปฏิกิริยาจากการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือด
[Taxanes (paclitaxel, docetaxel) ประกอบด้วย มีประวัติภูมิแพ้ได้แก่เคยมีประวัติเกิดอาการแพ้/ ปฏิกิริยาของผิวหนังระดับน้อย เช่น หน้าแดงผืนลมพิษความผิดปกติของทางเดินหายใจดัชนี มวลกาย>25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร [และหมดประจําเดือน]
Platinum agents
-Oxaliplatinปัจจัยเสี่ยงในgrade1หรือ2 ประกอบด้วย เพศหญิง อายุน้อยมีประวัติอาการแพ้ เคยแพ้ยา platinum มาก่อนมีระดับแอลดีเอช (lactate dehydrogenase:LDH)ต่ำและปัจจัยเสี่ยงในgrade 3 หรือ 4 ประกอบด้วยปริมาณ
นิวโตรฟิล (neutrophil count) สูงปริมาณโมโนไซต์ (monocyte count) และมีจํานวนครั้ง ของการได้รับยาที่มากขึ้น รวมถึงผู้ป่วยต้อง ได้รับการรักษาด้วย oxaliplatin อีกครั้ง (oxalipatin- freeinterval)จากรายงานพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงของการ เกิดภาวะภูมิไวเกินเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในครั้งที่2-3 ของการให้ยา
Carboplatin ประกอบด้วย มีอายุน้อยกว่า70 ปี มีประวิติภูมิแพ้ ได้รับยา >650 มิลลิกรัม ระยะเวลาหลังจากสิ้นสุดการรักษาด้วยยาเคมีบําบัด platinum ที่นาน >12-23.4 เดือน
(a long platinum- free interval) และ/หรือในผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดplatinumอีกครั้งจากการกลับซ้ำของโรค
• Monoclonal antibody
-Cetuximabประกอบด้วยเพศชายและ มีประวัติเคยสูบบุหรี่เคยแพ้ยามาก่อน ตําแหน่งหรืออวัยวะของมะเร็งปฐมภูมิ(primarysiteofcancer)
และโรคร่วม เช่น หอบหืด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergicrhinitis)ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง(eczema)
Rituxiumab ประกอบด้วย เพศหญิง ตําแหน่งหรืออวัยวะของมะเร็งปฐมภูมิ(primarysite ofcancer)อายมุากกว่า 55ปี
การรักษา
1.ถ้าแพ้สารใดต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารนั้นถ้าเลี่ยงไม่ได้เช่นในผู้แพ้ฝุ่น
2.การรักษาโดยการฉีดสารที่แพ้เข้าไปกระตุ้นทีละน้อยเรียกว่าวิธีdesensitization วิธีการนี้จะ
กระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีชนิดIgG ต่อ allergen นั้นขึ้นมาเมื่อสัมผัสกับallergen อีกIgG จะแย่งจับallergen
ก่อน IgE ทำให้อาการแพ้ลดลงได
การรักษาด้วยยา ในปัจจุบันนี้ ยารักษาภูมิแพ้มีประสิทธิภาพสูง และสามารถใช้ได้ทั้งชนิดรับประทานและชนิดพ่นทางจมูก
ยารับประทาน ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน (antihistamine) รุ่นใหม่มีประสิทธิภาพสูง และออกฤทธิ์ได้นานถึง 12-24 ชั่วโมง ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ง่วงนอน
ยาพ่นจมูก ยากลุ่มนี้ได้ผลดีมากเมื่อใช้ต่อเนื่องกัน สามารถลดอาการบวมและอักเสบของเยื่อจมูกได้ดี และลดการเกิดไซนัสอักเสบแทรกซ้อน
อ้างอิง
ภาสุรี แสงศุภวานิช.Drug hypertention reaction, ใน:ประยงค์ เวชวนิชสนอง, บรรณาธิการ.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหมิตร พัฒนาการพิมพ์; 2559
เชาวนันท์ คำตุ้ยเครือ. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง. [Blog spot]. สืบค้นจาก
http://anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458790441-_15-1345(189-204)P14.pdf
Sawanpracharak hospital. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. persensitivity reaction and infusion reaction. [Website]. สืบค้นจาก
http://oncospr2011.blogspot.com/2013/05/hypersensitivity-reaction-and-infusion.html
วิน เชยชมศรี. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. ภาวะภูมิไวเกิน. [Blog spot]. สืบค้นจาก
http://pirun.ku.ac.th/~fsciwcc/immune9.pdf