Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำหนดนโยบาย PLC เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในสถานศึกษา (แนวทางสำหรับครู…
การกำหนดนโยบาย PLC เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในสถานศึกษา
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ PLC
องค์ประกอบของ PLC
วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)
การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ (Learning and professional development)
ชุมชนกัลยาณมิตร (Caring communities)
ทีมร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative teamwork)
ภาวะผู้นำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC’s leadership)
การเรียนรู้ของผู้เรียน (Student learning)
โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive structure)
ความเป็นมาของ PLC
เกิดจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่โรงเรียนแห่งการเรียนรู้
สรุปนโยบาย PLC ในสถานศึกษา
ส่งเสริมให้ครูที่พบปัญหาของผู้เรียนในลักษณะเดียวกันเป็นสมาชิกร่วมกระบวนการ PLC เดียวกัน
กำหนดหน้าที่ของสมาชิกในการร่วมวงสนทนา PLC ทุกครั้ง
ผู้บริหารส่งเสริม ให้กำลังใจ แนะแนวทาง แก่คณะครู อย่างจริงจัง เพื่อให้กระบวนการ PLC ประสบความสำเร็จ
ปรับระยะเวลาทำPLCให้เหมาะสม
แนวทางสำหรับครู
แนวทางสำหรับผู้บริหาร
กระตุ้นให้ครูทำงาน ไม่ใช่กระตุ้นให้ครูทำ PLC
ผลกระทบ
ครูมีทัศนคติต่อ PLC ดีขึ้น ไม่เกิดการต่อต้าน (+)
ครูรู้สึกว่าการทำงานของตน มีผู้บริหารรับรู้ (+)
ไม่ชี้นำ/กำหนดประเด็นในการทำ PLC ของครู ควรเปิดโอกาสให้ครูได้ร่วมกันคิดประเด็นในการทำ PLC เอง
ผลกระทบ
ครูรู้สึกไม่ถูกกดดัน มีอิสระในการคิด ได้ประเด็นที่เป็นสภาพปัญหาจริง (+)
อาจไม่ได้ประเด็นการพัฒนานักเรียนในมุมมองที่ผู้บริหารต้องการ (-)
สร้างวัฒนธรรมของการช่วยเหลือแบ่งปัน มากกว่าการแข่งขัน เปรียบเทียบ
ผลกระทบ
ไม่เกิดการอิจฉาระหว่างครูในโรงเรียน (+)
บางครั้ง ครูอาจไม่เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานหากไม่มีการแข่งขัน (-)
ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา/แก้ปัญหา (+)
มองว่าการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นความรับผิดชอบที่ครูทุกคนควรมีร่วมกัน
ผลกระทบ
ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในงานสอนของครู (+)
เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง (+)
ครูไทยบางคนยังติดรูปแบบของการทำงานคนเดียว ไม่ชอบการทำงานเป็นทีม (-)
ให้ความสำคัญกับ PLC เปรียบเหมือนการเตรียมแผนการสอนที่ครูทุกคนต้องทำอยู่แล้ว
ผลกระทบ
ครูได้ทำ PLC และแผนการสอนเป็นงานเดียวกัน (+)
ภาระในการทำงานของครูไม่ทวีคูณขึ้นจากเดิม (+)
ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างครูนอกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือระหว่างโรงเรียน เพื่อให้เกิดแนวคิด ความเข้าใจในการทำ PLC มากขึ้น
ผลกระทบ
การศึกษาดูงานนอกโรงเรียน จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ (-)
การศึกษาดูงานนอกโรงเรียน ทำให้ครูได้เปิดประสบการณ์ มองเห็นรูปแบบการทำ PLC ที่หลากหลาย นำมาปรับใช้กับ PLC ในโรงเรียนของตนได้ (+)
การเรียนรู้นอกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ขาดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ไม่ค่อยยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (-)
ความแตกต่างของเนื้อหาวิชาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทำให้บางครั้งไม่สามารถนำจุดเด่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมาปรับใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนเองได้ (-)
พัฒนารูปแบบการทำเอกสารร่องรอยของ PLC ให้ง่ายในการจดบันทึก
ผลกระทบ
ครูมองว่าจดบันทึกง่าย ไม่ยากในการทำ น่าสนใจที่จะทำ (+)
รูปแบบการจดบันทึกแบบง่าย แต่ไม่สอดคล้องกับการต้องนำข้อมูลไปกรอกใน Logbook ส่งผลให้ครูต้องทำงานซ้ำซ้อนหลายขั้นตอน (-)
นำชั่วโมง PLC ไว้ในตารางสอนของครู เป็นคาบ(50-60 นาที) ซึ่งเวลาไม่นานมาก โดยถือว่าเป็นหนึ่งภาระงานที่เปรียบเหมือนการสอนในหนึ่งคาบนั้นๆ หมดคาบต้องมีการบันทึกว่าได้ทำอะไรบ้าง แทนการนำคาบ PLC ไว้คาบสุดท้ายหลังเลิกเรียน
ผลกระทบ
ครูมองว่าเวลาไม่นานมาก ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการทำ (+)
เสียเวลาในการจัดตารางสอนเพื่อนำไปเป็นคาบสอนนักเรียนของครู (-)
ครูไม่เกิดความเหนื่อยเมื่อยล้า หลังจากที่ได้สอนมาทั้งวัน เกิดไอเดียแนวคิดที่สร้างสรรค์เหมาะสมเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ง่าย (+)
เกิดปัญหาในเรื่องการจัดคาบว่างของครูให้ตรงกัน (-)
มุมมองสมาชิกที่มีต่อ PLC ในปัจจุบัน
มุมมองเชิงลบ (-)
ครู
เอาเวลาพูดคุยกัน ไปตรวจงานหรือเตรียมสอน น่าจะเกิดประโยชน์กว่า
ไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เน้นเอกสาร ไม่เน้นการลงมือปฏิบัติ
ไม่เข้าใจ ยาก วุ่นวาย
สร้างภาระงานที่เพิ่มขึ้น
เน้นแต่ PLC เรื่องการเรียนของนักเรียน แต่ความจริงแล้วการทำงานสนับสนุนอื่นๆ ควรมีการ PLC เช่นกัน และควรนับเป็นชั่วโมง PLC ได้ เพราะเกิดประโยชน์กับโรงเรียนเช่นกัน
ผู้บริหาร
สร้างภาระงานเพิ่มขึ้น
มุมมองเชิงบวก (+)
ครู
เกิดความรู้สึกดีต่อเพื่อนร่วมงาน เกิดการช่วยเหลือ แบ่งปัน แนะนำ
มีทีมช่วยแนะนำในการจัดการเรียนรู้ในหัวข้อที่ยังไม่ประสบความสำเร็จด้านเทคนิควิธีการและผลการเรียนของนักเรียน
ผู้บริหาร
แก้ปัญหาครูไม่ค่อยพูดคุยกัน
สถานศึกษาได้นักเรียนที่มีคุณภาพ คุณภาพการศึกษาดี
เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนครู แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อสถานศึกษา
แนวทางการนำ PLC ลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา และการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้าน