Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 9 (อ้างอิง (ธวัช ประสาทฤทธา และคณะ. (2555).…
กรณีศึกษาที่ 9
Diagnosis
closed fracture with colles fracture right radius เนื่องจาก เป็นกระดูกหักชนิดไม่มีแผล และกลไกเป็นการล้มลงเอามือท้าวพื้นทำให้กระดูกหักที่แขนขวาตำแหน่ง radius
-
ข้อวินิจฉัยที่ 2 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะCompartment Syndrome (ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง)เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดและเส้นประสาท
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะ
Compartment Syndrome ได้แก่ ปวด บวม ชา ซีดและเย็น อัมพาต คลำชีพจรไม่ได้
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินการไหลเวียนเลือดและการทำงานของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เพื่อวางแผนการพยาบาลได้อย่างเหมาะสมโดยการประเมิน 6 Ps ได้แก่
- Pain(อาการปวด) จะชัดเจนเมื่อเหยียดกล้ามเนื้อ(Stretching test positive) เช่น อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อดันนิ้วเท้าผู้ป่วยเข้าหาตัว
- Pallor(อาการซีดและเย็น) เป็นอาการแสดงที่บ่งบอกว่าอวัยวะบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
- Pulselessness(คลำชีพจรไม่ได้) คลําชีพจรบริเวณข้อมือกรณีที่ มีการบาดเจ็บของแขน หรือการใช้เครื่องดอปเพลอร์ ปกติชีพจรควรมีการ สันสะเทือนเมื่อมีการเคลื่อนผ่านของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย กรณีที่คลําชีพจรได้ แต่อวัยวะส่วนปลายคล้ำเย็น หรือมีอาการซีด ผู้ป่วยที่ได้รับการเข้าเฝือกจำเป็นต้องคลายเฝือกออก หรือรายงานแพทย์ เพราะเป็นอาการแสดงของการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย
- Paresthesia(อาการชา) ประเมินจากการรับสัมผัสบริเวณส่วนต้นและส่วนปลายของอวัยวะที่บาดเจ็บอาจพบการรับสัมผัสลดลง ไวต่อสิ่งกระตุ้น รู้สึกซู่ซ่า ชาหรือสูญเสียการสัมผัส
- Paralysis(อัมพาตของกล้ามเนื้อ) ผู้ป่วยจะหยุดการเคลื่อนไหวร่างกายและมีการกางออกของนิ้วมือซึ่งเป็นอาการแสดงที่ต้องประเมินและให้การช่วยเหลือได้ทันที
- Puffinessหรือswelling(อาการบวม) บวมบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
- คลายสิ่งของเครื่องตามภายนอกที่ทำให้เกิดการบีบรัด หรือขัดขวางการไหลเวียนเลือด
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการคลายเฝือกให้หลวมโดยการตัดฝือกตามยาวโดยตลอดแล้วตัด webril ออกด้วย แล้วแยกขยายให้มีช่องภายในเผือกกว้างขึ้นไม่ให้เกิดการบีบรัด
- จัดแนวแขน ขาให้อยู่ในลักษณะเหยียดตรง และวางแขน ขาบนหมอนให้สูงระดับหัวใจ เพราะถ้าห้อยแขน ขาต่ำ จะทำให้เกิดการบวมมากขึ้น ความดันในช่องกล้ามเนื้อจะสูง แต่ถ้ายกแขน ขาสูงมากเพื่อหวังผลให้ยุบบวมกลับทำให้เลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อในช่องกล้ามเนื้อได้น้อยลง
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการวัดความดันในช่องกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องมือ tonometerในการวัด ถ้าไม่มีเครื่องมือเฉพาะอาจใช้เครื่องวัดความดันโลหิตต่อและวัดได้ ถ้ามีหลักฐานแน่ชัดว่าความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงมากกว่า 30 มิลลิเมตรปรอท แพทย์จะพิจารณาทำผ่าตัด fasciotomy
อ้างอิง
ธวัช ประสาทฤทธา และคณะ. (2555). การพยาบาลออโธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
-
-
สุพิชัย เจริญวารีกุล และคณะ. (2558). หัตถการทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
พรศิริ พันธลี. (2554). กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ:การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์อักษร จำกัด.
รายชื่อ
นางสาวณัฐธิดา นพคุณ เลขที่ 23 ห้อง 2A
นางสาวนัฐธิดา เที่ยงโต เลขที่ 40 ห้อง 2A
นางสาวนารีรัตน์ นิยม เลขที่ 44 ห้อง 2A
นางสาวพรชิตา มะม่วงชุม เลขที่ 54 ห้อง 2A
นางสาวพรนภา น้อยสีมุม เลขที่ 55 ห้อง 2A
นางสาวลดาพร นุชสุดสวาท เลขที่ 66 ห้อง 2A
นางสาววรรณรดา ทาศรีทอง เลขที่ 67 ห้อง 2A
นางสาววรระวี รักษากุล เลขที่ 69 ห้อง 2A
นางสาวศิริรัตน์ อ้นปรารมภ์ เลขที่ 77 ห้อง 2A
นางสาวโสรญา แก้วศรี เลขที่ 88 ห้อง 2A
นางสาวอัจฉราพรรณ พิมพ์ศรี เลขที่ 93 ห้อง 2A