Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Non Massive Hemoptysis with Bacterial Pneumonia on top with septic shock…
Non Massive Hemoptysis with Bacterial Pneumonia on top with septic shock with Pulmonary tuberculosis
-
วัณโรค (Tuberculosis) หรือโรคทีบี (Tubercle bacillus : TB) หรือที่โบราณเรียกว่า “ฝีในท้อง” คือ โรคติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อวัณโรคที่สามารถแพร่ให้คนที่อยู่ใกล้ชิดได้ แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดขึ้นในปอดที่เรียกว่า “วัณโรคปอด” (Pulmonary tuberculosis) แต่วัณโรคก็สามารถเกิดกับอวัยวะอื่น ๆ ได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกาย เช่น ประสาทและสมอง ต่อมน้ำเหลือง ลำไส้ ตับ ม้าม ระบบขับถ่าย กระเพาะปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ กระดูกและข้อ เป็นต้น
สาเหตุ เกิดจากเชื้อวัณโรค สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและก่อปัญหามากที่สุดในมนุษย์คือ เชื้อ “ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส” (Mycobacterium tuberculosis) หรือบางครั้งเรียกว่า “เชื้อเอเอฟบี” (Acid fast bacilli : AFB) ซึ่งสามารถแพร่กระจายในอากาศและติดต่อจากคนสู่คนได้
ติดต่อโดย
การหายใจสูดเอาเชื้อในฝอยละอองเสมหะขนาดเล็ก ๆ ที่ผู้ป่วยปล่อยออกมาแขวนลอยอยู่ในอากาศ (การไอ จาม พูด หัวเราะ ร้องเพลง หรือหายใจ) เข้าไปภายในปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
อาการของวัณโรค
ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการโดยทันที เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันการจู่โจมของเชื้อในร่างกาย จึงทำให้เชื้อค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ๆ ไปจนถึงหลายปีกว่าอาการของโรควัณโรคจะเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็น ทั้งนี้ อาการของวัณโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะใหญ่ ๆ ได้แก่
วัณโรคระยะแฝง (Latent TB) คือ ระยะที่เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วแต่ยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ เนื่องจากเชื้อยังไม่ได้รับการกระตุ้น แต่เชื้อก็ยังคงอยู่ในร่างกายและสามารถก่อให้เกิดอาการจนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้
วัณโรคระยะแสดงอาการ (Active TB) คือ ระยะที่เชื้อวัณโรคได้รับการกระตุ้นจนแสดงอาการออกมา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ไปจนถึงหลายปีหลังจากได้รับเชื้อ ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ววัณโรคจะแสดงอาการที่ปอด ซึ่งเรียกว่า “วัณโรคปอด” (แต่ที่พบเกิดได้น้อย คือ เชื้อในปอดหรือต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดมีการแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายและทำให้เกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ ตามมา ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเป็นส่วนใหญ่
-
การวินิจฉัยวัณโรค
การตรวจคัดกรองวัณโรคที่เรียกว่า “การตรวจทูเบอร์คูลิน” (Tuberculin skin test : TST) ฉีดยาที่เป็นโปรตีนสารสกัดจากเชื้อวัณโรค เรียกว่า “พีพีดีเข้าชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน หลังจากนั้นประมาณ 48-72 ชั่วโมง ต้องกลับมาให้แพทย์หรือพยาบาลตรวจรอยฉีดยา ถ้าบริเวณที่ฉีดยามีขนาดรอยบวมน้อยกว่า 10 มิลลิเมตร แสดงว่าบุคคลนั้นไม่น่าจะติดเชื้อ (ให้ผลลบ) แต่ถ้าบริเวณที่ฉีดยามีขนาดรอยบวมตั้งแต่ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป แสดงว่าบุคคลน่าจะติดเชื้อวัณโรค (ให้ผลบวก)
การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะความเปลี่ยนแปลงของปอดหรือสภาพของปอด ซึ่งจะช่วยบ่งบอกว่าเป็นวัณโรคปอดหรือไม่ ถ้าพบลักษณะผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคปอด แพทย์จะให้ผู้ป่วยเก็บเสมหะตรวจย้อมเชื้อวัณโรค ซึ่งถ้าพบเชื้อวัณโรคก็จะวินิจฉัยได้แน่นอน
การย้อมเชื้อวัณโรคจากเสมหะ เป็นการตรวจที่ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย โดยจะเก็บเสมหะตอนเช้าหลังตื่นนอน 3 วันติดต่อกัน และจะรู้ผลภายในประมาณ 30 นาที แต่วิธีนี้จะมีโอกาสตรวจพบเชื้อได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเท่านั้น ผู้ที่ตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะก็ยังอาจเป็นวัณโรคได้
การนำเสมหะไปเพาะหาเชื้อ เป็นวิธีที่สามารถตรวจพบเชื้อได้สูงถึง 80-90% ของผู้ป่วย และสามารถช่วยให้แพทย์สั่งจ่ายยาที่ให้การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยได้ แต่การตรวจนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจึงจะทราบผลและบอกได้ว่ายาชนิดใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
การตรวจเลือด เป็นการตรวจที่ช่วยบอกได้ว่าผู้ป่วยมีเชื้อวัณโรคในร่างกายหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยยืนยันได้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะแฝงหรือระยะแสดงอาการ
การตรวจหาเชื้อวัณโรคในระยะแฝง (Interferon gamma release assay: IGRA) เป็นการตรวจหาเชื้อวัณโรคในระยะแฝงที่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีเชื้อวัณโรคภายในร่างกายหรือไม่
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจที่ช่วยให้เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อวัณโรคตามอวัยวะต่าง ๆ
การตรวจด้วยการส่องกล้อง (Endoscopy) มักใช้กับผู้ป่วยวัณโรคที่มีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นร่องรอยของการติดเชื้อวัณโรคได้
การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากบริเวณที่มีอาการของวัณโรคไปตรวจด้วยวิธีการส่องกล้อง ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) ในกรรีที่ผู้ป่วยมีอาการของวัณโรคที่สอมงและระบบประสาท การเจาะน้ำไขสันหลังจะช่วยให้แพทย์ยืนยันผลได้ชัดเจนมากขึ้น
การรักษาวัณโรค
ให้ยารักษาวัณโรคหลายชนิดร่วมกัน สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่งรักษาเป็นครั้งแรก แพทย์จะนิยมใช้สูตรยา 6 เดือนซึ่งได้ผลดีที่สุด โดยในช่วง
2 เดือนแรกจะให้กินยารวมกัน 4 ชนิด ได้แก่
ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) หรือ ไอเอ็นเอช (INH),
ไรแฟมพิซิน (Rifampicin),
ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
และอีแทมบูทอล (Ethambutol) หลังจากกินยาทั้ง 4 ชนิดครบ 2 เดือนแล้วจะต่อด้วยการกินยา 2 ชนิดต่อไปอีก 4 เดือน ได้แก่
ไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
และไรแฟมพิซิน (Rifampicin)
-
-
-