Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Septic shock (การวินิจฉัย (การตรวจอาการทั่วไป เบื้องต้นแพทย์จะตรวจอาการของ…
Septic shock
การวินิจฉัย
การตรวจอาการทั่วไป เบื้องต้นแพทย์จะตรวจอาการของผู้ป่วย ประกอบกับดูประวัติการรักษา นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อวัดระดับความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร และอาการ หรือสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด
การตรวจเลือด แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยเพื่อนำไปตรวจหาการติดเชื้อ การเกิดลิ่มเลือด การทำงานที่ตับหรือไต ความสามารถในการลำเลียงออกซิเจน และระดับความสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายผู้ป่วย
การตรวจปัสสาวะ ผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบต้องนำตัวอย่างปัสสาวะให้แพทย์ตรวจ เพื่อดูการติดเชื้อของแบคทีเรีย
การตรวจสารคัดหลั่งจากบาดแผล หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บและเกิดแผลติดเชื้อ แพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากบาดแผลมาตรวจ เพื่อช่วยในการจ่ายยาปฏิชีวนะให้สามารถรักษาการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจน้ำมูกหรือเสมหะ หากผู้ป่วยเกิดอาการไอและมีเสมหะด้วย แพทย์จะเก็บตัวอย่างน้ำมูกหรือเสมหะ โดยการตรวจนี้จะช่วยวินิจฉัยชนิดของแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
การตรวจด้วยภาพสแกน วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ตรวจสภาพของอวัยวะหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการตรวจด้วยภาพสแกนประกอบด้วย
เอกซเรย์ ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอดควรได้รับการเอกซ์เรย์ โดยวิธีนี้จะช่วยแสดงสภาพของปอดชัดเจนขึ้น
อัลตราซาวด์ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ถุงน้ำดีหรือรังไข่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ โดยแพทย์จะใช้คลื่นเสียงเพื่อช่วยสร้างภาพออกมา
ซีทีสแกน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ลำไส้ ตับอ่อน หรือไส้ติ่ง ควรตรวจด้วยการทำซีที สแกน โดยแพทย์จะนำภาพเอกซเรย์จากหลายมุมมารวมกันเพื่อให้เห็นภาพรวมโครงสร้างของอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ
เอ็มอาร์ไอ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อตรงเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เกิดฝีที่กระดูกสันหลัง ควรตรวจด้วยการทำMRI ซึ่งจะช่วยระบุบริเวณที่เนื้อเยื่ออ่อนติดเชื้อได้โดยแพทย์จะใช้คลื่นวิทยุและแม่เหล็กไฟฟ้าในการประมวลภาพสแกนของโครงสร้างอวัยวะภายในออกมา
ผู้ป่วยได้รับการตรวจเลือด WBC = 25,910 cells/uL
Neutrophil = 92 %
Lymphocyte = 1%
การรักษา
การรักษาด้วยยา ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจะได้รับยาเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้
ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงจะได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียครอบคลุมหลายประเภท เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถระบุประเภทของเชื้อได้อย่างเฉพาะเจาะจงในเวลาอันสั้น อีกทั้งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที โดยแพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะที่คาดว่ามีผลในการรักษาผู้ป่วยเข้าหลอดเลือดดำภายใน 6 ชั่วโมงแรกหรือเร็วกว่านั้น ทั้งนี้ เมื่อได้ผลตรวจเลือดแล้ว
แพทย์จึงจะเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาประเภทของเชื้อได้เฉพาะเจาะจง โดยจะเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะแบบเม็ดให้ผู้ป่วยหลังจากระยะวิกฤตผ่านไปแล้ว ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาในช่วงระยะเวลา 7-10 วัน หรือนานกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ แพทย์จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ ทั้งนี้ สารน้ำที่ให้แก่ผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อในกระแสเลือดจะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำและไตล้มเหลว โดยแพทย์จะให้สารน้ำภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ยาเพิ่มความดันโลหิต ผู้ป่วยบางรายหากยังมีความดันโลหิตต่ำอยู่หลังจากได้รับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ แพทย์อาจให้ยาเพิ่มความดันโลหิต โดยยานี้จะทำให้หลอดเลือดตีบลงและช่วยเพิ่มความดันโลหิต
การดูแลผู้ป่วยตามอาการ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอาจจำเป็นต้องต่อท่อหรือใส่หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น
การผ่าตัด หากต้นเหตุของการติดเชื้อมากจากฝีหรือแผลที่ทำให้ลุกลามได้นั้น อาจต้องเจาะเอาหนองออกมา ส่วนผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อออกไป และรักษาเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหาย
ผู้ป่วยได้รับการรักษา Levophed 4 mg. + 5%DW 250 ml v drip 10 cc/hr. ยาปฏิชีวนะที่ได้รับ : Cef-3 2 gm.+0.9% NSS 100 ml. v drip in 1 hr., Metronidazole 500 mg. v drip in 1 hr., Meropenam 1 g + 0.9% NSS 100 ml. vdrip in 3 hr.
สาเหตุ
การติดเชื้อจากปัญหาสุขภาพทั่วไป ปัญหาสุขภาพถือเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดที่พบได้มากที่สุด โดยเชื้อแบคทีเรียจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทันที ปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดได้แก่
-
-
-
ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาด้วยกระบวนการทางแพทย์หรือการผ่าตัดนั้น เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดสูง
เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาจต้านฤทธิ์ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการ โดยผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมักมีลักษณะดังนี้
ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนเกิดแผลขนาดใหญ่หรือถูกไฟลวก
-
ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และมีการเสียเลือด
อาการ
-
ป่วยเป็นไข้ขึ้นสูง ผู้ป่วยบางราย อาการอาจค่อย ๆ เป็นหนักขึ้น และอาจป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย หายใจเร็วขึ้น ชีพจรเต้นเร็ว
-
รู้สึกตัวน้อยลง รวมทั้งสับสนจนคิดอะไรไม่ออก
คลื่นไส้และอาเจียน ผิวหนังอาจเกิดจุดหรือแดง หากปล่อยทิ้งไว้ ผื่นจะลุกลามใหญ่ขึ้นเหมือนรอยช้ำ
-
ผู้ป่วยเสียเลือดโดยมีถ่ายเป็นเลือดดำประมาณ 1 ถ้วยเล็ก
พยาธิสภาพ
ภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จากนั้นเชื้อแบคทีเรียซึมเข้าสู่กระแสเลือด หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งทำให้ลิ่มเลือดอุดตันการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อไม่ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ การทำงานของอวัยวะส่วนนั้นจึงล้มเหลว ซึ่งถือเป็นอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่ร้ายแรง ทั้งนี้ อาจมีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดถึงร้อยละ 50 เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าว ผู้ที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
- 0.9% NSS 500 ml, Gerofusine 500 ml., Acetar 1000 ml. v 40 cc/ hr.