Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) (อาการเเละอาการเเสดง (น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทรา…
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
ความหมาย
โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องของการหลั่ง insulin หรือการออกฤทธิ์ของ insulin หรือทั้งสองสาเหตุ ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะระดับน้ำตาลสูงเรื้อรังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายในระยะยาว การสูญเสียหน้าที่ และความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของตา ไต ระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุ
การตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนจากรกซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานของอินซูลิน
ความผิดปกติของตับอ่อน
เนื่องจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน ดังนั้นหากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพหรือเกิดความผิดปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย
โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี หรือนัยหนึ่งเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น
พฤติกรรม
พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน
พฤติกรรมการรับปะระทานอาหาร
การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
เวลา การไม่รับประทานผักและผลไม้
การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งมีส่วนประกอบของแป้ง น้ำตาล และไขมันทรานส์
พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
การไม่ออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
ผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ตับอ่อนจะเสื่อมการทำงาน ทำให้การสังเคราะห์และการหลั่งอินซูลินลดลง
Genetic(พันธุกรรม)
เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง อาทิเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานก็ไม่จำเป็นต้องป่วยเป้นดรคเบาหวานทุกราย ทั้งนี้ขึ้นกับการควบคุมดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น
ปัจจัยเสี่ยง
มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือมีลูกที่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4,000 กรัม
มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขั้นไป
มีประวัติบุคคลในครอบครัว เป็นโรคเบาหวาน
กิจวัตรประจำวันไม่มีกิจกรรมการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหรือเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสม
มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
มีภาวะดื้ออินซูลิน
ภาวะ Metabolic Syndrome
ความดันโลหิตสูง
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
HDL ต่ำ
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออ้วน
พยาธิสภาพ และกลไก
โรคเบาหวานเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในการเผาผลาญสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตน เนื่องจากความไม่สมดุลของการใช้กับการสร้างอินซูลินร่างกาย
อินซูลินจะมีหน่วยที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน การพร่องอินซูลินพบสาเหตุใหญ่ๆ อย่างน้อย 4 ปัจจัย
กรรมพันธุ์
กระบวนการเผาผลาญ
ภาวะติดเชื้อ
ปัจจัยทางภาวะภูมิต้านทาน
เป็นผลให้ไอสเลทบีต้าเซลล์ถูกทำลาย หรือสร้างอินซูลินไม่ได้
จะทำให้กลูโคสในกระแสเลือดผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ช้าในขณะเดียวกัน จะมีการสร้างกลูโคสจากไกลโคเจนที่ตับ และมีการดูดซึมเพิ่มจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
จึงเกิดภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูง (Hyperglycemia)
ระดับกลูโคสที่สูงขึ้นนี้ ถ้าเกินกว่าที่ความสามารถของไตจะดูดซึมกลับ (Renal threshold) ก็จะถูกขับออกพร้อมกับน้ำมากับปัสสาวะจึงตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ (Glucosuria) น้ำตาลที่เข้มข้นสูงจะพาเอาน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก
ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย (Polyuria) พร้อมกับสูญเสียเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะโซเดียมร่างกายจึงขาดทั้งอาหาร น้ำและเกลือแร่ จึงมีอาหารหิวบ่อย กินจุ (Polyphagia) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย (Polydipsia) และน้ำหนักลด ผอมลงบางรายอ่อนเพลีย อาการมากน้อยแล้วแต่การสูญเสีย น้ำตาล น้ำ และเกลือแร่ไปเป็นแบบเรื้อรัง
โรคเบาหวานเเบ่งเป็น 4 ชนิด
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำล่ยโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลินมักพบในเด็ก
โรคเเบาหวานชนิดที่ 2
เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินมักพบในผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ
มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรือยาสเตียรอยด์
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
อาการเเละอาการเเสดง
หิวบ่อย กินจุ
น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกายเหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหารและเริ่มดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อ มาใช้เป็นพลังงานแทน นอกจากนี้การที่ไตทำงานอย่างหนักยังส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีมากเกินไป
ปัสสาวะบ่อยขี้น
การขขับปัสสาวะบ่อยเกิดจากกลไกการทำงานของไตที่พยายามจะกรองแยกสารอาหารที่มีประโยชน์ (น้ำตาล) กลับคืนสู่ร่างกายและคัดกรองของเสียออกจากเลือดแล้วขับออกจากร่างกายไปโดยส่งไปพร้อมกับปัสสาวะจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเบาหวานต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
การกระหายน้ำบ่อยขึ้น
เพราะร่างกายต้องการน้ำเพื่อไปทดแทนน้ำที่เสียไปจากการขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะรู้สึกคอแห้งและกระหายน้ำมากกว่าปกติที่เคย ไม่ว่าช่วงนั้นจะมีอากาศร้อนหรืออากาศเย็นก็ตาม นอกจากอาการกระหายน้ำแล้วยังสามารถดื่มน้ำได้มากในแต่ละครั้งที่ดื่มอีกด้วย
ตาพร่ามัว
เนื่องจากระดับน้ำตาลในร่างกายที่มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขับน้ำตาลออกมาทางเลนส์ตา เมื่อรับน้ำที่ผ่านเข้าเลนส์ตาก็จะทำการซับน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดจึงเกิดการทำงานที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว มองภาพได้ไม่ชัด หรือถ้าเป็นมากจะเห็นน้ำไหลออกมาจากดวงตา แต่ไม่ใช่น้ำตา น้ำที่ไหลออกจากจะมีลักษณะเหนียวข้น
ผิวหนังมีปัญหา
เช่น คัน ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลหายช้า
คลื่นไส้อาเจียน
อ่อนเพลีย
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างร่างอาจอ้วนหรือผอมแล้วแต่ระยะเวลาที่เป็น ท่าทาง อ่อนเพลีย ปากแห้ง หน้าแดง ผิวหนังร้อน เท้าอุ่น มีไข้ต่ำๆ ถึงไข้สูงและถ้ามีภาวะเป็นกรดร่วมด้วย อาจพบหายใจหอบเร็ว ลึก (Kussmual respiration) อาจซึม หรือไม่รู้สึกตัวก็ได้
ตา
พบมีต้อกระจก ต้อหิน เส้นเลือดในจอรับภาพแตก มองเห็นภาพซ้อน (Diplopia)
หัวใจและหลอดเลือด
อาจพบความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก เส้นเลือดสมองอุดตัน เวลาเดินปวดน่องมากพอหยุดเดินแล้วอาการจะหายไปหรือเป็นอัมพาต
ช่องท้อง
มีไขมันพอกบริเวณหน้าท้อง หน้าอก คอและหน้า อาจคลำพบตับโต ขอบเรียบ กดไม่เจ็บ เมื่อได้รับการรักษาที่ดีตับจะเล็กลงมีอาการทางลำไส้ ท้องผูกหรือท้องเดินในเวลากลางคืน
กล้ามเนื้อและระบบประสาท
ปวด ชา ปลายมือปลายเท้า มึนงง เวียนศีรษะ กล้ามเนื้อลีบและอาจตรวจพบเชื้อราตามข้อพับ แขนขาไม่มีปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ตามข้อเข่า และข้อเท้า
ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ความรู้สึกทางเพศลดลงหรือไม่มี ถ้าตั้งครรภ์ครบกำหนดบุตรมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
มีอาการนโรคเบาหหวานชัดเจน ได้เเก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยเเละปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่ามากกว่าเท่ากับ 200 mg/dl
ระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหาร (ออย่างน้อย 8 ชั่วโมง) มากกว่าเท่ากับ 126 mg/dl
การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประมาณกลูโคส 75 g เเล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง
การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) มากกว่าเท่ากับ 6.5 % โดยวิธีการตรวจเเละห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมีน้อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่เเนะนำให้ใช้วิธีนี้
ภาวะเเทรกซ้อน
เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา
เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคไตจากเบาหวาน
ความหมาย
ภาวะไตเสื่อมจากเบาหวาน (diabetic nephropathy) หมายถึง ความผิดปกติของหลอดเลือดแดงฝอยในโกลเมอรูลัสของไตซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นเบาหวานระยะเวลานานทำให้ประสิทธิภาพการกรองของไตลดลง (ศิริลักษณ์ ถุงทอง. 2560)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระยะนานมากกว่า 5 ปี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่น ภาวะไตเสื่อมซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดมีผลทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงไตเกิดการตับแข็งมีผลให้การทำงานของไตเสื่อมลงไม่สามารถกรองของเสียออกทางปัสสาวะได้ และกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง รวมถึงระยะเวลาการเป็นเบาหวานที่นานขึ้น 5 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยจะเริ่มไม่ปฏิบัติตามแผนการรักษาเนื่องจากมียาที่ใช้ในการรักษาเพิ่มขึ้นผู้ป่วย จึงมีความรู้สึกกว่าการรักษายุ่งยากขึ้นจนเบื่อการรักษาและการกินยา
โรคร่วมขณะเป็นโรคเบาหวาน
2.1 โรคความดันโลหิตสูงหากไม่สามารถควบคุมโรคได้อาจมีผลต่อหัวใจ สมอง ไต หลอดเลือดและตา เพราะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นานจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้นและขนาดของหลอดเลือดเล็กลงทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลงอวัยวะต่างๆ ทำงานได้ไม่เป็นปกติ ไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ความดันโลหิตสูงจึงมีผลต่อหลอดเลือดที่ไตทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตจึงเสื่อมสมรรถภาพจนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง
2.2 ภาวะไขมันในกระแสเลือดสูง (Hypercholesterolemia) ระดับไขมันในเลือดที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดพยาธิสภาพทางไตเกิดหลอดเลือดโกลเมอรูลัสแข็งตัวจึงทำให้อัตราการกรองของไตลดลงการรักษาไขมันในเลือดด้วยยากลุ่มสเตตินส์ (statins) จะช่วยฟื้นฟูสภาพหลอดเลือดได้ในผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นไตเสื่อมจากเบาหวาน
พฤติกรรมส่วนบุคคลซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการเสื่อมของไต
3.1 พฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ชอบอาหารรสจัดหวาน มัน เค็ม สารอาหารบางประเภทนอกจากจะมีประโยชน์แล้วหากรับประทานในประมาณที่เหมาะสมก็อาจมีผลต่อการทำงานของไตได้
3.2 การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อไต เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้ความดันโลหิตสูงอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น การไหลเวียนเลือดในไตลดลงจนทำให้เส้นเลือดในไตอุดตันได้ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการกรองของไตลดลง
3.3การมีพฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ บ่อยครั้งและในผู้ป่วยเบาหวานจะปัสสาวะบ่อย ผู้ป่วยบางรายจึงกลั้นปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและเกิดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ และอาจเกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้
3.4 พฤติกรรมการซื้อยามาใช้เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เช่น ยาแก้ปวดข้อปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นยาลดการอักเสบที่มีฤทธิ์แรงมาก ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือมีการแพ้ยาก็อาจเกิดอันตรายต่อไตได้ ยาจะตกตะกอนในไตทำให้ปัสสาวะไม่ออกได้
การเสื่อมของอวัยวะตามอายุไตเป็นอวัยวะที่เสื่อมไปตามอายุ ในคนปกติเมื่อเติบโตเจริญเต็มวัยแล้วอัตราการกรองของไตจะค่อยๆ ลดลงปีละประมาณ 1 มิลลิลิตรต่อนาที หากอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปก็จะเกิดการเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น
กลไกการเกิดไตเสื่อมจากเบาหวาน
ระดับน้ำตาลที่สูงเรื้อรังทำให้ระดับกลูโคสสูงขึ้นจะสร้างความเสียหายให้กับเส้นเลือดฝอยในไต
เนื่องจากความหนืดของน้ำตาลที่ผสมในเลือด
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เส้นเลือดแดงขนาดเล็กที่ไตเสื่อม
มีความดันและความเร็วเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดการหนาตัวของเส้นเลือด การทำงานของไตจึงเสื่อมลง เริ่มพบการรั่วของสารต่างๆ ออกมาพร้อมกับปัสสาวะ
โปรตีนชนิดอัลบูมิน
การวินิจฉัย
ระดับฮีโมโกลบิลเอวันซี (HbA1c) มากกว่าร้อยละ 7
ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า (หลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง) มากกว่า 130 mg/dl
มีค่าความดันโลหิตที่มากกว่า 130/80 mmHg
การตรวจพบโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะหากมีการตรวจพบโปรตีนชนิดอัลบูมินในปริมาณ 30-299 mg/day จะวินิจฉัยว่าเป็นไมโครอัลบูมินนูเรีย (microalbuminuria) แต่หากตรวจพบโปรตีนชนิดอัลบูมินในปัสสาวะปริมาณ 300 mg/day หรือมากกว่าให้ถือเป็นภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย (macroalbuminuria)
ระดับไขมัน LDL มากกว่า 100 mg/dl
ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า 40 mg/dl ในผู้ชายและน้อยกว่า 50 mg/dl
ระดับไขมัน Triglyceride มากกว่า 500 mg/dl
มีค่าอัตราการกรองของไตต่ำกว่า 60 mg/min ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางไต
การรักษา
ระยะที่ 1 ผู้ป่วยยังไม่มีอาการของโรคแต่ตรวจเลือดพบ Serum creatinine90 ml/min/1.73 m2 ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรได้รับการตรวจ คัดกรองการทำงานของไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้อง ควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้น้อยกว่า 120 mg/dl เพื่อชะลอ การเสื่อมของไต
ระยะที่ 2 ผู้ป่วยยังไม่มีอาการแต่ไตจะเสื่อมเร็วขึ้น eGFR อยู่ระหว่าง 60-89 ml/min/1.73 m2 มีโปรตีนรั่วใน ปัสสาวะเป็นครั้งคราว ในระยะนี้จะต้องควบคุมระดับน้ำตาล และระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 mmHg
ระยะที่ 3 eGFR อยู่ระหว่าง 30-59 ml/min/1.73 m2 ในระยะนี้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการซีดเนื่องจากไตไม่สามารถสร้าง ฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้ ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงจึงทำให้ผู้ป่วยซีด นอกจากนั้น ยังพบว่า ไตขับของเสียที่มีไนโตรเจนจากการเผาผลาญของ โปรตีนลดลงต่ำกว่าครึ่ง ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องลดอาหารโปรตีน ลงเหลือ 0.6gm/kg/dl และต้องลดอาหารที่มีเกลือและ ฟอสฟอรัสซึ่งมีในอาหารประเภทโปรตีนสูงจากเนื้อสัตว์ ไข่ แดง นม และเมล็ดพืช โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีปริมาณฟอสฟอรัส การรักษาจึงต้องใช้ยากลุ่มจับฟอสเฟต เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตและวิตามินดี เพื่อช่วยชะลอการ เสื่อมของไต และลดภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น การเสื่อมของ กระดูกจากไตเสื่อม (Renal osteodystophy)
ระยะที่ 4 ผู้ป่วยเริ่มอ่อนเพลียมีอาการซีดมากขึ้น และอัตราการกรองของไตลดลงมาก ค่า eGFR อยู่ระหว่าง 15-29 ml/min/1.73 m2มีอาการบวมและภาวะเลือดเป็นกรด การรักษาจึงต้องใช้ยากลุ่ม erythropoietin เหล็กและกรดโฟลิค ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงรักษาอาการอ่อนเพลีย การให้ โซเดียมไบคาร์บอเนต ช่วยไม่ให้เลือดเป็นกรด ชะลอการ เสื่อมของไตและกระดูกอาหารที่มีสภาพเป็นด่างเช่น ผักทุก ชนิด โดยเฉพาะผักเขียว ผลไม้เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล กล้วย มะพร้าว มะนาว ส้มเป็นต้น ระยะนี้ต้องระวังเรื่องระดับ โปรแตสเซียมในเลือดอาจสูงเพราะไตขับถ่ายได้น้อยลง ต้องลดอาหารประเภทผักผลไม้ ไม่ควรใช้ยาลดความดันโลหิต กลุ่ม ACE-I, ARB และยาขับปัสสาวะกลุ่ม potassium exchange resin (Calcium styrene polysulfonate) ผู้ป่วย ในระยะที่ 4 จะเริ่มมีโรคแทรกซ้อนจากโรคไตวายเรื้อรัง จึง ต้องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือพิการด้วย
ระยะที่ 5 ค่าeGFR ลดลงต่ำกว่า 15ml/min/1.73 m2 เป็นระยะที่ไตทำหน้าที่ลดลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจึงมีอาการ อ่อนเพลียมากขึ้น มีอาการบวมเพราะไตขับน้ำและเกลือลดลง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ซีด หอบ เหนื่อย สับสน ซึม อาการดังกล่าวเกิดจากภาวะยูรีเมีย ต้องทำการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ได้แก่ วิธีล้างไต (Dialysis) การล้างไตทางช่องท้อง (Continuous ambulatory peritoneal dialysis) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
สูญเสียเท้าจากบาดเเผล ซึ่งเป็นผลจากเบาหวาน
ข้อวินิจฉัยหรือปัญหาทางการพยาบาล
1.มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากการที่ร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ
2.เสี่ยงต่อภาวะขาดโซเดียมเนื่องจากการถ่ายปัสสาวะบ่อย
3.เสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำจากการรักษาด้วยยาลดน้ำตาล
4.แผลหายช้าจากหลอดเลือดตีบแข็ง
5.มีแนวโน้มจะเกิดความดันโลหิตสูง/กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด/ไตวาย จากหลอดเลือดตีบแข็ง
6.ขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยารับประทาน/ยาฉีดและวิธีการฉีดยา
7.ขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตัว เพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
8.มีความวิตกกังวล ท้อแท้ และซึมเศร้าจากภาวะความเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของร่างกาย และการดำเนินชีวิต
การพยาบาล
1.เฝ้าติดตามประเมินระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการตรวจปัสสาวะก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็นและก่อนนอน บันทึกอย่างต่อเนื่อง
2.ดูแลอาหารบำบัดให้ได้ตรงกับที่ได้คำนวณและกำหนดไว้ สังเกตจำนวนอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานกับอาการของโรคเบาหวาน คอยดูแลปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยโดยที่ผู้ป่วยเข้าใจ มีความตั้งใจ และให้ความร่วมมือ
3.เฝ้าระวังการติดเชื้อ ด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง และสังเกตอาการมีไข้ อาการคันที่อวัยวะเพศ และผิวหนังทั่วไป
4.ดูแลกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การอาบน้ำ แปรงฟัน การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ช่วยทำความสะอาดให้ในรายช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และสอนให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไป เพื่อที่จะทำเองได้เมื่อมีอาการดีขึ้นและกลับไปอยู่บ้าน โดยเฉพาะการทำความสะอาดตามซอกรักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ อวัยวะเพศ ให้แห้งอยู่เสมอ
5.การดูแลเท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทำความสะอาดเท้า ซอกนิ้วเท้าและซับให้แห้งทุกครั้งที่อาบน้ำหรือเมื่อล้างเท้า ถ้ามีแผลควรปรึกษาแพทย์มากกว่ารักษาเอง ตัดเล็บให้สั้น ระวังเล็บขบ สวมรองเท้าขนาดพอดี และสวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน อย่างวางกระเป๋าน้ำร้อนบริเวณเท้าที่รู้สึกชา ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
6.ฉีดยาอินซูลิน หรือให้ยารับประทานตามแผนการรักษา และการสังเกตอาการหลังใช้ยา เช่น ง่วง ซึม ไม่รู้สึกตัว ช็อคจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
การรักษา
การประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และคงที่แนะนำให้ทำการตรวจวัดระดับ HbA1c อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แต่ในรายที่ควบคุมได้ไม่ดีหรือไม่คงที่แนะนำให้มีการตรวจอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
การปรับเปลี่ยนโภชนาการ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ HbA1c ระดับไขมัน LDL HDL Triglyceride ความดันโลหิต และน้ำหนักตัว
การออกกำลังการ การออกกำลังการช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดน้ำหนัก ควรจะมีการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน
4.1 ยาฉีดอินซูลิน
ชนิดออกฤทธิ์เร็ว (rapid acting insulin analog) เริ่มออกฤทธิ์ 5-15 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 1-2 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง Lispro Aspart
อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (short acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 30-45 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-3 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 4-8 ชั่วโมง Regular insulin
อินซูลินออกฤทธิ์นานปานกลาง (intermediate acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชั่วโมง ออกฤทธิ์สูงสุด 4-8 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 10-16 ชั่วโมง Humulin Insulatard Monotard
อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (long acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 2 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 18-24 ชั่วโมง Lantus Levemir
อินซูลินผสมสำเร็จรูป (pre-mixed 30%RI+70%NPH: mixtard 30HM) เริ่มออกฤทธิ์ 30-60 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-8 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 12-20 ชั่วโมง Humulin 70/30 Mixtard30 Humalog mix 25 Novomix 30