Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ (กลุ่มจิตวิทยาเพื่อความเข้าใ…
บทที่ 1
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
ความหมายของพฤติกรรม
พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง ทุก ๆ สิ่งที่บุคคลทำซึ่งสามารถสังเกตได้โดยตรง หรืออยู่ ในกระบวนการทางจิตใจ ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และแรงขับ ซึ่งเป็นประสบการณ์ภายในของแต่ ละบุคคลที่ไม่สามารถจะสังเกตได้โดยตรง
ประเภทของพฤติกรรม
เกณฑ์การมองเห็นโดยทั่วไป
พฤติกรรมโมลาร์ (Molar Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่มีหน่วยใหญ่ สามารถสังเกตได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย
พฤติกรรมโมเลกุลาร์ (Molecular Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่มี หน่วยเล็ก ต้องอาศัยเครื่องมือ เพราะ ไม่สามารถสังเกตหรือรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสธรรมดา
พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) หมายถึง การกระทำที่สามารถสังเกตหรือสัมผัสได้โดยตรงด้วยอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์
พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) หมายถึง การกระทำที่รับรู้ไม่ได้ ด้วยอวัยวะรับสัมผัสแต่เป็นความในใจเท่านั้นที่เจ้าตัวรู้
พฤติกรรมภายในที่เกิดขึ้นโดยรู้สึกตัว (Conscious Process) เกิดขึ้น โดยผู้ที่เป็นเจ้าของพฤติกรรมรู้สึกตัวว่ากำลังเกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
พฤติกรรมภายในที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว (Unconscious Process) เป็นพฤติกรมที่เกิดขึ้นภายในโดยที่เจ้าของพฤติกรรมไม่รู้สึกตัว
เกณฑ์ตามหลักของการเรียนรู้
พฤติกรรมที่เกิดโดยธรรมชาติ หมายถึง พฤติกรมที่มนุษย์ทุกคนสามารถ กระทำได้เช่นเดียวกันตามสัญชาติญาณ มนุษย์สามารถเกิดพฤติกรรมนั้นขึ้นมาได้ด้วยตนเอง ไม่ ต้องผ่านประสบการณ์หรือการฝึกฝน
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ หมายถึง พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับแต่งจากการได้รับประสบการณ์และการฝึกฝน
องค์ประกอบของพฤติกรรม
ความรู้สึก (Affection)
การสัมผัส (Sensation) เป็นความรู้สึกต่อปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิด จากการทำงานของอวัยวะรับสัมผัสทั้งภายนอกและภายใน สัมผัสจะไม่นำไปสู่ความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจ
อารมณ์ (Emotion) หมายถึง ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจที่เกิดจาก
ความคิดของบุคคลต่อสภาวะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
อารมณ์เชิงบวก เป็นความรู้สึกพอใจและนำไปสู่การกระทำที่สร้างสรรค์ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั่วไป
อารมณ์เชิงลบ เป็นความรู้สึกไม่พอใจ
นำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสม
อารมณ์เชิงลบที่เหมาะสม เป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ แต่เป็นประโยชน์ช่วยให้เราตื่นตัวต่อเหตุการณ์ที่อาจจะกลายเป็นปัญหา
อารมณ์เชิงลบที่ไม่เหมาะสม เป็นอารมณ์ที่นอกจากไม่น่าพอใจ แล้วยังเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดโทษด้วย
การกระทำ (Behavior or Action)
การกระทำเชิงบวก ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และ มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะกระทำเชิงบวกให้มากขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตน
การกระทำเชิงลบ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นประโยชน์ มนุษย์ต้อง หยุดยั้ง เลิกและปรับปรุงการกระทำนั้น หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตนไปในทางที่ ต้องการ มักจะอยู่ในรูปแบบของพฤติกรรมเสี่ยงทางจิตวิทยา
การคิด (Cognition)
ความคิดเชิงบวก เป็นความคิดที่ก่อให้เกิดประโยชน์
เพิ่มกำลังใจและ แรงจูงใจให้ตนเอง
ความคิดเชิงลบ เป็นความคิดที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก
ทำให้แรงจูงใจ ลดลง และเป็นต้นเหตุให้เกิดเรื่องเชิงลบอื่น ๆ ตามมา ทำให้บุคคลไม่สามารถมองความจริงในชีวิตได้ชัดเจน
จนไม่สามารถพัฒนาตนเองได้
การศึกษาพฤติกรรม
เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม
เพื่อการอธิบาย (Describe) ช่วยให้สามารถอธิบายถึงปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
เพื่อการทำนาย (Predict) ช่วยให้สามารถคาดคะเน ทำนายถึง พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ในอนาคตที่น่าจะเกิดขึ้น
เพื่อการเข้าใจ (Understanding) ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมว่า เกิดขึ้นด้วยเหตุผลใด จากการกระตุ้นหรือแรงจูงใจใด ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจในบุคคลอื่น ๆ และตนเอง
เพื่อการควบคุม (Influence) ช่วยให้เราสร้างการชักนำควบคุม พฤติกรรมของส่วนบุคคลและสังคม ให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์หรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ ต้องการ
ความสำคัญของการศึกษาพฤติกรรม
ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง
ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจผู้อื่น
ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยบรรเทาปัญหาสังคม
ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิต
วิธีการศึกษาพฤติกรรม
ตั้งคำถามและกำหนดปัญหา (Research questions)
ตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)
รวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐาน (Hypothesis testing)
วิเคราะห์ข้อมูล (Evidence data)
สรุปผล (Conclusion)
วิธีการรวบรวมข้อมูล
การทดลอง (Experimental Method)
สำรวจ (Survey Method)
วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง (Introspection Method)
การสังเกตอย่างมีระบบ (Systematic Observation)
การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
การสัมภาษณ์
การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing)
กลุ่มจิตวิทยาเพื่อความเข้าใจ
เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาโครงสร้างนิยม (Structuralism)
ผู้นำกลุ่ม คือ วิลเฮล์ม วุนด์ท เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบคือ
กายกับจิต ทั้งสองส่วนทำงานสัมพันธ์กัน มุ่งศึกษาองค์ประกอบและการทำงานของจิต ประกอบด้วย การรับสัมผัส ความรู้สึก และจินตนาการ มาสัมพันธ์กันภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสม
แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาหน้าที่นิยม (Functionalism)
ผู้นำกลุ่มคือ จอห์น ดิวอี้ และ วิลเลี่ยม เจมส์ ศึกษาการทำงานของจิตว่ามีหน้าที่อย่างไร และมีกระบวนการ อย่างไร ที่จะส่งผลต่อการแสดงออกของบุคคล เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของ มนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะ “เรียนรู้จากการกระทำ”
แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ผู้นำกลุ่ม คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ช่วยให้เห็นความผิดปกติของพฤติกรรม ช่วยให้ระวังตัวเองมิให้จิตของตน ผิดปกติ
จิตของมนุษย์ มี 3 ระดับ
จิตสำนึก จิตกึ่งรู้สำนึก จิตไร้สำนึก
องค์ประกอบของจิต แบ่งเป็น 3 ส่วน
อิด (id) : ความต้องการของมนุษย์
อีโก้ (ego) : บุคลิกภาพของบุคคล
ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) : เป็นหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ผู้นำกลุ่ม คือ จอห์น บี วัตสัน เน้นศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้อย่างชัดเจน หรือสิ่งที่แสดงออก เชื่อว่า “พฤติกรรมเกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า และการตอบสนอง”ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนา และปรับพฤติกรรมของบุคคล เน้นที่การให้รางวัลและการลงโทษ
แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยามนุษยนิยม (Humanism)
ผู้นำกลุ่ม คือ คาร์ล อาร์ โรเจอร์เน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้ เสรีภาพในการคิด มองตนในด้านบวก ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้ เต็มที่ สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ท าให้มองคนอื่นในแง่บวก ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ให้แก่ผู้อื่นและสังคม
แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
ผู้นำกลุ่ม คือ แมกซ์ เวอไทลเมอร์ และวูลฟ์กัง โคฮ์เลอร์ เชื่อว่า พฤติกรรม เกิดจาก คุณสมบัติโดย ส่วนรวมของบุคคล แยกศึกษาที่ละส่วนไม่ได้ ศึกษาพฤติกรรม จากกระบวนรับรู้และการคิดใน สมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม ให้ความสำคัญกับ การรับรู้และการหยั่งเห็น