Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nephrotic Syndrome (ปัญหาการพยาบาล (มีไข้เนื่องจากมีการติดเชื้อจากภูมิต้าน…
Nephrotic Syndrome
ความหมาย
โรคไตเนฟโฟรติค เป็นกลุ่มอาการของโรค ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้โกลเมอรูลาร์เกิดความเสียหาย เป็นผลให้มีโปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะเป็นจำนวนมาก
ลักษณะเด่นของโรคไตเนฟโฟรติคมี 4 อย่าง
มีโปรตีนในปัสสาวะมาก (Protinuria) มากกว่า 3.5 กรัม/วัน
อัลบูมินในเลือดตํ่า (Hypoalbuminuria)
บวม (Edema)
ไขมันในหลอดเลือดสูง (Hypercholesterolemia)
พยาธิวิทยา
เมื่อมีโปรตีนรั่วออกไปในปัสสาวะจำนวนมาก ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์อัลบูมินได้เร็วพอ จึงเกิดภาวะอัลบูมินในเลือดตํ่าลง เป็นผลให้แรงดึงดูดนํ้าในพลาสมาตํ่าลง จึงทำให้น้ำในหลอดเลือดออกไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อ เกิดอาการบวมการที่มีน้ำออกจากหลอดเลือดมีผลทำให้จำนวนพลาสมาลดลง ร่างกายจะต้องปรับตัวให้อยู่ในภาวะปกติ โดยการกระตุ้นระบบเรนิน-แอนจิโอแทนซิน-อัลโดสเตอโรน-แอนติไดยูเรติคฮอร์โมนผลก็คือมีการดูดซึมโซเดียมกลับมาที่หลอดเลือดฝอยของไตส่วนปลายมากขึ้น
ในขณะเดียวกันผลของแรงดึงดูดของพลาสมาลดลง จะกระตุ้นให้มีการสร้างไลโปโปรตีนจากตับมากขึ้น ทำให้มีโคเลสโตรอลและไตรกลีเซอรไรด์สูง ทำให้มีไข้มากในปัสสาวะ ขณะเดียวกันพบมีคาสท์ไขมัน ปนอยู่ในปัสสาวะด้วย
การวินิจฉัย
1.ปวดท้อง
2.ผลทางพยาธิวิทยาพบ leukocytoclastic vasculitis IgA deposit หรือ proliferative glomerulonephritis ที่มี IgA deposit
ปวดข้อหรือข้ออักเสบ
อาการทางไต ได้แก่ Proteinuria> 0. 3 กรัม/ 24 ชั่วโมง,พบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะมากกว่า 5 เซลล์ / high power field
สาเหตุ
ทฤษฎี
หน่วยไตอักเสบเรื้องรัง
เกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ได้แก่
2.1 โรคของเนื้อเยื่อคอนเนคตีฟ เช่น เอสเอลอี (SLE) รูมาติค อาร์ไธรตีส (Rheumatic arthritis)
2.2 โรคที่เกิดกับหลายระบบของร่างกาย เช่น หลอดเลือดแดงหลายหลอดอักเสบ (Polyarteritis)
2.3 โรคติดเชื้อมักเกิดตามหลังต่อมทอนซิลอักเสบ 1-4 สัปดาห์ (โดยเฉลี่ย 10-14วัน) หรือพบในเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ขวบ ที่เป็นแผลพุพอง หรือฝีตามตัว
2.4 จากแบคทีเรีย เช่น โรคเรื้อน
2.5 จากปาราสิต เช่น มาลาเรีย
2.6 จากไวรัส เช่น ตับอักเสบจากไวรัสบี
2.7 โรคทางเมตาบอลิซึม เช่น เบาหวาน
2.8 เนื้องอก เช่น เนื้องอกของต่อมนํ้าเหลือง
กรณีศึกษา
ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
อาการบวมบางครั้งบวมมากทั้งตัวจนมีนํ้าในเยื่อหุ้มปอดและในช่องท้อง
อาการซีด อาการซีดจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าไตเสียหน้าที่มากน้อยเพียงใด
อาการทางติดเชื้อ เช่น เป็นฝีพุพองตามบริเวณผิวหนังและที่อื่นๆ
อาการเบื่ออาหารคลื่นไส้ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางรายพบว่าทำงานได้ตามปกติ
ในสตรีพบว่าประจำเดือนขาดหายไป อาจปวดท้องมากขณะมีประจำเดือน
ความดันโลหิตอาจสูงหรือตํ่าได้
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการบวม Face: pitting edema +1
เป็นอาการสำคัญที่จะสังเกตเห็นได้ และต่อมามีบวมตามตัว ข้อเท้า ท้องบวม บางครั้งบวมมากทั้งตัวจนมีนํ้าในเยื่อหุ้มปอดและในช่องท้อง
มีอาการซีด อาการซีดมาก จากไตเสียหน้าที่ในการทำงานมาก และเป็นเวลานาน
ความดันโลหิตอาจสูงได้
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
การติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ ปอดบวม การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) และการติดเชื้อที่ผิวหนัง (Cellulitis) จากการอับชื้นบริการอวัยวะสืบพันธุ์ในรายที่บวมมาก ๆ
ภาวะทุพโภชนาการพบในรายที่มีการสูญเสียโปรตีนในปริมาณที่มากและเป็นเวลานานเด็กจะเจริญเติบโตไม่สมวัย
ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยสเตียรอยด์และยากดปฏิกิริยาทางอิมมูนในปริมาณที่สูงและระยะเวลานานจะส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) เกิดขึ้นเนื่องจากการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ลดลงซึ่งเป็นผลมาจากอัลบูมินที่ต่ำในเลือด
ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
ภาระไตวายจะเกิดในรายที่มีการกำเริบของโรคบ่อยครั้งหรือในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
กรณีศึกษา
Pneumonia, ผล CXR พบ Pleural effusion และผล CT Scan พบ
1.infection such as lung abscess with multiloculated pleural collections or fungal infection
2.Lung mass with pleural metastasis (but less likely)
Pneumonia
ความหมาย
ปอดอักเสบหรือปอดบวม (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจสวนล่างที่มีการอักเสบของเนื้อปอดบริเวณ terminal & respiratory bronchioles และ alveoli อาการและอาการแสดง ไข้ ไอ หายใจเร็ว อาการหายใจเร็วเป็นอาการแสดงที่พบได้เร็วที่สุดและมีความแม่นยำสูงในการช่วยวินิจฉัยโรคปอดบวมตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) การหายใจเร็วคือ ≥ 30 ครั้ง / นาทีในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี
ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการหอบหายใจลำบากเขียวมี chest retractions, nasal flaring และอาการอื่นๆของภาวะหายใจวาย (respiratory failure)
ฟังปอดได้ยินเสียง fine to medium crepitations อาจได้ยินเสียง rhonchi ร่วมด้วยหรือได้ยินเสียง bronchial breath sound ถ้ามีพยาธิสภาพเป็นแบบ consolidation
พยาธิวิทยา
โรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักเกิดภายหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มีการทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ มีอาการบวมมีการสร้างเสมหะมากผิดปกติ ผนังถุงลมบวมหนาตัวขึ้นและมีการแทรกซึมด้วยกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดการเน่าสลายของผนังหลอดลมและถุงลมผลที่ตามมาทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจและส่งผลให้การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง
ระยะเลือดคั่ง (congestion) มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดขนาดต่างๆมีสารน้ำเข้าไปในถุงลม
ระยะปอดแข็งสีแดง (consolidation หรือ red hepatization) ลักษณะกลีบปอดที่ติดเชื้อจะแข็งสีแดงอิฐคล้ายเนื้อตับเนื้อปอดแน่นทึบฟังเสียงหายใจได้ยินเสียง bronchial breath Sound หรือ tubular sound
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
ไข้ไอหายใจเร็วร่วมกับฟังปอดได้ยินเสียง crepitations หรือ bronchial breath sounds
กรณีที่ไม่ได้ยินเสียงหายใจผิดปกติจะวินิจฉัยโรคได้จากอาการแสดงคือไข้ไอหายใจเร็วร่วมกับการถ่ายภาพรังสีปอด
กรณีศึกษา
วันที่ 19 /12/62 ผู้ป่วย admit ที่รพ.พุทธชินราช ด้วยไข้ ไอแห้ง มีอากรหายใจเร็ว
ผู้ป่วยอายุ 7 ปี หายใจเร็ว อัตราการหายใจ 38 ครั้ง/นาที
ผล CXR วันที่ 02 /01/63 increase echogenicity at LUL ddx. Consolidation (พยาธิสภาพเนื้อปอดแข็ง) ผล x-rays พบพยาธิสภาพที่ Left lung upper lobe
ฟังปอดแล้วได้ยินเสียง decrease Breath sound left side lung
สาเหตุ
ทฤษฎี
มีความผิดปกติด้านกายวิภาพเช่นมีรูรั่วระหว่างหลอดลมคอและหลอดอาหารเป็นต้น
มีปัญหาเกี่ยวกับโรคปอดเช่นโรคหอบหืด, Cystic fibrosis, bronchopulmonary dysplasia เป็นต้น
โรคที่มีเลือดไหลเวียนมาบอดผิดปกติเช่นโรคหัวใจที่มีรูรั้วระหว่างผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและขวาทั้งห้องบนและล่าง (arterial septal defect or ventricular septal defect) เป็นต้น
เกิดการสำลักง่ายจากโรค gastroesophageal reflux
โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดของปอดบวม
มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาททำให้มีการคั่งของเสมหะเนื่องจากไม่สามารถขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจได้
กรณีศึกษา
วันที่ 02/01/63 ผล CXR พบ left upper lobe infiltration
พบ Pleural effusion at left lung
มีภาวะ hypoalbuminemia มีโปรตีนต่ำ จึงทำให้ไม่มีตัวดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือดทำให้น้ำรั่วออกจากหลอดเลือดแล้วไปที่ช่องว่างระหว่างเซลล์ของร่างกาย เช่น ทำให้เกิด pulmonary edema ปอดบวมน้ำ
การรักษา
ทฤษฎี
ให้สารน้ำให้เพียงพอแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมากท้องอืดกินอาหารไม่ได้
พิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและงดอาหารทางปาก
ให้ออกซิเจนพิจารณาให้ในรายที่มีอาการเขียวหายใจเร็วหอบชายโครงปุ่มกระวนกระวายหรือซึม
ให้ยาขยายหลอดลมในรายที่ได้ยินเสียง wheeze หรือ rhonchi และมีการตอบสนองดีต่อยาขยายหลอดลม
พิจารณาให้ยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่หรือในรายที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม
พิจารณาทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อช่วยให้เสมหะถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้นในรายที่ไม่สามารถไอได้อย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่อาการหนักอาจให้เพียงการสั่นสะเทือนบริเวณทรวงอก (vibration) และดูดเสมหะก็จะช่วยระบายเสมหะที่คั่งค้างในหลอดลมออกมาได้
กรณีศึกษา
Bactrim syrup 5 ml bid pc (ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์) ยาปฏิชีวนะ
Meropenem 760 mg iv ทุก 8 ชั่วโมง (120 mkday)
Amikin 240 mg + 5%DW upto 29 ml vein drip in 30 min ทุก 24 ชั่วโมง
ผู้ป่วย on oxygen cannula 2 LPM keep spo2 ≥ 95%
ได้รับยาพ่นขยายหลอดลม seretide evohaler (25/50) 1 puff ทุก เช้า-เย็น
Pleural Effusion
ความหมาย
การที่มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดมากกว่าปกติทำให้ความจุและปริมาตรปอดลดลงมีผลต่อการทำงานของระบบหายใจ
ชนิด Pleural effusion
ทฤษฎี
Transudates มีลักษณะใสสีเหลืองมีปริมาณโปรตีนต่ำเกิดจากการ Oncotic และ hydrostatic pressure ตัวอย่างโรคที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ หัวใจล้มเหลว, nephrotic syndrome, โรคที่มีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำหรือเกิดจากการมีของเหลวในช่องท้องปริมาณมาก ได้แก่ ascites, การทำ peritoneal dialysis และ obstructive uropathy เป็นต้น
Exudates อาจมีลักษณะใส ขุ่น และมีสีได้ต่างๆกันแต่ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อคือ
ระดับโปรตีนใน pleural fluid ต่อชีรัม > 0. 5
ระดับ LDH ใน pleural fluid ต่อชีรัม > 0. 6
ระดับ LDH สูงกว่า 2/3 ของระดับสูงสุดของค่าปกติในซีรัม (>200 U/L)
ระดับ cholesterol > 55 มก/ดล.
กรณีศึกษา
ผล Chest x-ray พบ Pleural effusion at left lung ทำให้มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดมากกว่าปกติ เป็น Transudate
พบการรั่วของโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ 2+
พบค่าอัลบูมินในเลือดต่ำ 1.7 g/dl (3.5-5.2 g/dL)
ผู้ป่วยมีภาวะบวม (edema)
ผู้ป่วยมีไขมันในหลอดเลือดสูง
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ผลการตรวจ cholesterol 376 mg/dL (ค่าปกติน้อยกว่า 200 mg/dL)
วันที่ 5 มกราคม 2563 ผลการตรวจ cholesterol ได้ 253 mg/dL (ค่าปกติน้อยกว่า 200 mg/dL)
แนวทางการวินิจฉัย
ทฤษฎี
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพรังสีปอดในท่านอนจะเห็นเงาฝ้าขาวในปอดที่มีพยาธิสภาพ ถ้ามีปริมาณมากอาจเห็น pleural stripe ซึ่งแสดงถึงของเหลวที่อยู่ระหว่างประและผนังทรวงอก ในท่า upright จะพบ blunt costophrenic angle
CT scan อาจจำเป็นในบางรายที่สงสัยพยาธิสภาพในเนื้อปอดหรือบริเวณ mediastinum
กรณีศึกษา
ผล CXR พบ Pleural effusion at left lung ทำให้มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดมากกว่าปกติ
ผล CT Scan พบ
1.infection such as lung abscess with multiloculated pleural collections or fungal infection
2.Lung mass with pleural metastasis (but less likely)
มีภาวะทุพโภชนาการ โดยคำนวณน้ำหนักของเด็กจากอายุ ซึ่งเด็กอายุ7 ปี ควรมีน้ำหนัก 22 กิโลกรัม แต่ผู้ป่วยหนัก 20 กิโลกรัม (มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) และคำนวณส่วนสูงของเด็กจากอายุ ซึ่งเด็กอายุ 7 ปี ควรมีส่วนสูง 119 เซนติเมตร แต่ผู้ป่วยสูง 104 เซนติเมตร (ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์)
ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ (Prednisolone,Endoxan) เป็นยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ ค่า ANC = 760 ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
การรักษา
ทฤษฎี
อาหาร ให้อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ขาว นม เนื้อ ฯลฯ ให้มากๆ งดอาหารเค็ม เพื่อลดอาการบวม
ยาให้ยาขับปัสสาวะ เช่น ลาซิกซ์ วันละ 1-2 เม็ด และสเตอรอยด์ (เพร็ดนิโซโลน วันละ 16-24 เม็ด หรือขนาดวันละ 1-2 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับการรักษา
20% Albumin 50 ml IV drip
in 4 hr prn ให้อัลบูมิน 20 เปอร์เซ็นต์ขนาด 50 มิลลิลิตรทางหลอดเลือดดำ ใน 4 ชั่วโมงเมื่อจำเป็น
Lasix 15 mg หลังให้ abumin 2 hr
ให้ยาขับปัสสาวะขาด 15 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำ หลังให้อัลบูมิน 2 ชั่วโมง
รับประทานอาหารอ่อน
หลักการพยาบาล
ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ
ป้องกันหรือควบคุมอาการบวม
4.ป้องกันHypovolemiaและHypokalemia
ลดการสูญเสียพลังงานลดการทำงานของหัวใจและลดอาการ Dyspnea
เสริมสร้างภาวะโภชนาการและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
ประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
เตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับบ้าน
2 ป้องกันการแตกของผิวหนัง
ปัญหาการพยาบาล
มีไข้เนื่องจากมีการติดเชื้อจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการแลกเปลี่ยนของก๊าชลดลงจากน้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอด
มีภาวะบวมเนื่องจากอัลบูมินในเลือดต่ำจากการทำงานของไตลดลง
ญาติวิตกกังวลเนื่องจากความเจ็บป่วยของเด็ก