Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รพ.สมิติเวชใช้ค่าเสียหายฐานหมอทำคลอดคนไข้ตายทั้งกลม (มุมมองจรรยาบรรณแพทย์ …
รพ.สมิติเวชใช้ค่าเสียหายฐานหมอทำคลอดคนไข้ตายทั้งกลม
มุมมองด้านศีลธรรม
แพทย์
พยาบาล
ผู้บริหารโรงพยาบาล
ปาณาติปาตา เวรมณี (สิกขาปทสมาทิยามิ)
การเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์หรือมนุษย์ด้วย แม้แต่คิดหรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว เพราะแพทย์ พยาบาล และผู้บริหารโรงพยาบาล ทำเด็กตาย
มุมมองด้านจริยธรรม
แพทย์และวิสัญญีแพทย์
ประการที่ 2 ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ด้วยความเมตตากรุณาโอบอ้อมอารี (Beneficence) มุ่งมั่นให้บังเกิดสิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ จากข่าวแพทย์ไม่ติดตามอาการผู้ป่วยขณะให้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ประการที่ 3 ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่โดยตระหนักถึงมาตรการในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตราย (Nonmaleficence) แก่ผู้ใช้บริการ จากข่าวแพทย์ ให้พยาบาลดูแลแทนโดยไม่ได้อยู่ดูแลตลอดเวลา ละทิ้งผู้ป่วย เพราะตามหลักแพทย์ต้องเฝ้าระวังอาการเมื่อผู้ป่วยได้รับยา
ประการที่ 4 ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Fedility) ต่อพันธะที่รับผิดชอบที่มี จากข่าว แพทย์ขาดความรับผิดชอบโดยละทิ้งหน้าที่ที่ตนเองต้องกระทำโดยการให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยตามลำพัง
พยาบาล
จากเนื้อหาพยาบาลไม่ได้มีการกระทำที่ผิดต่อมุมมองจริยธรรมแต่อย่างใด
ผู้บริหาร รพ.
จากเนื้อหาผู้บริหารรพ.ไม่ได้มีการกระทำที่ผิดต่อมุมมองจริยธรรมแต่อย่างใด
มุมมองปัจจัย 6P
เกิดจากปัจจัย...
Power (เเรงที่ผลักดันให้ทารกคลอดออกมา)
เจ็บครรภ์นาน,อ่อนเพลีย,เหน็ดเหนื่อย,
ได้รับยา,ผู้คลอดอายุมาก
ทำให้เกิดปัญหา
ตกเลือด
เจ็บครรภ์ยาวนาน
มดลูกแตก
fetal
Passenger (ทารกในครรภ์เเละรก)
น้ำคร่ำเเตก,เจ็บครรภ์
ทำให้เกิดปัญหา
น้ำคร่ำไหลย้อนเข้ากระเเสโลหิตเเละปอด
เกิดภาวะหายใจติดขัด
เลือดไม่สูบฉีดจนหัวใจวาย
Psychological condition (สภาพจิตสังคมของมารดา)
ทารกในครรภ์,เจ็บครรภ์
ทำให้เกิดปัญหา
อ่อนเพลีย
มารดามีภาวะซึมเศร้า
เหน็ดเหนื่อย
Physical condition(ภาวะสุขภาพร่างกายของผู้คลอด)
ผู้คลอดมีอารอ่อนเพลียเเละเหน็ดเหนื่อยเนื่องจากเจ็บครรภ์คลอด
ทำให้เกิดปัญหา
เเรงเบ่งในการคลอดไม่พอ
เกิดความกลัวเเละวิตกกังวล
ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
เกิดทัศนคติไม่ดีต่อการคลอด
มุมมองกฏหมาย : ผิดกฎหมายดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
ผู้ใดกระทำโดยประมาท เเละการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงเเก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เเละปรับไม่เกิน 200,000 บาท
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41
บทบัญญัติของมาตรา 41 มุ่งเพื่อช่วยเหลือให้ผู้รับบริการได้รับค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นในลักษณะเป็นการเยียวยา หรือบรรเทาความเดือดร้อน และในขณะเดียวกันต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ในการจะร่วมกันคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุข
เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงเเกชีวิตก็ดี เเก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นำทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดเเทน
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลเเห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
มาตรา 443 ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดเเทนได้เเก่ค่าปลงศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ไม่สามารถทำมาหาได้ ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
มุมมองจรรยาบรรณแพทย์
พยาบาล ผู้บริหารรพ.
ไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตรายผู้ป่วย
ละเลยทอดทิ้ง
แพทย์ละเลยทอดทิ้งผู้ป่วย ไม่ให้การดูแลหลังให้ยา ทำให้ผู้คลอดได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงของการใช้ยา
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อทุกคน
แพทย์ไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุด
แพทย์ให้ยาชาและไม่ได้อยู่ดูแลผู้คลอด ซึ่งผู้คลอดมีอาการแน่นหน้าอก หากแพทย์อยู่ดูอาการ ก็จะพบอาการที่เกิดขึ้นและให้การช่วยเหลือได้ทัน
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย
หลังให้ยาชา แพทย์พยาบาลดูแลผู้คลอดแทน
ซึ่งตามตำราแพทย์ระบุว่าแพทย์ต้องอยู่ดูแลตลอดเวลา
พยาบาลควรทวนถามคำสั่งแพทย์อีกครั้งเนื่องจากผู้คลอดต้องได้รับการดูแล
จากแพทย์อย่างใกล้ชิด
พยาบาลกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ คือพยาบาลไม่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
และชีวิตของผู้รับบริการ
เคารพสิทธิผู้ป่วย
สิทธิผู้ป่วย ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันที
แพทย์ละเลยการดูแลผู้คลอดไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันทำให้ผู้คลอดเสียชีวิตมีความผิดฐานละเมิดสิทธิผู้ป่วย
มีความรับผิดชอบ
แพทยสภากำหนดว่า แพทย์ต้องดูแลผู้ป่วยหลังให้ยา โดยรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
กรณีนี้แพทย์ละเลยการดูแลและไม่ได้บันทึก ติดตามอาการของผู้คลอดหลังได้รับยา
พยาบาลกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ คือพยาบาลไม่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
และชีวิตของผู้รับบริการ
หลังให้ยาแพทย์ให้พยาบาลดูแลแทนแต่เมื่อผู้คลอดส่งเสียงร้อง สามีเข้าไปดูกลับไม่พบพยาบาล
ซื่อสัตย์
ผู้บริหารโรงพยาบาล ขาดความซื่อสัตย์ โดยอ้างว่าห้องคลอดมีระบบตรวจชีพจรแบบอัตโนมัติ แต่จากคำเบิกความพยานพบว่า เครื่องดังกล่าวไม่มีจอแสดงผลตลอดเวลา หากแพทย์อยู่ดูแลในห้องคลอดก็จะสามารถเยียวยาแก้ไขดูแลผู้คลอดได้ทัน ความตายของคนทั้งสองจึงเกิดจากความละเลยของแพทย์
เสมอภาคเท่าเทียม
แพทย์และพยาบาลทำผิดจรรยาบรรณ ผู้คลอดไม่ได้รับการดูแลอย่างที่ควรจะได้หลังจากที่มีการฉีดยาซ้ำและให้พยาบาลดูแลแทนแพทย์โดยไม่ได้อยู่ดูตลอดเวลา
ยินยอม
แพทย์หรือพยาบาลอาจจะไม่ได้บอกถึงภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยาบล็อกหลัง จึงผิดจรรยาบรรณที่ว่า บุคลากรทางการแพทย์จะต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริการให้กับผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ในการตัดสินใจรักษาหรือปฏิเสธการรักษาได้ ตามหลักการยินยอมที่จะได้รับการบอกกล่าว
สิทธิ์เสรีภาพ พื้นฐาน
ข่าวที่ 1 สมิติเวช
สิทธิมนุษยชน และสิทธิขั้นพื้นฐาน
คดีนี้มีประเด็นต้องพิจารณาว่าจำเลยกระทำละเมิดหรือไม่ เห็นว่าขณะทำคลอดคณะแพทย์ให้พยาบาล ดูแลแทนโดยไม่ได้อยู่ดูแลตลอดเวลา แพทย์ต้องไม่ละทิ้งผู้ป่วยและต้องรับผิดชอบ คดีนี้ไม่ใช่เสียชีวิต 1 คน แตเป็น 2 คน แพทย์ยิ่งต้องรับผิดชอบเป็นทวีคูน ลำพังพยาบาลไม่อาจแก้ไขได้ทัน และยังทำผิดรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสิทธิมนุษยชน มีความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) คือ คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และได้รับความยุติธรรมจากรัฐ และยังมีประเด็นไม่บันทึกอาการของผู้ป่วย แสดงให้เห็นถึงความไม่รอบคอบขอลบุคลากรทางการแพทย์ ความตายของคนทั้งสองจึงเกอดจากความละเลยของจำเลย
มาตรา 4 บัญญัติว่า
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของ บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 28 บัญญัติว่า
บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิเสรีภาพ ของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถใช้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาล
หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
สิทธิผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นโดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
จากข่าวแพทย์ได้ฉีดยาและให้นอนพักเพื่อดูอาการ วันรุ่งขึ้นผู้ตายมีอาการปวดท้องและน้ำคร่ำเดิน แพทย์ได้ฉีดยาอีกครั้ง จนเช้าอีกวัน ผู้ตายส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด แพทย์และพยาบาลได้ปล่อยละเลย จนถึงแก่ความตาย
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
จากข่าวจะเห็นได้ว่าไม่มีการบันทึกอาการของผู้ป่วย ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการรักษา
สรุปปัญหาที่เกิด
ป้องกันการเกิดซ้ำ
แพทย์
เฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดหลังให้ยา ด้วยตนเอง
พยาบาล
ไม่ละเลยผู้ป่วย ติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดหลังจากหมอให้ยา
ปัจจัยด้านความรู้ ทักษะของบุคลากร
-บุคคลากรขาดความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยหลังจากให้ยา ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ว่าตัวยานั้นรุนแรงต้องคอยติดตามอาการอย่าใกล้ชิด ขาดทักษะในการดูแลผู้ป่วย ทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
-ทีมเเพทย์กับพยาบาลก็ขาดความรู้ในการประเมินอาการของผู้ป่วยในการวินิจฉัยโรค และขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือผู้ป่วยในเบื้องต้น
-ขาดทักษะในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทำให้บกพร่องในการดูแลผู้ป่วยจากการที่ขาดการสังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย
ใช้map นี้ทำรายงาน บทที่ 8 และ ใบงานวิเคราะห์กรณีศึกษาที่ ให้คะแนน 15 % ทุกกลุ่ม