Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชักจากไข้สูง (Febrile Convulsion) (สาเหตุ :star: (การติดเชื้อ (เชื้อไวรัส…
ชักจากไข้สูง (Febrile Convulsion)
สาเหตุ :star:
พันธุกรรม
ในครอบครัวเคยมีภาวะชักจากไข้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักต่อไข้มากขึ้น
การติดเชื้อ
เชื้อไวรัส
ไข้หวัดใหญ่
adenovirus
parainfluenza virus
respiratory syncytial virus
rotavirus
เชื้อแบคทีเรีย
วัคซีน
วัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก (DTP) วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) และวัคซีน
ไขหวัดใหญ่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อภาวะชักจากไข้ (Principi & Esposito, 2013)
ภาวะขาดธาตุเหล็ก
อาการ
อาการชักแบบเหม่อลอย
เด็กจะมีอาการกระตุกเฉพาะส่วนของร่างกาย
หรือทุกส่วน อาจมีพฤติกรรมเปลี่ยน
ชั่วขณะอาจมีอาการเหม่อ เรียกแล้วไม่รู้สึกตัว
อาการชักทั้งตัว
โดยเวลาชักจะมีอาการเกร็งกระตุกโดยไม่รู้ตัว และจำไม่ได้ว่าตัวเองชัก
ประเภทของการชักจากไข้สูง
1.Simple febrile seizure
มีไข้ร่วมกับมีอาการชักในเด็กอายุระหว่าง6 เดือนถึง5 ปี
การชักแบบทั้งตัว(generalized seizure)
ระยะเวลาของการชักจะเกิดช่วงสั้นไม่เกิน15นาที
ไม่มีอากรชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
ก่อนและหลังการชักไม่พบความผิดปกติทางระบบประสาท
2.Complex Febrile seizure
เด็กมีความผิดปกติทางสมอง เช่น
มีศีรษะเล็กหรือโตกว่าปกติ
ร่างกายเป็นอัมพาต
มีประวัติการเจริญเติบโตช้า
การชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว
ระยะเวลาของการชักจะเกิดนานมากว่า15นาที
เกิดการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
ข้อวินิจฉัย
1.เสี่ยงต่อภาวะเซลล์สมองถูกทำลายจากการชักนาน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินและบันทึกลักษณะการชัก ได้แก่ ระยะเวลา จำนวนครั้งหรือความถี่ของการชักทั้งหมด
2.จัดท่าผู้ป่วยตะแคงหน้าเพื่อป้องกันการสำลักเข้าทางเดินหายใจและลิ้นไม่ตกไปปิดหลอดลม
3.ดูแลดูดเสมหะออกจากปากและจมูกบ่อยๆเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
5.วัดสัญญาณชีพทุก4ชั่วโมง
6.ดูแลเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่น
7.ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
8.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
2.เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการชัก
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่าผู้ป่วยตะแคงหน้าเพื่อป้องกันการสำลักเข้าทางเดินหายใจและลิ้นไม่ตกไปปิดหลอดลม
2.จัดให้เด็กนอนราบเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทกกับพื้น
3.ไม่ควรผูกยึดตัวเด็กในขณะที่มีการชักอาจทำให้กระดูกหักได้
4.คลายเสื้อให้หลวมโดยเฉพาะรอบๆคอเพื่อให้หายใจได้สะดวก
5.การกดลิ้นเป็นสิ่งไม่จำเป็นเนื่องจากพยายามกดปากเด็กให้อ้าออกเพื่อใส่ไม้กดลิ้นอาจเป็นอันตรายได้จากฟันหักและหลุดลงไปหลอดลม
6.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
7.สังเกตและบันทึกลักษณะการชัก ลักษณะใบหน้าของการชัก ตา ระดับการรู้สติของเด็กก่อน ระหว่าง และหลังชัก พฤติกรรมที่ผิดปกติหลังจากการชัก จำนวนครั้งหรือความถี่ของการชักทั้งหมด
8.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เด็กเกิดการชักอีก
3.เสี่ยงต่อการเกิดอาการชักซ้ำจากไข้สูง
กิจกรรมการพยาบาล
1.บันทึกสัญญาณชีพทุก4ชั่วโมง ถ้ามีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้เช็ดตัว ถ้ามากว่า 38.5องศาเซลเซียส ให้เช็ดตัวลดไข้(tepid sponge) ภายหลังการเช็ดตัวครึ่งชั่วโมงให้วัดซ้ำ ถ้ายังสูงกว่า38.5องศาเซลเซียส ให้ยาตามแผนการรักษา
2.ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดหากมีอาการชักให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
3.สังเกตและบันทึกลักษณะการชัก ลักษณะใบหน้าของการชัก ตา ระดับการรู้สติของเด็กก่อน ระหว่าง และหลังชัก พฤติกรรมที่ผิดปกติหลังจากการชัก จำนวนครั้งหรือความถี่ของการชักทั้งหมด
4.ดูแลให้เด็กนอนหลับพักผ่อนภายหลังจากมีอาการชักและไม่ปลุกรบกวนเด็กโดยไม่จำเป็น
4.ญาติวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าในการดูแลผู้ป่วย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ความสามารถของบิดามารดาและญาติเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการช่วยเหลือ สอน และชี้แนะที่เหมาะสม
2.รับฟังและชี้แนะวิธีเผชิญความเครียดหรือแก้ปัญหาต่างๆจากแหล่งสนับสนุนและความสามารถของแต่ละบุคล
3.เปิดโอกาสให้บิดามารดาและญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กขณะรักษาในโรงพยาบาลโดยอาจจะสอนหรือให้คำชี้แนะดังต่อไปนี้
3.1ลดไข้ทันทีที่พบเด็กมีไข้เพราะเด็กอาจจะชักได้เพราะเด็กมีประวัดการชัก
3.2วิธีช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายเมื่อเด็กมีอาการชัก
3.3บันทึกลักษณะอาการชักและอาการหลังชัก
3.4รับประทานยาต่อเนื่องตามแผนการรักษา
พยาธิ
การมีไข้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเซลล์ประสาทสมอง ไข้มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถจะทำให้เกิด ทำให้เซลล์ประสาทนั้นไวต่อการที่จะเกิดการชักมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุและการเจริญของสมองด้วย สมองที่เจริญเต็มที่มากขึ้นจะมีเปลี่ยนแปลงของเมตะบอลิซึม
หลังจากที่เกิดไข้น้อยลงโอกาสที่จะเกิดอาการชักน้อยลง