Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บกพร่องทางสติปัญญา Intellectual Disabilities (ลักษณะอาการและระดับความรุน…
บกพร่องทางสติปัญญา Intellectual Disabilities
ความหมาย
เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญคือมี intelligence quotient (IQ) ประมาณหรือต่ำกว่า 70 โดยต้องเริ่มมีอาการก่อนอายุ 18 ปีร่วมกับมีความสามารถในการปรับตัวบกพร่องอย่างน้อย 2 ด้าน
การสื่อความหมาย (Communication)
การดูแลตนเอง (Self-care)
การดำรงชีวิตในบ้าน (Home Living)
ทักษะทางสังคม (Social / Interpersonal Skills)
ทักษะในการเรียน (Functional Academic Skills)
การรู้จักใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources)
การทำงาน (Work)
การใช้เวลาว่าง (Leisure)
การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety)
การควบคุมตนเอง (Self-direction)
ลักษณะอาการและระดับความรุนแรง
ระดับน้อย (Mild Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 50-70 อาจไม่แสดง อาการล่าช้าจนกระทั่งวัยเข้าเรียน ไม่มีอาการแสดงทางร่างกาย ทางบุคลิกภาพ
ยกเว้นกลุ่มอาการที่มีลักษณะพิเศษทางรูปร่างหน้าตา ปรากฏให้เห็น ก็จะทําให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือในวัยทารก อาทิ กลุ่มอาการดาวน์
เด็กในกลุ่มนี้ สามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม และการสื่อความหมายได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่มัก มีความบกพร่องด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สามารถเรียนรู้ได้(educable) ทักษะทางวิชาการมักเป็นปัญหาสำคัญที่พบในวัยเรียน
สามารถฝึกทักษะด้านสังคมและอาชีพ พอที่จะเลี้ ยงตัวเองได้ เป็ นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ
หรือกึ่งใช้ฝีมือ แต่อาจต้องการคําแนะนํา และการช่วยเหลือบ้างเมื่อประสบความเครียด
ระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 35-50 ในช่วงขวบปีแรก มักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวปกติ แต่พัฒนาการด้านภาษาและด้านการพูดจะล่าช้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยเตาะแตะ การศึกษา หลังจากระดับชั้นประถมต้น มักไม่ค่อยพัฒนา
สามารถฝึกอบรมได้ (trainable) ในทักษะการช่วยเหลือ ดูแลตนเอง
ระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 20-35 มักจะพบทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ด้านภาษา พัฒนาเล็กน้อย ทักษะการสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี พอจะฝึกฝนทักษะการดูแลตนเองเบื้องต้นได้บ้างแต่น้อยดำรงชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเต็มที่ การทำงาน ต้องการโปรแกรมในชุมชน หรือการให้ความช่วยเหลือที่พิเศษเป็นการเฉพาะ
ระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation)
มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดเจนในทุกๆด้าน มักมีพัฒนาการด้านการ เคลื่อนไหว และฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมาก ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
สาเหตุ
1.ปัจจัยทางชีวภาพ
-พันธุกรรม (genetic factors) เกิดขากโครโมโซมที่มีความผิดปกติและมีการถ่ายทอดท่างพันธุกรรม
-ด้านความบกพร่องของ enzyme เช่น โรค hartnup disease เกิดจากความบกพร่องในการดูดกลับกรดอะมิโน บางชนิด
2.ปัจจัยทางด้านพัฒนาการที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired and developmental factors)
-สาเหตุที่เกิดในระยะก่อนคลอด ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ
-สาดหตุที่เกิดในระยะคลอด ได้แก่ การที่ทารกคลอดก่อนกำหนด
-สาเหตุที่เกิดในระยะหลังคลอด การเจ็บป่วยในวัยเด็ก เช่น การติดเชื้อ
3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม (environmental and sociocultural factors)
-หญิงตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ
-การดูแลเด็กหลังคลอดไม่มีประสิทธิภาพ
-ฐานะยากจนหรือด้อยโอกาส
การวินิจฉัย
Criteria A
การมีความบกพร่องของสติปัญญา เช่น การใช้เหตุผล การแก้ไขปัญหา
Criteria B
ความบกพร่องของการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
Criteria C
ความบกพร่องทางสติปัญญษและการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมเริ่มแสดงอาการในระยะพัฒนาการ นั่นก็คือในวัยเด็กหรือวัยรุ่น
แหล่งของข้อมูลสำหรับการวินิจฉัย
1.ประวัติการตั้งครรภ์ของมารดา ประวัติพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก
2.การทดสอบทางจิตวิทยา
1.เครื่องมือประเมินพัฒนาการและระดับเชาวน์ปัญญา
2.แบบวัดทักษะทางด้านการปรับตัว
3.การตรวจร่างกาย
4.การตรวจสภาพจิต
5.การตรวจทางระบบประสาท
6.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การบำบัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (medical rehabilitation)
เป็นการรักษาโรคร่วม เช่น ลมชัก,โรคพิการทางสมอง มีดังนี้ การใช้ยา,การส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางกาย ใจ อารมณ์ สังคม และการติดต่อสื่อสาร, กิจกรรมบำบัด เช่นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหยิบจับสิ่งของ, อรรถบำบัด ( speech therapy) ฝึกการพูดการเปล่งเสียงให้ถูกต้องซึ่งอายุตํ่ากว่า 4 ปีจะได้ผลดีที่สุด
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (educational rehabilitation)
เรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมกับคนอื่น
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (vocational rehabilitation)
การเตรียมฝึกอาชีพอายุระหว่าง15-18ปีเพื่อให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพ เช่น การตรงต่อเวลา มีมารยาท งานบ้าน งานบริการ งานในโรงแรม สำนักงาน การส่งหนังสือ เป็นต้น
การพยาบาลที่สำคัญ
การประเมินสภาพเด็กโดยเฉพาะการประเมินพัฒนาการเด็ก โรคร่วม ความพิการต่างๆ ทางกาย การตรวจสภาพจิตเด็ก
การประเมินศักยภาพของครอบครัวในการดูแลเด็ก