Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ร้องโรงพยาบาลทำคลอดชุ่ยเด็กเสียชีวิต จ.กาญจนบุรี (คุณธรรมเเละจริยธรรมเเละจ…
ร้องโรงพยาบาลทำคลอดชุ่ยเด็กเสียชีวิต จ.กาญจนบุรี
จากข่าว หญิงตั้งครรภ์ G5 ตั้งครรภ์ 9 เดือน มาด้วยปวดท้องก่อนถึงกำหนดคลอด Amit ที่โรงพยาบาลอำเภอไทรโยค พยาบาลเข้าไปตรวจพบว่าปากมดลูกเปิดเต็มที่ มดลูกบีบรัดตัวถี่ ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก คล่ำแล้วพบสายสะดือและมือทารก จึงตามแพทย์ตรวจพบว่าเด็กอยู่ในท่าเฉียง ศีรษะยังลงมาไม่เต็มที่ มีภาวะสายสะดือย้อย ได้ให้การดูแลรักษาตามมาตรฐานการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ ต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาเด็กออก แต่เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีแพทย์ที่สามารถผ่าตัดเอาเด็กออกได้ จึง refer ไปที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงเมื่อมาถึงแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเอาเด็กออกแต่ปรากฎว่าเด็กได้ขาดอากาศเสียชีวิตไปแล้ว
สิทธิผู้ป่วยเเละเสรีภาพเเละสิทธิมนุษยชน
สิทธิผู้ป่วย
พยาบาลได้เข้ามาตรวจอาการ ก่อนยื่นมือเข้าไปบริเวณช่องคลอดแล้วทำให้น้ำคร่ำแตกออก และก่อนที่สายสะดือของเด็กจะหลุดออกมาจากช่องคลอด นางรุ่งนภาต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาเด็กออก แต่ทางโรงพยาบาลไม่มีแพทย์ที่สามารถทำการผ่าตัดได้ จึงต้องส่งตัวมาทำการผ่าตัดเอาเด็กออกที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาในตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้เวลาเดินทางกว่าหนึ่งชั่วโมง เมื่อมาถึงแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเอาเด็กออก แต่ปรากฏว่าเด็กได้ขาดอากาศเสียชีวิตไปแล้ว
ตามหลักสิทธิผู้ป่วยที่ควรได้รับในข้อที่ 3
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
หลังเกิดเหตุ ทั้งสองสามีภรรยาบอกว่า ไม่เคยได้รับการชี้แจงจากทางโรงพยาบาลที่ทำคลอดเลย ว่าสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ตามหลักสิทธิผู้ป่วยที่ควรได้รับในข้อที่ 2
ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
สิทธิมนุษยชน
โดยหลังเกิดเหตุ ทั้งสองสามีภรรยาบอกว่า ไม่เคยได้รับการชี้แจงจากทางโรงพยาบาลที่ทำคลอดเลย ว่าสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
หลักสิทธิมนุษยชนข้อ 19
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก รวมทั้งการได้รับข้อมูล ข่าวสาร
หลักสิทธิมนุษยชนมาตรา 51 บทบัญญัติซึ่งอยู่ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญนั้นตรงกับข้อที่ 2
คุณธรรมเเละจริยธรรมเเละจรรยาบรรณวิชาชีพเเละกฎหมาย
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
พยาบาลได้ประเมินและตรวจร่างกายอย่างเหมาะสมและเห็นว่าไม่สามารถทำคลอดได้จึงได้ทำการรายงานแพทย์แต่ไม่มีแพทย์ประจำในเวลานั้น จึงได้ทำการส่งต่อให้กับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ทำตามจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลต่อประชาชน
จากเหตุการณ์พยาบาลได้ประเมินและปฏิบัติตามมาตรฐานการให้การพยาบาลซึ่งไปประเมินและตรวจร่างกายของผู้ป่วย พบว่าปากมดลูกเปิดเต็มที่ มดลูกบีบรัดตัวถี่ ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก คล่ำแล้วพบสายสะดือและมือทารก จึงทำการรายงานแพทย์ ซึ่งทำตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
กฎหมาย
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บทบัญญัติของมาตรา 41
เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
ทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไทรโยคและสำนักสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ได้ลงเยี่ยมบ้าน เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับครอบครัวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้การดูแลด้านจิตใจ และมอบเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเบื้องต้น พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกเรื่องขอรับความช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41
คุณธรรม
พยาบาลขาดคุณธรรมในด้านการให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นการคลอดบุตรครั้งที่ 5 ถือว่าอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยง พยาบาลขาดการดูแลอย่างใกล้ชิดจึงทำให้ไม่สามารถให้การพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตเด็กได้ทัน
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 291
"ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท"
พยาบาลขาดความรู้และกระทำโดยไม่ระมัดระวังจนทำให้ถุงน้ำคล่ำแตกจนสายสะดือหลุดออกมาจากช่องคลอด เป็นการกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
สรุปข้อเสนอเเนะเเละการนำไปใช้
สรุป
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นความผิดของทางสถานพยาบาลและพยาบาล เพราะพยาบาลได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้การพยาบาล เพราะประเมินและตรวจร่างกายของผู้ป่วยพบว่าปากมดลูกเปิดเต็มที่ มดลูกบีบรัดตัวถี่ ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก คล่ำแล้วพบสายสะดือและมือทารก จึงทำการรายงานแพทย์ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย และทางเจ้าหน้าที่ออกมาพูดคุยกับครอบครัวผู้ป่วยให้เข้าใจถึงกระบวนการคลอดและการทำงานของเจ้าหน้าที่และดูแลให้ได้รับการเยียวยา
ตามทฤษฎีปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดมี 6 Pได้แก่แรงผลักดัน (powers) , ช่องทางคลอด (passage) , สิ่งที่คลอดออกมา (passengers) , สภาวะจิตใจผู้คลอด (psychological condition) , สภาวะร่างกายของผู้คลอด (physical condition) และท่าของผู้คลอด
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคลอดคือ สิ่งที่คลอดออกมา(passengers)
ข้อเสนอแนะ
จากข่าวพบว่าทางบิดาของผู้ป่วยได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของพยาบาลไว้หลายข้อ เช่น พยาบาลมีการเตรียมความพร้อมในการคลอด แถมยังเอาผ้าปูไปนอนเล่นโทรศัพท์ในห้องคลอด พยาบาลทำคลอดขาดความระมัดระวัง ทำให้เด็กติดอยู่ในช่องคลอด อีกทั้งไม่ยอมเปลี่ยนวิธีทำคลอดแม้แม่ของเด็กจะร้องขอ ซึ่งการป้องกันการเกิดข้อพิพาทย์นี้ พยาบาลจาก ANC หรือพยาบาลห้องคลอด ควรให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะรอคลอด รวมถึงกิจกรรมที่จะต้องให้การพยาบาลกับผู้คลอดแก่ตัวผู้คลอดเองและญาติ
การนำไปใช้
เป็นอุทาหรณ์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ ซึ่งชี้นำให้เห็นว่าควรมีการเฝ้าระวังและเพิ่มพูนความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับมารดาที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ กรณีข่าวนั้น มาจากการที่ถุงน้ำคร่ำแตกและเมื่อตรวจปากมดลูกพบภาวะสายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord) และพยาบาลในข่าวนั้นไม่ได้ทำการกดส่วนนำไว้ ทำให้มือและสายสะดือย้อยออกมาจากช่องคลอด
การเฝ้าระวังภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอดนั้น ควรให้การพยาบาลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด เริ่มจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการทดสอบน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและช่วยในการวางแผนการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากเฝ้าระวังถุงน้ำคร่ำแตกได้ทันท่วงที จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในโพรงมดลูกและป้องกันภาวะสายสะดือย้อยที่จะนำไปสู่อันตรายที่จะเกิดกับมารดาและทารกได้ ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพ สาเหตุ อาการและการรักษา เพื่อที่จะสามารถวางแผนการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม