Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทย (่๑…
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทย
่๑.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ลักษณะทั่วไปของทฤษฎีนี้คือ จะศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้หรือวัดได้เท่านั้นซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
บีเอฟ สกินเนอร์
การวางเงื่อนไขการกระทำ ทดลองกับสัตว์ในห้องทดลอง คือ หนูขาว สรุปได้ว่า หนูขาวเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อต้องการอาหารจะต้องแตะคานแต่เมื่อรู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้หลายๆครั้งทำให้หนูขาวใช้ระยะเวลาในการตอบสนองน้อยลง
การประยุกต์สู่การจัดการเรียนการสอน
การกระทำใดๆเมื่อได้รับแรงเสริมมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก
การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าเดิม
ธอร์นไดร์ส
การเชื่อมโยง การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งอาจเกิดจากการลองผิดลองถูก มีดังนีั
๓. กฎแห่งความพร้อม คือ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
๔. กฎแห่งการฝึกหัด การฝึกให้ทำบ่อยๆ
๒. กฎแห่งการใช้ การเรียนรู้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความคงทนในการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อนำไปใช้บ่อยๆ
๑. กฎแห่งความพึงพอใจ การได้รับผลที่พึงพอใจเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
การประยุกต์สู่การเรียนการสอน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลองผิดลองถูก จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา
การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมให้ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน
ให้ผู้เรียนฝึกการกระทำสิ่งนั้นบ่อยๆแต่ควรระวังไม่ให้ซ้ำซาก
ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนนำทักษะในการเรียนรู้ไปใช้บ่อยๆ
ให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนเองพึงพอใจจะช่วยให้การเรียนประสบความสำเร็จ เช่น รางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจ
อีวาล พาฟลอฟ
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง โดยธรรมชาติสุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่พาฟลอฟ
ได้นำผงเนื้อบดมาเป็นสิ่งเร้าโดยธรรมชาติ ทำให้สุนัขนำ้ลายไหลได้
สรุปได้ว่า การเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่งผงเนื้อบดและพฤติกรรมน้ำลายไหล
พาฟลอฟจึงสรุปได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
การประยุกต์สู่การจัดการเรียนการสอน
นำความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้า
อาจใช้วิธีเสนอสิ่งที่จะสอนไปพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ผู้เรียนชอบตามธรรมชาติ
การนำเรื่องที่เคยสอนไปแล้วมาสอนใหม่
การจัดกิจกรรมให้ต่อเรื่องและมีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เพราะมีการถ่ายโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
นำเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอน
๒. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
บรูเนอร์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา บรูเนอร์เชื่่อว่ามนุษย์รับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจาการค้นพบด้วยตนเอง
๑. การเรียนรู้จากการลงมือกระทำ คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ
๒. ขั้นการเรียนรู้จาการคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ เรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
๓. ขั้นการเรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามธรรม เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและนามธรรมได้
การประยุกต์สู่การเรียนการสอน
จัดการเรียนรุ้ให้สอดคล้องพัฒนาการทางสติปัญญาและความพร้อมของผู้เรียน
คำนึงถึงพัฒนาการและประสบการณ์ของผู้เรียนต้องปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามารถในการคิดหรือการเรียนรู้ และสอดคล้องกับสภาพจริง
เนื้อหาวิชามีความต่อเนื่อง มีความยากง่าย ซับซ้อนตามความสามารถของผู้เรียน
เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
ออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน
ให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มตามความเหมาะสม
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระพร้อมเหตุผลที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
สร้างแรงจูงใจที่ดีในการเรียนและสร้างบรรยากาศในการเรียนให้ดี
ต้องสอนให้ผู้เรียนมีมโนทัศน์ รู้จักกฎและหลักการพร้อมเหตุผลโดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นนามธรรม
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง
ออซูเบล
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รวมหรือเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ซึ่งอาจจะเป็นความคิดรวบยอดหรือความรู้ที่ได้รับใหม่ในโครงสร้างทางสติปัญญากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนอยู่แล้ว
การรับอย่างมีความหมาย
การรับแบบท่องจำหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง
การค้นพบอย่างมีความหมาย
การค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด แบบนกแก้วนกขุนทอง
การประยุกต์สู่การเรียนการสอน
สิ่งทีเรียนต้องมึความหมายมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนหรือเก็บไว้ในโครงสร้างของปัญญา
ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์และมีความคิดเชื่อมโยงความรู้เดิมกับสิ่งที่เรียนใหม่
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
เกสตัสท์
ทฤษฎีการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการนำสิ่งเร้าต่างๆมารวมกัน ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงเน้นกระบวนการคิดโดยเสนอภาพรวมก่อนเสนอส่วนย่อย
๒.๒ การหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือการแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที กล่าวคือ สามารถมองเห็นขั้นตอน กระบวนการ และความสัมพันธ์ของเหตุการณ์
๒.๑ การรับรู้ การที่ใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโอนเข้าสู่สมอง นำไปสู่กระบวนการคิด สมองจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งนั้น
การประยุกต์สู่การเรียนการสอน
เน้นความหมายที่ได้มาจากบริบทที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
ฝึกให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่เรียนไปแล้วกับความรู้ใหม่
มีการสรุปในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นภาพรวมของเรื่องที่เรียน
เน้นให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าการเรียนแบบท่องจำ ใช้สื่อที่ชัดเจนประกอบและต้องเรียนด้วยการปฏิบัติจริงหรือผู้เรียนได้ลงมือกระทำ
ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
ให้ผู้เรียนมองเห็นโครงสร้างทั้งหมดของเรื่องที่จะสอนเพื่อให้เข้าใจภาพรวามก่อนจึงเรียนเรื่องย่อยๆ
๓. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม
มาสโลว์
โคมส์
โรเจอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ ความต้องการของมนุษย์จะเป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆ
พีระมิดแสดงลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
การประยุกต์สู่การเรียนการสอน
การเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้
การที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เขาต้องการเสียก่อน
ในการเรียนการสอนหารครูทราบได้ว่าผู้เรียนมีความต้องการในระดับใดหรือขั้นใด ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจได้
ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๔. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม
วิก็อตสกี้
เพียเจย์
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำและสร้างความรุ้
ผู้เรียนจะสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้สิ่งใหม่กับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมมึความสำคัญต่อการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึง กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
การประยุกต์สู่การเรียนการจัดการเรียนการสอน
เน้นที่กระบวนการสร้างความรู้ หรือเป้าหมายการเรียนรู้จะต้องมาจากการปฏิบัติงานจริง
เป้าหมายของการเรียนการสอนจะเปลี่ยนจากการสอนที่เป็นความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไปสู่กระบวนการสาธิตหรือการสร้างความหมายที่หลากหลาย การเรียนรู้ทักษะต่างๆจะต้องมีประสิทธิภาพถึงขั้นทำได้และแก้ปัญหาได้
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างตื่นตัวหรือผู้เรียนเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูล ประสบการณ์ต่างๆ สร้างความหมายด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นซิ่งกันและกัน
พยายามให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ผู้สอนต้องลดบทบาทตัวเองลง