Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ศาลสั่งจ่าย10ล้านผ่าคลอดประมาททำไฟช๊อตไหม้คนไข้ หมอ-โรงพยาบาล ร่วมชดใช้…
ศาลสั่งจ่าย10ล้านผ่าคลอดประมาททำไฟช๊อตไหม้คนไข้ หมอ-โรงพยาบาล ร่วมชดใช้
ประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาเกิดเนื่องจากขณะผ่าตัดเครื่องห้ามเลือดไฟฟ้าที่ใช้สำหรับห้ามเลือดจากแผลผ่าตัดเกิดช็อต ขัดข้อง จึงทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ที่บริเวณข้างลำตัวด้านขวาของผู้ป่วยอย่างรุนแรง และ เกิดจากความประมาทของบุคลากรทางการแพทย์
มุมมองปัจจัย 6P
1.Power แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก
2.Passage -
3.Passenger เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
4.Position -
5.
5.Phychological condition อาการซีมเศร้า จิตใจย่ำแย่
6.Physical condition -
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 1 การไหลเวียนเลือดล้มเหลวและเสียสมดุลย์ของอิเล็กโทรไลต์จากการที่มีการเคลื่อนของสารน้ำออกนอกเซลล์
ข้อมูลสนับสนุน
OD : - มีแผลไฟไหม้ระดับ 3 รอยไหม้กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร จากบริเวณราวนมด้านขวาลงไปถึงต้นขาขวา
วัตถุประสงค์
ไม่มีภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและอีเล็คโทรไลต์
เกณฑ์การประเมินผล
อุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 36.5-37.4 องศา
ผู้คลอดไม่มีอาการซึม กระสับกระส่าย
ปัสสาวะออกไม่น้อยกว่า 30 ml/hr
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอิเล็คโทรไลต์ตามแผนการรักษา
2.วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3.บันทึกสารน้ำเข้าน้ำ-ออก โดยปัสสาวะต้องออกไม่น้อยกว่า 30 cc/hr
4.ติดตามและประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น ซึม กระสับกระส่าย เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยที่ 2 :ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล
ข้อมูลสนับสนุน
OD : - ผู้คลอดมีอาการเจ็บปวดมี่แผลอย่างรุนแรง
วัตถุประสงค์
-เพื่อบรรเทาอาการปวดแผล
เกณฑ์การประเมินผล
อาการปวดแผลไฟไหม้ลดลง
ผู้คลอดมีสีหน้าสดชื่น ไม่แสดงความเจ็บปวด
การพยาบาล
1.ประเมินความปวดก่อนทำหัตถการหรือทุก 4 ชั่วโมง
2.ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนรักษา
3.เบี่ยงเบนความเจ็บปวด
4.จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ
ข้อวินิจฉัยที่ 3 : เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากผิวหนังถูกทำลาย
ข้อมูลสนับสนุน เป็นแผลที่ข้างลำตัว ผิวหนังกำพร้า หนังแท้ ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทถูกไฟไหม้
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดง คือ ปวด บวม แดง ร้อน
อุณหภูมิร่างการอยู่ในเกณฑ์ปกติ 36.5-37.5 องศา
วัตถุประสงค์ : ป้องกันการติดเชื้อ
การพยาบาล
1.สังเกตและประเมินลักษณะแผล
2.ล้างมือก่อนทำแผลและควรใส่ถุงมือปราศจากเชื้อในการทำแผล
3.ทำความสะอาดแผล
4.วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะไข้
วิเคราะห์ประเด็นคุณธรรม จริยธรรม
ด้านกฎหมาย
คดีผู้บริโภค
คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภค(ผู้ป่วย)และผู้ประกอบธุรกิจ(นายแพทย์และพยาบาล)ที่พิพาทกันตามการบริโภคสินค้าหรือบริการ
มาตรา 42 หากผู้ประกอบธุรกิจเจตนาเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรม จงใจประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำการฝ่าฝืนต่อฐานะผู้มีอาชีพศาลมีอำนาจพิพากษาสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ
ศาลได้ตัดสินให้ให้จำเลย(พยาบาล) ต้องจ่ายเงินชดใช้ให้โจทก์เป็นจำนวนเงิน 10,273,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี
คดีอาญา
คดีที่เกี่ยวกับความผิดและมีโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและ กฎหมายอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญา
จากกรณีศึกษานอกจากโจทก์(ผู้ป่วย)จะยื่นฟ้องต่อศาลกับจำเลยทั้ง 3 คน(แพทย์และพยาบาล) ซึ่งเป็นคดีผู้บริโภคและศาลได้สั่งยกฟ้องนายแพทย์ แต่ผู้ป่วยยังได้แจ้งความในคดีอาญากับโรงพยาบาลกรุงเทพและนายแพทย์อีกคดีหนึ่งในข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส
ซึ่งศาลได้พิพากษาว่าทางโรงพยาบาลและคณะแพทย์จะต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากการที่กระทำการประมาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโทษทางคดีอาญาคือโทษปรับ
ด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน
จากกรณีศึกษาผู้ป่วยยื่นฟ้องต่อศาลและชนะฟ้อง โดยศาลตัดสินให้จำเลย(พยาบาล) ต้องจ่ายเงินชดใช้ให้โจทก์เป็นจำนวนเงิน 10,273,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี
สิทธิข้อที่ 8 สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากศาล
จากกรณีศึกษาทางฝั่งของจำเลย(นายแพทย์ที่ได้ทำการผ่าคลอดให้โจทก์และพยาบาล)ทั้ง 3 คนได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเช่นกัน
สิทธิข้อที่ 10 สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย
สิทธิผู้ป่วย
จากกรณีศึกษาผู้ป่วยเป็นชาวญี่ปุ่นและไม่ได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ รู้เพียงแค่ว่าแพทย์จะทำการผ่าคลอด โดยไม่ทราบว่าเกิดข้อผิดพลาดอะไรขึ้นกับตนได้ยินแค่เสียงสะดุ้งตกใจของพยาบาล และมาทราบเองภายหลังว่าเกิดไฟไหม้บริเวณข้างลำตัว
สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ เช่น ถ้าต้องการทราบว่าตนเองเป็นโรคอะไร ต้องรักษา ด้วยวิธีไหน รักษาอย่างไร ผลการรักษา ข้อผิดพลาดในการรักษา
สิทธิเสรีภาพ
สิทธิเสรีภาพในส่วนที่ 4 กระบวนการยุติธรรม
มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม คือ สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก มีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ
จากกรณีศึกษาทั้งโจทก์และจำเลยได้ทำการยื่นฟ้องต่อศาลและยื่นอุทธรณ์เพื่อให้พิจารณาคดีของตนและศาลตัดสินอย่างยุติธรรมตามกฎหมาย
ด้านจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
พึงป้องกันภัยอันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
จากกรณีศึกษาพยาบาลยังขาดความระมัดระวังในการตรวจเครื่องมือก่อนการผ่าตัด พยาบาลควรตรวจสอบอุปกรณ์ในการผ่าตัดก่อนลงมือผ่าตัดและควรบอกรายละเอียดและผลต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัด
แนวทางแก้ไขและแนวทางการป้องกันการฟ้องร้อง
ความผิดพลาดจากการประกอบวิชาชีพซึ่งเกิดจากประมาทเลินเล่อ อาจนำมาซึ่งการฟ้องร้องได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ย่อมไม่เกิดผลดีแก่ฝ่ายใดเลย เพราะทางหนึ่งคือความสูญเสียของประชาชน อีกทางหนึ่งก็คือความเดือดร้อนของแพทย์และไม่ใช่เฉพาะแพทย์ที่ถูกฟ้องเท่านั้น แต่คือภาพพจน์ที่เสียไปของวิชาชีพแพทย์โดยส่วนรวม รวมทั้งกำลังใจ ของผู้ตั้งใจประกอบวิชาชีพด้วย การหาแนวทางทางแก้ไขและป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ความเข้าใจในลักษณะงานทางการแพทย์และสาธารณสุข
การทำความเข้าใจในความหมายของวิชาชีพแพทย์ให้ถูกต้อง จะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพดำรงตนอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา และจะทำให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่บนพื้นฐานของมนุษยธรรม
แต่ในระยะหลังนี้เองที่มีผู้ทำให้ภาพพจน์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นกระแสทางธุรกิจ มีการใช้คำว่าธุรกิจโรงพยาบาล ทำให้ผู้ที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลในราคาแพง มีความรู้สึกว่ามาโรงพยาบาลมาพบแพทย์เพื่อมาใช้บริการหรือ มาซื้อบริการมิใช่มารับความช่วยเหลือเหมือนมาโรงพยาบาลของรัฐ เมื่อบริการไม่ดีหรือผิดพลาดก็จะต้องดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
ความรับผิดชอบของแพทย์
เนื่องจากลักษณะงานเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย และชีวิตของมนุษย์ คดีที่ร้องเรียนต่อแพทยสภาและฟ้องร้องต่อศาล ส่วนหนึ่งก็มาจากการขาดความรับผิดชอบของแพทย์
นอกจากความรับผิดชอบต่องานแล้ว บทบาทของแพทย์อีกส่วนหนึ่งก็คือการสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้ป่วยการชี้แจงถึงอาการของโรค ขั้นตอนีการรักษา ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ต้องชี้แจง จะชี้แจงต่อผู้ป่วยโดยตรงหรือเพียงแต่ให้ญาติผู้ป่วยได้ทราบเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม การไม่ได้ชี้แจงอะไรเลย ไม่ว่าต่อผู้ป่วยหรือญาติ แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว ค่อยมาชี้แจง คำชี้แจงนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นคำแก้ตัวไป
สรุป
นางสาวมิคาโยะ อิโตะ เป็นโจทก์ฟ้องโรงพยาบาลกรุงเทพ นายแพทย์ธีระ วัชรปรีชานนท์ แพทย์สูตินรีเวชเรื่องละเมิดจากการบริการ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าตั้งครรภ์และไปทำคลอด แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ทำการบล็อคหลังระหว่างทำการผ่าตัดอยู่นั้นโจทก์ได้กลิ่นไหม้อย่างรุนแรงได้ยินเสียงของจำเลยร้องออกมา "ปิดแผลก่อนๆ"กระทั่งทราบภายหลังว่าเกิดเหตุไฟไหม้บริเวณข้างลำตัวด้านขวาอย่างรุนแรง ขณะผ่าตัดเครื่องห้ามเลือดไฟฟ้าช็อต ทำให้ไฟลุกลามเป็นแผลที่ข้างลำตัวผิวหนังกำพร้า หนังแท้ ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทถูกไฟไหม้เป็นแผลไฟไหม้ระดับ 3 รอยไหม้กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร จากบริเวณราวนมด้านขวาลงไปถึงต้นขาขวา [ซึ่งเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย
จากเหตุการณ์โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส ต้องไปรับทำความสะอาดแผล ต้องถูกดมยา หรือฉีดยาเพื่อให้หมดสติทุกครั้ง ส่งผลกระทบต่อความจำของโจทก์ ต่อมาวันที่ 31 มีนาคมา 2555 แพทย์ทำการผ่าตัดเข้าผิวหนังที่โคนขา จำนวน 5 แผ่น ไปปิดปากแผลบริเวณลำตัวทีเกิดจากไฟไหม้ เนื่องจากผิวหนังตายไปแล้ว เมื่อเห็นบาดแผล ทำให้โจทก์มีอาการซึมเศร้า จิตใจย่ำแย่ ต้องปรึกษาจิตแพทย์ การกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสามเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และจิตใจของโจทก์
ข้อเสนอแนะและการนำไปใช้ประโยชน์
ด้านกฏหมาย
คือใช้ตัดสินคดีเพื่อให้ได้รับความยุติธรรมตามความเท่าเทียมของกฏหมาย ทั้งโจทก์และจำเลยสามารถยื่นอุทรณ์ได้ไม่แบ่งฝ่ายทั้งพยาบาลและผู้ป่วย
ด้านจรรยาบรรณคุณธรรม
เพื่อเตือนสติพึงระลึกว่าควรใส่ใจ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามหน้าที่โดยจะสามารถปกป้องได้ทั้งผู้ป่วยและตัวพยาบาลวิชาชีพเอง ควรป้องกันอันตรายที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ที่พยาบาลควรตรวจสอบอุปกรณ์ในการผ่าตัดก่อนลงมือผ่าตัดและควรบอกรายละเอียดและผลต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัด
ข้อเสนอแนะ
ควรจัดการอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าให้กับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดทุกคน