Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุป วิชาการพัฒนาตน บทที่ 1 (กลุ่มจิตวิทยาเพื่อความเข้าใจของมนุษย์…
สรุป วิชาการพัฒนาตน บทที่ 1
พฤติกรรม
ทุกๆสิ่งบุคคลทำซึ่งสามารถ สังเกตโดยตรงง่าย เช่น เดิน วิ่ง กระโดด
หรืออยู่ในกระบวนการทางจิตใจ ซึ่งไม่สามารถจะสังเกตได้โดยตรง เช่น ความคิด ความรู้สึก หรือแรงจูงใจ เป็นต้น
ประเภทของพฤติกรรม
พฤติกรรมภายนอก การกระทําที่สามารถสังเกตหรือ
สัมผัสได้โดยตรงด้วยอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์
พฤติกรรมภายใน การกระทําที่รับรู้ไม่ได้ด้วยอวัยวะรับสัมผัส ผู้อื่นไม่
สามารถสังเกตได้โดยตรง อยู่ภายใน เช่น ความคิด ความรู้สึก
ประเภทของพฤติกรรม
พฤติกรรมที่เกิดโดยธรรมชาติ เป็นพฤติกรรมที่มนุษย์กระทําได้เช่นเดียวกัน
ตามสัญชาติญาณ ไม่ต้องผ่านประสบการณ์หรือการฝึกฝน
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับแต่ง
จากการได้รับประสบการณ์และการฝึกฝน
องค์ประกอบพฤติกรรมมนุษย์
อารมณ์
อารมณ์เชิงบวก ความรู้สึกพอใจและนําไปสู่การกระทําที่
สร้างสรรค์
อารมณ์เชิงลบ ความรู้สึกไม่พอใจ นําไปสู่การกระทําที่ไม่
เหมาะสม
กลุ่มจิตวิทยาเพื่อความเข้าใจของมนุษย์
กลุ่มจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ ตของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนจิตสํานึก : สภาวะปกติของบุคคล รู้ตัวว่าทําอะไรออกไปจิตกึ่งรู้สํานึก : สะสมข้อมูลประสบการณ์ มิได้รู้ตัวในขณะนั้น หรือคือความจํา จิตไร้สํานึก : ไม่รู้สึกตัวเลย เก็บกดไว้ สะท้อนออกมาในรูปของความฝันหรือการละเมอ
กลุ่มจิตวิทยาหน้าที่นิยม เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะ “เรียนรู้จากการกระทํา”
กลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เน้นศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้อย่างชัดเจน หรือสิ่งที่แสดงออก เชื่อว่า “พฤติกรรมเกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า และการตอบสนอง” ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการพัฒนาและปรับพฤติกรรมของบุคคล เน้น ที่การให้รางวัลและการลงโทษ
กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ เชื่อว่า พฤติกรรม เกิดจาก คุณสมบัติโดยส่วนรวมของบุคคล แยกศึกษาที่ละส่วนไม่ได้ ศึกษาพฤติกรรม จากกระบวนรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม ให้ความสําคัญกับ การรับรู้และการหยั่งเห็น
กลุ่มจิตวิทยามนุษยนิยม เน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด มองตนในด้านบวก ยอมรับตนเอง และนําส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ทำให้มองคนอื่นในแง่บวก ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม