Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cervical Cancer (อาการและอาการแสดง (ไม่มีอาการแสดงสตรีที่เริ่มมีการเปลี่ย…
Cervical Cancer
อาการและอาการแสดง
ไม่มีอาการแสดงสตรีที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผิวปากมดลูกซึ่งจัดอยู่ในระยะก่อนลุกลาม (CIN) จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆแต่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงได้จากการตรวจภายในและการทำ Pap smear
3.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรืออาการตกเลือด
อาการเจ็บปวดพบในระยะท้ายๆของโรค
อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย เช่น อ่อนเพลีย ซีด ผอมแห้ง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย ต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า (supra clavicular node) โตคลำได้ก้อน ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด
2.อาการตกขาว
ระยะลุกลามมีอาการตกขาวเป็นเมือกใสหรือเป็นน้ำไหลออกทางช่องคลอดซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของเซลล์ที่มีการอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
ระยะสุดท้ายของโรคเยื่อบุปากมดลูกจะเกิดแผลเกิดการติดเชื้อตกขาวผิดปกติร่วมกับการเน่าตายของเซลล์และมีกลนการเน่าตายของเซลล์และมีกลิ่นเหม็นเน่า
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะซีดเนื่องจากมีเลือดออกทางช่องคลอดจากการเป็นมะเร็งที่ปากมดลูกระยะ 4B
2 มีอาการปวดบริเวณปากมดลูกเนื่องจากมีมะเร็งปากมดลูกระยะ 4B
3 มีแผลกดทับเนื่องจากการเคลื่อนไหวของร่างกายน้อยจากการกดทับของก้อนมะเร็งที่ประสาทไขสันหลัง
4 มีโอกาสเกิดการขาดสารอาหารเนื่องจากมีอาการเบื่ออาหาร
5 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากผลข้างเคียงจากการได้รับรังสีรักษา
การวินิจฉัยโรค
การตรวจภายใน หากพบก้อนที่ผิดปกติ แพทย์จะตัดนำชิ้นเนื้อไปเพื่อตรวจยืนยัน
การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ Pap smear เป็นการตรวจภายในร่วมกับการเก็บเซลล์ที่มะเร็งปกมดลูกไปตรวจพยาธิวิทยา
การตรวจด้วยกล้องขยาย ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยา
การตรวจอื่นๆ ได้แก่ การขูดภายในปากมดลูก การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปกมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด
ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะไม่ลุกลามหรือลุกลามเฉพาะปากมดลูก
ระยะที่ 2 ระยะลุกลามเฉพาะที่ อาจลุกลามมาที่ช่องคลอดส่วนบน เนื้อเยื่อรอบปากมดลูก ตัวมดลูก
ระยะที่ 3 ระยะลุกลามเฉพาะที่ อาจลุกลามมาที่ช่องคลอดส่วนล่าง หรือเนื้อเยื่อผนังอุ้งเชิงกราน
ระยะลุกลาม
การรักษา
ระยะที่ 1 รักษาโดยการผ่าตัด
ระยะที่ 2 และ 3 รังสีรักษา
ระยะที่ 4 ให้ยาเคมีบำบัด
พยาธิสรีรวิทยา
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเยื่อบุผิวปากมดลูก โดยจะเกิดขึ้นบริเวณ Stormation Zone (T Zone) หรือ squamocolumnar junction ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง squamous epithelium กับ columnar epithelium ที่อยู่โดยรอบ external os ของปากมดลูก
การแพร่กระจายของมะเร็งปากมดลูก
การลุกลามโดยตรง (Direct invasion) เป็นการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงเช่นลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างปากมดลูกและ parametrium ลุกลามลงไปที่ผนังช่องคลอดหรือขึ้น ไปยังโพรงมดลูกและกล้ามเนื้อมดลูกในกรณีที่ลกลามไปทางด้านหน้าเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเกตรูทะลุระหว่างช่องคลอดกบกระเพาะปัสสาวะ (vesico-vaginal fistula) ทำให้ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดหากลุกลามไปที่ท่อไตจะทำ ให้เกิดภาวะไตวาย (renal failure) และภาวะ uremia ถ้าลุกลามไปทางด้านหลังเข้าสู่ลำไส้ตรง (rectum)เกิดทะลุที่ผนังกั้นระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก (recto-vaginal fistula) ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดได้
2.การแพร่กระจายทางหลอดน้ำเหลือง (Lymphatic spreading) เริ่มแรกจะมีการแพร่กระจายไปตามหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองใน parametrium ก่อนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองกลุ่มอื่น ๆเช่น pelvic lymph nodes หรือ paraaortic lymph nodesหากตรวจพบการแพร่กระจายไปที่ pelvic lymph nodes ในขณะผ่าตัดจำเป็นต้องเลาะ paraaortic lymph nodes ออกด้วยการแพร่กระจายชนิดนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะแรกๆอัตราการแพร่กระจายจะเพิ่มขึ้นตามระยะของโรคและชนิดของเซลล์เช่นเซลล์มะเร็งชนิด keratinizing มีการแพร่กระจายได้เร็วกว่าชนิด nonkeratinizing
การแพร่กระจายไปทางหลอดเลือด (Hematogenous spreading) มักพบในระยะท้ายๆเมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามออกนอกเชิงกรานการแพร่กระจายชนิดนี้มักพบร่วมกับการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองด้วยการพยากรณ์โรคจึงไม่ค่อยดีตำแหน่งที่ 1 เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปทางหลอดเลือดได้มากที่สุดคือปอดทั้งนี้อาจมีการแพร่กระจายไปที่ ตับ กระดูก ลำไส้ ไต ม้าม เยื่อบุช่องท้องรังไข่และท่อนำไข่ซึ่งพบไม่มากนัก
ปัจจัยเสี่ยง
ฝ่ายหญิง
การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงจะเพิ่มตามจำนวนคู่นอน
การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
สูบบุหรี่
มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ เริม ซิฟิลิส
การมีบุตรหลายคน
ฝ่ายชาย
ผู้ชายเป็นมะเร็งองคชาตหรือเคยมีภรรยาที่เคยเป็นมะเร็งปากมดลูก
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปบพิโลมา(Human Papilloma Virus) บริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก
เชื้อไวรัสเอชพีวีที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk HPV) ได้แก่ HPV 6, 11, 42-44, 53-55, 62 และ 70
เชื้อไวรัสเอชพีวีที่มีความเสี่ยงสูง (high risk HPV) ได้แก่ HPV 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66 และ 68-73
่
์