Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา Intellectual Disability (อาการ (Mild ระดับเล็กน้อย…
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
Intellectual Disability
ความหมายของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disabilities: ID) หรือภาวะความผิดปกติของพัฒนาการทางสติปัญญา (intellectual developmental disorders) หมายถึงภาวะที่บุคคลมีความบกพร่องของความสามารถทางสติปัญญาในเรื่องการให้เหตุผลการแก้ไขปัญหาการวางแผนการคิด การตัดสินใจการศึกษาและการเรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งความบกพร่องต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมลดลงทำให้ไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้โดยลำพังและมีความบกพร่องอย่างน้อย 1 ด้านในเรื่องต่างๆที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันและการอยู่ร่วมกันในสังคม
การวินิจฉัย
ภาวะ ID ใช้ทั้งการประเมินทางคลินิคร่วมกับการวัดระดับสติปัญญาเเละความสามารถในการปรับตัวเเละการใช้DSM-5 ในการวินิจฉัยประกอบด้วย 3 เกณฑ์หลัก ดังนี้
Criteria A. มีความบกพร่องของสติปัญญา (deficits in intellectual functions) เช่นการให้เหตุผล การแก้ไขปัญหา การวางแผนการคิดแบบนามธรรม การตัดสินใจ การศึกษาเล่าเรียน การเรียนรู้จากประสบการณ์และความเข้าใจที่นำไปสู่การปฏิบัติ
Criteria B. มีความบกพร่องของการปรับตัว (deficits in adaptive functioning) ส่งผลให้บุคคลนั้นมีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมกับวัยและมาตราฐานทางสังคมและวัฒนธรรมในเรื่องการดูแลช่วยเหลือตนเองและการที่ต้องรับผิดชอบเรื่องต่างๆทางสังคมหากไม่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนอย่างต่อเนื่องการที่มีความบกพร่องของการปรับตัวจะทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไปเช่นการสื่อสาร การมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆเเละการดูเเลช่วยเหลือโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นเช่น ที่บ้าน โรงเรียน ที่ทำงานหรือชุมชน
Criteria C.ความบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัวเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในระยะพัฒนาการ (developmental period) นั่นก็คือวัยเด็กเเละวัยรุ่น
อาการ
Mild ระดับเล็กน้อย
ด้านการรู้คิด
เด็กวัยก่อนเรียนจะสังเกตเห็นความผิดปกตินี้ได้ไม่ชัดเจน
เด็กวัยเรียนเเละผู้ใหญ่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา เวลา การเงิน
ด้านสังคม
ไม่มีวุฒิภาวะเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การติดต่อสื่อสาร การสนทนา การใช้ภาษาที่ไม่ซับซ้อน ไม่ค่อยเข้าใจความเสี่ยงในสถานการณ์ทางสังคม การตัดสินใจไม่เหมาะสมกับวัยเเละเสี่ยงต่อการถูกหลอก
ด้านการประพฤติปฏิบัติ สามารถดูแลความสะอาดของตนเองได้ เหมาะสมตามวัย ต้องการความช่วยเหลือบ้างสำหรับบางเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ในการดำรงชีวิตวัยผู้ใหญ่สามารถทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะเกี่ยวกับความคิดเชิงนามธรรม
ระดับปานกลาง Moderate
ด้านการรู้คิด ทักษะทางการคิดรวบยอดด้อยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ในการดำรงชิวิตประจำวันต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ด้านสังคม มีความแตกต่างอย่างชัดเจนของพฤติกรรมทางสังคมและการติดต่อสื่อสารตลอดช่วงพัฒนาการภาษาพูดเป็นเครื่องมืออันดับแรกที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางสังคม แต่มีความซับซ้อนน้อยกว่าเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกัน มีข้อจำกัดในการตัดสินใจทางสังคม มีข้อจำกัดในการสื่อสารเเละสัมพันธภาพกับเพื่อน
ด้านการประพฤติปฏิบัติ เป็นผู้ใหญ่สามารถดูแลตนเองได้ เช่นการรับประทานอาหาร การเเต่งตัว การขับถ่าย สามารถพัฒนาทักษะต่างๆในการพักผ่อนหย่อนใจ มีพฤติกรรมที่ไม่สามารถปรับตัวต่อสิ่งเเวดล้อมถึงเเม้จะเกิดขึ้นไม่มากนัก
ระดับรุนเเรง severe
ด้านการรู้คิด มีทักษะต่างๆในการคิดรวบยอด มีความเข้าใจน้อยในเรื่องภาษาเขียน ผู้ดูเเลต้องใช้ความสามารถในการสนับสนุนในการเเก้ปัญหาทุกเรื่องในชีวิต
ด้านสังคม ภาษาพูดมีข้อจำกัดในแง่ของคำศัพท์และไวยากรณ์ คำพูดและการติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องที่เกิดในปัจจุบันโดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสารทางสังคมมากกว่าการอธิบายเรื่องราวต่างๆอย่างละเอียด สามารถเข้าใจคำพูดที่ง่ายๆและท่าทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ด้านประพฤติปฏิบัติ ต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำการขับถ่ายการแต่งตัวการรับประทานอาหาร การเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะในด้านต่างๆนั้นต้องใช้ระยะเวลานานๆและต้องสอนอย่าง
ระดับรุนเเรงมาก profound
ด้านการรู้คิด ทักษะการคิดจะเป็นลักษณะรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้มากกว่ากระบวนการต่างๆ มักจะใช้วัตถุต่างๆเป็นแรงจูงใจให้บุคคลนั้นดูแลความสะอาดของร่างกายทำงานและพักผ่อนหย่อนใจ
ด้านสังคม มีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ส่วนใหญ่มักแสดงความต้องการของตนเองและแสดงอารมณ์โดยการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดและไม่ใช่เชิงสัญลักษณ์ มีความพึงพอใจในสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวที่มีความใกล้ชิดด้วยผู้ดูแลและคนอื่นๆที่คุ้นเคย