Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีการเรียนรู้ (ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์…
ทฤษฏีการเรียนรู้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์
การเรียนรู้ทั้งหลายของมนุษย์นั้นเกิดจากการที่ร่างกายเป็นตัวสั่งให้เเสดงการกระทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ทั้งหลายไม่ใช่สิ่งเร้าหรือสถานการณ์มากระตุ้นให้ร่างกายกระทำ{สุปรียา}
โดยได้จากแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมและผลของการกระทำ [เพ็ญพิชชา]
การควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว (เจนจิรา)
การสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ภายในระยะเวลาที่ต้องการ(กฤตินี)
สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อม ที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ สกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)
(ภาวิกา004) (กุสุมา011)(ธนพร05)
สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
(ทิพวรรณ)[สุปรียา]
“สกินเนอร์” ได้กล่าวไว้ว่า “ การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บุคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น (จุฑาทิพย์🐷)
หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม
(ปภาวรินท์🦁)
การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนของเด็ก (นันท์นภัส 013)
การเสริมแรงทางบวก เช่น การให้รางวัล ขนม
การเสริมแรงทางลบ เช่น ทำโทษเบาๆ งดเล่น 5-10 นาที
ใช้ปลูกฝังพฤติกรรมนักเรียน เช่น การไหว้ การเข้าแถว
ทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดค์
1) ลักษณะการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Eror) 2) กฎการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์
(ทิพวรรณ001)
ธอร์นไดด์ ได้เห็นกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎด้วยกันคือ กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) และกฎแห่งพอใจ (Low of Effect) (ทิพวรรณ001) [สุปรียา] (กุสุมา011)
นอกจากกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ ๆ ทั้ง 3 กฎนี้แล้วธอร์นไดด์ ยังได้ตั้งกฎการเรียนรู้ย่อย อีก 5 กฎ คือ (นันท์นภัส 013)(ณญาดา009)
การตอบสนองมากรูป (Law of multiple response)
การตั้งจุดมุ่งหมาย (Law of Set or Attitude)
การเลือกการตอบสนอง (Law of Partial Activity)
การนำความรู้เดิมไปใช้แก้ปัญหาใหม่ (Law of Assimilation or Analogy)
การย้ายความสัมพันธ์ (Law of Set or Associative Shifting)
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยการตอบสนองมักมาเป็นรูปแบบต่างๆจนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีที่สุดเรียกการตอบสนองนี้ว่าการลองผิดลองถูก[สุปรียา] (กฤตินี)
Link Title
กฎการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์
การลองผิดลองถูกจะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้ ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า (Stimuli) และการตอบสนอง ( Responses ) การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก มีใจความที่สำคัญว่า เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี จนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น (จุฑาทิพย์🐷)(ปภาวรินท์)
การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด (เจนจิรา)
การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Bond) ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง ละได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
(ภาวิกา)
ธอร์นไดค์ เชื่อว่า การเรียนรู้เบื้องต้นของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ จะใช้วิธีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก{เพ็ญพิชชา}(ธนพร05)