Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson) (ขั้นที่ 1 อายุ 1-2 ขวบ ไว้ใจ…
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)
ขั้นที่ 1 อายุ 1-2 ขวบ ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ (Trust vs Mistrust)
ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่
ขั้นที่ 2 อายุ 2-3 ขวบเป็นอิสระหรือละอายสงสัย (Autonomous vs Shame and Doubt)
ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเอง และสำรวจโลกรอบๆตัว ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
ขั้นที่ 3 อายุ 4-5 ขวบ คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด (Initiative vs Guilt)
เด็กจะชอบเล่นและเรียนรู้บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเองลดความรู้สึกผิดลงได้
ขั้นที่ 4 อายุ 6-11 ขวบ ขยัน หรือมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย
คือ ทฤษฏีพัฒนาการทางจิตวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์ มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน โดยเน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดีจะส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้น
ขั้นที่ 5 อายุ 11-18 ปี เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(Ego Identity vs Role Confusion)
เริ่มสนใจเรื่องเพศ เข้าไปผูกพันกับสังคมและต้องการตำแหน่งทางสังคม ความรู้สึกเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจอัตลักษณะของตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร มีความเชื่ออย่างไร และตนเองเป็นใคร หากไม่สามารถรวบรวมประสบการณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง
ขั้นที่ 6 อายุ 20-35 ปี ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง (Intimacy vs Isolation)
เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ สร้างหลักฐาน มีความรัก ความผูกพัน
ขั้นที่ 8 อายุ 45 ขึ้นไป มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง (Ego Integrity vs Despair)
เป็นวัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีตถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ
ขั้นที่ 7 อายุ 36-45 ปี ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง (Generativity vs Stagnation)
ระยะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคน มีครอบครัวมีบุตร ได้ทำหน้าที่ของพ่อแม่
ปัญหาเกี่ยวกับทฤษฎี
รู้สึกท้อแท้หมดหวัง วิตกกังวลเกี่ยวกับอดีตที่ไม่ดีงามและการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของตนเอง
คำแนะนำ :
ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนได้ทำประโยชน์ให้สังคมอย่างเต็มที่แล้ว ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีความพอใจในชีวิตที่ผ่านมา รู้จักหาความสุข ความสงบในจิตใจ เช่น ทำบุญ สวดมนต์ ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เพื่อยอมรับสภาพความเป็นจริง ยอมรับความเป็นอยู่ของตนเองในปัจจุบันและไม่รู้สึกเสียใจหรือเสียดายเวลาที่ผ่านมา กับประสบการณ์ชีวิตในอดีตของตนเอง
อ้างอิง
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์.(2553).ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ.กรุงเทพฯ:บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
ยิวยิว นักเรียนคอม.(2559).ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต- สังคม อีริคสัน.[เว็บบล็อก ].สืบค้นจาก
http://cs.udru.ac.th/58100145224/?p=45
นันทวัช สิทธิรักษ์.(บรรณาธิการ).(2558).จิตเวชศิริราช DSM-5.กรุงเทพฯ:ประยูรสาสน์ไทย การพิมพ์