Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บแน่นหน้าอกเนื่องจากมีปร…
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บแน่นหน้าอกเนื่องจากมีปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ O2 Cannula 4-5 Lpm, Keep O2 Sat > 95% เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้ร่างกาย
2.เฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการเจ็บหน้าอกทุก 1-2 ชั่วโมง
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านเกร็ดเลือด (Aspirin) เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
4.ให้ผู้ป่วยพักบนเตียง (absolute bed rest) โดยจัดศีรษะสูง 30 องศา เพื่อลดปริมาณเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ
5.บริหารกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อตามความเหมาะสม เพื่อลดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำ และลดภาวะแทรกซ้อนจากการจำกัดกิจกรรม
6.ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรม เพื่อลดการใช้พลังงานของผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับยา Lorazepam ตามแผนการรักษานอน เพื่อลดการใช้พลังงานและลดการทำงานของหัวใจ
6.มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินระดับความวิตกกังวลและความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
2.สอบถามและอธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยเข้าใจมากขึ้น
3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดความรู้สึกหรือพูดในเรื่องที่ผู้ป่วยพูดแล้วสบายใจและเป็นผู้รับฟังที่ดี
4.กรณีญาติมาเยี่ยม ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้อยู่กับญาติและคุยกับญาติมากขึ้น
5.อธิบายเหตุผลการให้ยา ขนาดที่ใช้ อาการค้างเคียงที่อาจพบความสำคัญที่ต้องได้รับยาตามแนวทางการรักษาให้ครอบคลุม เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบ
6.แจ้งผู้ป่วยรับทราบก่อนให้การพยาบาลหรือทำหัตถการทุกครั้ง
7.ดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล พูดคุยเป็นกันเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่กับเจ้าหน้าที่
4 มีโอกาสได้รับอันตรายจากภาวะความดันโลหิตสูง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความดันโลหิตผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับยา Lorazepam ตามแผนการรักษา เพื่อลดการใช้พลังงานและลดการทำงานของหัวใจ
ดูแลไม่ให้น้ำและเกลือคั่ง โดยให้ยา Furosemide ขนาด 40 มิลลิกรัม
ดูและให้ได้รับยา Carvedilol ขนาด 6.25 mg และ Losartan ขนาด 50 เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน
2.มีภาวะการคั่งของน้ำจากภาวะหัวใจล้มเหลว
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพร่างกาย เพื่อดูการบวมนํ้าตามเนื้อเยื้อที่ผิวหนัง
ดูแลให้ได้รับนํ้าเพียงพอ โดยให้นํ้าเท่ากับปัสสาวะเพิ่มอีก 500 ซีซี ซึ่งไม่มีข้อจำกัดในผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา คือ Lasix 40 mg 1 tab ๏b.i.d.p.c.
ให้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค
Record intake output
1.ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมิน SpO2 อาการหอบเหนื่อย หายใจเร็วตื้น
บันทึกอาการและสัญญาณชีพ เสียงปอด และลักษณะเสมหะ
ดูแลให้จัดท่านอนศีรษะสูง หนุนหมอนสูง เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น
ให้ออกซิเจนทางแคนนูลาร์ 5 ลิตร/นาที
ดูแลปากฟันให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากผู้ป่วยต้องหายใจทางปาก จากการหอบเหนื่อย
ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด ดูความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย
ติดตามฟังปอดสอนผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ
ดูแลให้ยาPlavix ขนาด 75 mg และAspirin ขนาด 81 mg รับประทานโดยเตี้ยวครั้งละ 1 เม็ด ตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดและลดการอุดตันของหลอดเลือด
5 พร่องความรู้ในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการได้รับการตรวจสวนหัวใจ
กิจกรรมการพยาบาล
การพยาบาลระยะก่อนการทำหัตถการ
เตรียมความพร้อมด้านร่างกายของผู้ป่วย
2.1 งดน้ำงดอาหาร และงดยา ตามคําสั่งการรักษา
2.2 ซักประวัติการแพ้ยา แพ้สารทึบรังสี เพื่อประเมินถึงภาวะเสี่ยงต่อการแพ้ สารทึบรังสี
2.3 ดูแลเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดทําหัตถการ ถอดฟันปลอม และเครื่องประดับ
2.4 บันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินระบบไหลเวียนโลหิต
2.5 ชั่งน้ำหนักของผู้ป่วย เพื่อประกอบการคํานวณขนาดของยาต้านการแข็งตัว ของเลือด
2.6 ทําความสะอาดผิวหนังบริเวณข้อมือ
2.7 เปิดเส้นเลือดดําเพื่อให้สารน้ำและยาตามแผนการรักษา
2.8 ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้
2.9 เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยชีวิต
2.10 ประสานงานกับห้องตรวจสวนหัวใจ ส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับอาการและ อาการแสดง
เตรียมความพร้อมด้านเอกสาร รายงานและเวชระเบียน
3.1 ตรวจสอบความพร้อมและความสมบูรณ์ของใบยินยอมรักษาการทํา หัตถการ (informed consent)
3.2 ตรวจสอบสิทธิการรักษา เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการทำหัตถการ
เตรียมความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย
1.1 อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจ
1.2 ให้ยาคลายความวิตกกังวลตามแผนการรักษาในรายที่มีความวิตกกังวลสูง
การพยาบาลระยะหลังการทําหัตถการ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที จํานวน 2 ครั้ง ทุก 30 นาทีจํานวน 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) ภายหลังทําหัตถการเสร็จ
ประเมินและบันทึกอาการเจ็บหน้าอก หากผู้ป่วยมีอาการการเจ็บแน่นหน้าอก ให้รายงานแพทย์ทันที และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือให้ยาตามแผนการรักษา
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มนํ้ า หรือให้สารนํ้าตามแผนการรักษาหากไม่มีข้อห้าม เพื่อช่วย ขับสารทึบรังสีออกทางปัสสาวะ
แนะนำผู้ป่วย ห้ามงอข้อมือข้างที่ทํา แต่สามารถขยับปลายนิ้วมือได้
ดูดลม (deflate balloon) ออกจากอุปกรณ์กดห้ามเลือด (TR band) ตามแนว ปฏิบัติการดูแลภายหลังตรวจสวนหัวใจ
เมื่อ deflate balloon หมด นํา TR band ออกและเตรียมอุปกรณ์ช่วยแพทย์ทํา ความสะอาดแผล ด้วย sterile technique และปิดแผลด้วย transparent film
ห้ามผู้ป่วยงอข้อมือข้างที่ทํานาน 6 ชั่วโมง (นับเวลาเริ่มต้นที่เอาอุปกรณ์รัดเหนือแผลออก)
แนะนําให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมบนเตียง
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และยาระบาย ป้องกันภาวะท้องผูก ตามแผนการรักษา
ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดภายหลังทําหัตถการ