Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลในยุคต่างๆ และพัฒนาการทางการพยาบาล…
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลในยุคต่างๆ
และพัฒนาการทางการพยาบาล
ประวัติการพยาบาลในต่างประเทศ
ต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา
จากการอพยพประชาชนจากยุโรปทำให้มีผู้คนหลากหลาย ส่งผลต่อการพัฒนาพยาบาลที่เกิดความก้าวหน้า โดยเฉพาะการศึกษา
จีน
ชำนาญการจับชีพจรเพื่อการวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคมี 4 ขั้นตอน การดู การฟัง การถาม การสัมผัส
ค้นคว้าพืชพันธุ์ไม้สำหรับทายา
กรีก
• ด้านการพยาบาล พยาบาลจะดูแลปู้ป่วย โดยการเช็ดตัว จัดหาเครื่องดื่มและอาหาร อาบน้ำให้ผู้ป่วย ซึ่งจะทำงานเหล่านี้ตามคำสั่งแพทย์
• อริสโตเติลและนักปราชญ์ร่วมสมัยได้สร้างระบบที่ศึกษาจากการปฏิบัติมากขึ้น โดยใช้พื้นฐานการเรียนรู้จากการชำแหละสัตว์
• Hippocrates เป็นผู้ริเริ่มการแพทย์แผนใหม่
• เชื่อว่าเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโรคและเป็นผู้รักษาโรค การรักษาทำโดย พระใช้วิธีสวดมนต์ภาวนา บีบนวด
โรม
ชาวโรมันนำวิทยาการต่างๆจากกรีกมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ใช้หมอ พระ และการรักษาตามแนวทางของ Hippocrates
อียิปต์
พระมีบทบาทในการทำพิธีรักษา
มีศัลยแพทย์ ชื่อ Impotep เป็นผู้เรียนรู้กายวิภาค โดยการชำแหละร่างกาย รู้จักวิธีเย็บแผล ประดิษฐ์เฝือก
เชื่อว่าวิญญาณจะกลับเข้าร่างเดิมได้ ถ้าร่างกายคนตายไม่เน่าเปื่อย ชาวอียิปต์ใช้วิธีการอาบน้ำศพ พันผ้า ห่อศพเก็บไว้ในปิรามิด
อาณาจักรบาบิโลน (อิรัก)
ใช้พิธีกรรมประกอบเวทมนต์ พิธีบูชายัญ ให้วิญญาณร้ายออกจากร่างมนุษย์ไปสู่สัตว์และต้องฆ่าสัตว์ จึงจะหายป่วย
นำผู้ป่วยมาวางไว้ที่ชุมชน เมื่อคนผ่านไปมาเห็นอาการป่วย ถ้าตนเองเคยรักษาหายจะแนะนำหรือช่วยรักษา
อินเดีย
มีคัมภีร์พระเวทที่กล่าวถึงการรักษาทางอายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ การพันผ้า
การใช้ยาพิษและวิธีแก้ยาพิษ โรคทางประสาท โรคจิต โรคเด็ก
โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ การอนามัยตลอดทั้งการป้องกันโรค
ผู้เป็นแพทย์จะต้องตัดผมและตัดเล็บให้สั้น สวมเสื้อขาว และต้องอาบน้ำทุกวัน
ต้องไม่นำสิ่งที่ตนทราบมาจากผู้ป่วยไปเปิดเผย
เผายาที่มีกลิ่นหอมหวานในห้องผ่าตัด เพื่อไล่ปีศาจไม่ให้เข้าใกล้แผล
ในประเทศ
สมัยสุโขทัย
-พิธีเสียกบาล หินบด ใช้ยาสมุนไพร ยาพื้นบ้าน รักษาตามความเชื่อ
-จากศิลาจารึกหลักที่1และไตรภูมิพระร่วงพบการเจ็บป่วยคือ ปวดท้อง ท้องอืด เป็นไข้ ปวดศีรษะ การคลอดบุตร
•สมัยอยุธยา
-สมัยพระนารายณ์มหาราช มีการติดต่อกับชาวต่างชาติได้แก่ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย
-มิชชั่นนารี ซินแส หมอทางไสยศาสตร์เวทมนต์
•สมัยรัตนโกสินทร์
-พ.ศ.2325-2367 สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี การรักษายังเป็นแบบโบราณ
ร.2โปรดเกล้าฯให้สืบเสาะคัมภีร์แพทย์ จดตำราจารึกเป็นตำรายาหมอนวดไว้บนแผ่นหินฝังไว้ตามเสาระเบียงพระวิหารวัดพระพุทธไสยาสน์
-พ.ศ.2367-2394 มีนักสอนศาสนาอเมริกันและคณะเพรสไบทีเรียน เข้ามาเผยแพร่ศาสนาและนำความรู้ด้านการแพทย์
-พ.ศ.2394-2411 ร.4มีสถานที่ตรวจรักษาหลายแห่ง ทำการรักษาโดยคณะมิชชั่นนารี
-พ.ศ.2411-2454 ร.5อหิวาตกโรคระบาดจึงโปรดเกล้าฯตั้งโรงพยาบาลและล้มเลิกไปเมื่อหมดระบาด
-พ.ศ.2431โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงพยาบาลถาวรที่ตำบลวังหลังพระราชทานนามว่าโรงพยาบาลศิริราช
-พ.ศ.2436เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเรื่องเเดนฝั่งโขงเกิด สภาอุณาโลมแดง
-พ.ศ.2439สมเด็จพระศรีพัชรินทราบบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯให้กระทรวงธรรมการจัดตั้ง
โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช
-พ.ศ.2449สร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
-พ.ศ.2467สร้างโรงพยาบาลแมคคอมมิค เชียงใหม่
•สงครามโลกครั้งที่2
-พ.ศ.2482-2486การพัฒนาก้าวหน้าของพยาบาลชะงัก พยาบาลทำงานหนักไม่มีเวลาในการพัฒนาวิชาชีพ
-นับจาก พ.ศ.2486มีการพัฒนาพยาบาลมากขึ้น มีการช่วยเหลือจากต่างประเทศ
https://youtu.be/qrTEsAyFp0s
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ มีชื่อเมื่อแรกก่อตั้งว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ซึ่งบ่งบอกว่าในขณะนั้นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศมีเฉพาะสตรีเท่านั้น สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม แม้จะได้รับการปรับเปลี่ยนชื่อตามชื่อประเทศซึ่งเปลี่ยนจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งมิได้จำกัดผู้เข้าเรียนพยาบาลเป็นเฉพาะสตรีเท่านั้น คำว่า “นางพยาบาล” จึงเหลือเพียง “พยาบาล” อย่างไรก็ดี “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาคมสตรีแห่งแรกที่ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศนี้ คือได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
คณะผู้ก่อตั้งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมฯ และได้เลือกหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ เป็นนายกสมาคมพระองค์แรก
การจดทะเบียนสมาคมฯ ตามกฎหมาย
หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์
องค์นายกสมาคม ทรงทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2469 ขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมโดยทรงขอให้เริ่มจดในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันขึ้นศกใหม่ของพุทธศักราช 2470 แต่วันจดทะเบียนตั้งสมาคมฯ มิได้เป็นไปตามที่ทรงขอไว้
สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้รับการจดทะเบียนลำดับที่ จ 67 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ได้มีการรับรองกรรมการชุดแรกของสมาคมในการประชุม ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (สำเนาทะเบียนสมาคม หน้า 14)
คำขวัญวิชาชีพการพยาบาลไทย
“สุขภาพท่าน...เราห่วงใย”
“Your Health….We Care”
วิชาชีพการพยาบาล
การประกอบอาชีพการพยาบาลด้วยการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมด้านสุขภาพเพื่อให้บุคคล ครอบครัวและชุมชนมีสุขภาพที่ดีด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคช่วยเหลือแพทย์ในการรักษาและฟื้นฟูสภาพโดยอาศัยความรู้เฉพาะทางการพยาบาล และผ่านการอบรมจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากองค์กรแห่งวิชาชีพมีอิสระในการทำงาน และมีความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพรวมทั้งมีค่านิยมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ แห่งตนจนได้รับการยอมรับและยกย่องจากสังคม
หน้าที่รับผิดชอบหลัก
การดูแลให้ความสุขสบาย (care and comfort) ด้วยการช่วยเหลือบุคคลให้สามารถจัดการกับปัญหาทางสุขภาพและการเจ็บป่วย (health illness continuum) ได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของพยาบาลจึงมุ่งที่จะค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล เพื่อให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล(assessment and diagnosis) ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของผู้มารับบริการ
ให้คำแนะนำและสอนด้านสุขภาพ (heath teaching) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพอันดีและส่งเสริมผลการรักษา โดยพยาบาลมุ่งนั้นด้านการดูแลตนเอง (self care) และการส่งเสริมสนับสนุนของสมาชิกในครอบครัวและชุมชนของผู้มารับบริการ
ให้คำปรึกษา (counsellig) ด้านสุขภาพอนามัยทั้งในภาวะปกติ ขณะที่มีภาวะกดดัน อันเป็นเหตุให้สุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ และยามเจ็บป่วย ตลอดจนในการฟื้นฟูสภาพ
ให้การดูแลด้านสรีรจิตสังคม (physiopsychosocial intervention) โดยการใช้วิธีการพยาบาล
ภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ
ภาพลักษณ์ค้ำจุนคุณธรรม จริยธรรม สะท้อนภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ คือ เป็นผู้มี ความรับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ เคารพในความแตกต่างของบุคคล ไม่แสวงหา ประโยชน์จากหน้าที่การงาน ตระหนักถึงคุณค่าของคนและเพื่อนมนุษย์มองโลกในแง่ดี เมตตาและเอื้ออาทร ประนี่ประนอมรู้จักให้อภัย ประพฤติตนถูกด้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ดีงาม
ภาพลักษณ์ค้านวิชาการ สะท้อนภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ คือ เป็นผู้มีการศึกษาสูงใน ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีความรู้ให้คำปรึกษาที่ดีในทางสุขภาพ สามารถวิเคราะห์ ข้อมูลได้ถูกต้องตามหลักการและสถานการณ์ที่เป็นจริง ให้ประโยชน์ในการบูรณาการความรู้ในทีมสุขภาพ
ภาพลักษณ์ด้านความเป็นมืออาชีพ สะท้อนภาพลักษณ์ชาบาลวิชาชีพคือ ใช้ความรู้ ในศาสตร์ทางการพยาบาลได้อย่างลึกซึ้งมีทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาที่ปฏิบัติงาน รวมทั้ง รู้เท่าทันความเจริญก้าวหน้าในสังคม รอบรู้ศาสตร์อื่นๆ นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่าง เหมาะสม ขวนขวายแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ สร้างเครือข่ายในการทำงาน ได้อย่างกว้างขวาง
ภาพลักษณ์ดันการสื่อสาร สะท้อนภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ คือ เป็นผู้สื่อสารอย่าง สร้างสรรค์ โน้มน้าวจูงใจให้เกิดความร่วมมือได้เป็นอย่างดีมีมธุรสวาจา เป็นทั้งผู้ฟังและผู้ถ่ายทอด ที่ดีโดยการเขียน การพูด และสามารถคิดต่อสื่อสารด้วยกิริยาท่าทาง การสัมผัสได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสื่อสารได้ อย่างน้อย 2 ภาษา
ภาพลักษณ์ค้นลักษณะวิชาชีพ สะท้อนภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ คือ เป็นผู้รักเพื่อน มนุษย์ ร่วมทุกข์ ปลอบใจ ให้กำลังใจ ช่วยเหลือ และพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการ รวมทั้งเป็นที่พึ่งผู้ช่วยชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นครูผู้สอนให้ความรู้ความ้าใจ เป็นแบบอข่างที่ดี ใน ภาพของการจัดกสารยังมีลักษณะเป็นแม่บ้าน จัดการของใช้และสถานที่
ภาพลักษณ์ค้นบุคลิกภพ สะท้อนภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ คือ ภาพของ "นางฟ้าสีขาว" มีรูปร่างสมส่วน รักความสะอาดเรียบร้อย เป็นคนอบอุ่นให้ความเป็นกันเอง มีมารยา นุ่มนวล ปฏิบัติคนถูกต้องตามกาลเทศะ มีพลังในตนอง เป็นสง่า กระดับกระคง เข้มแข็ง ขณะเดียวกัน เป็นผู้อารมณ์ขันสดชื่น มีชีวิตชีวา
คุณสมบัติของพยาบาล
มีความอดทนและกล้าตัดสินใจ
มีความรักในเพื่อนมนุษย์
ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย
มีจิตใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์
มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตร์
ประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล
ด้านการบริการพยาบาล
•ปัญหาสุขภาพด้านการดูแลตนเองโดยการศึกษาข้อมูลจากข่าวสารต่างๆที่อาจไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค
•หาวิธีการสอนการคัดกรองข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงเทคโนโลยี
ด้านการศึกษา
•คนที่มีความสามารถด้านภาษาเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น
•ควรพัฒนาตนเองในการใช้ภาษสื่อสาร
ด้านการพยาบาล
•โลกสังคมออนไลน์ ลักษณะส่วนใหญ่จะเป็นสังคมก้มหน้ามากกว่าการคุยสื่อสารกัน
•ต้องมีการปรับตัวและหาแนวทางในการดึงศักยภาพของพยาบาลรุ่นใหม่พัฒนางานในวิชาชีพพยาบาล
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทัศนศึกษา
ข้าพเจ้าได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการพยาบาลและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
ข้าพเจ้าได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
ข้าพเจ้าได้ทราบถึงประวัติของ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
วิวัฒนาการและพัฒนาการทางการพยาบาล
สำหรับการพยาบาลในประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบันก็คือคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้การบริการในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลทุกรัฐบาลได้ให้ความคุ้มครองและสนับสนุนการบริการทางการพยาบาลตลอดมาโดยได้มีการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของการพยาบาลตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อช่วยให้ความสุขและความปลอดภัยแก่ชีวิตของประชาชนด้วยการปฎิบัติการของพยาบาลทุกคนร่วมกันในปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล 2 ระดับที่รับผิดชอบในการพยาบาลทั่วประเทศระดับที่ 1 ได้แก่พยาบาลวิชาชีพ ระดับที่ 2 ได้แก่พยาบาลเทคนิค
และยังมีเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลอื่นได้แก่ผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานผู้ช่วยที่ช่วยทำงานกาสาธารณสุขมูลฐาน
ดังนั้นการพยาบาลในปัจจุบันเป็นการพยาบาลเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน
4.ด้านการทำวิจัยทางการพยาบาล
•ให้ความสำคัญกับการฝึกทักษะการทำงานวิจัย