Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อมูล (ข้อมูล (DATA) (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาต…
ข้อมูล
ข้อมูล (DATA)
ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ ทุก ๆ คนอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลและสารสนเทศเป็นคำที่มักใช้ควบคู่กันและบางครั้งก็ใช้ ทดแทนกัน แม้จนกระทั่งบางคนเข้าใจผิดว่า เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ดังนั้นการอธิบายถึงความหมายของข้อมูลและสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยมีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับข้อมูลดังนี้
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์ แทนปริมาณหรือการกระทำต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวหนังสือ และท้ายสุดของข้อมูลก็คือ วัตถุดิบของสารสนเทศ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูล อยู่ในรูป ตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น (กองแผนงาน กรมสามัญศึกษา. 2536 : 1)
-
ตัวอย่างของข้อมูล เช่น
- ข้อมูลการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระบุรีเขต 1
- ข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2546
- ความคิดเห็นของผู้ชมรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่มีต่อผู้แสดงในรายการนั้น ก็ทำให้ทราบถึงความคิดเห็นของผู้ชมว่าเป็นอย่างไร มีความชื่นชอบ สนใจ ติติง หรือวิพากษ์รายการโทรทัศน์นั้นอย่างไรบ้าง
- ไอบีเอ็มหนุนใช้ลีนุกซ์ในเมืองไทย ดันเป็นมาตรฐานระบบเครือข่าย
- ตลาดโน้ตบุ๊กแข่งเดือดเปิดตัว 1 GHz
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
แหล่งข้อมูล
.
ข้อมูลที่นำมาใช้ประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เกิดขึ้นมาจาก 2 แหล่งคือ แหล่งข้อมูลภายในองค์การ และแหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์การ
- แหล่งข้อมูลภายในองค์การ ในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ แหล่งข้อมูลจะประกอบด้วยข้อมูลของพนักงานในองค์การและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ขององค์การ เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง ความถูกต้องของการวางแผนครั้งที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งการได้มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายในนี้ อาจจะได้จากวิธีการที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะพูดคุยกัน เป็นต้น
- แหล่งข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง หรือแหล่งกระจายข้อมูลที่มีในสังคม แหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ตัวลูกค้า บริษัทขายส่งสินค้า บริษัทคู่แข่งขัน หนังสือวารสารทางธุรกิจ สมาคมต่าง ๆ หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ ยอดรวมของการบริโภคสินค้าแต่ละปี หรืออัตราการเจริญเติบโตของประชากร ฯลฯ
ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งสองนี้ อาจจะแยกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมหรือบันทึกมาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น การสำรวจข้อมูลทางการตลาด ด้วยวิธีออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) ส่วนประเภทหลังได้แก่ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมไว้แล้ว เช่น สถิติเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าเศรษฐกิจของประชาชน ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)
-
ตัวอักษร,ตัวเลข
อักษร เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วววยตัวอักษรภาษาไทยภาษาต่างประเทศหรือตัวเลขที่ไม่สามารถนำมาคำนวณ
ทางคณิตศาสตร์ เช่น
- ชื่อ-นามสกุลของนักเรียน
- รหัสนักเรียน
- ที่อยู่นักเรียน
- ข้อความการสนทนาออนไลน์
- ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอของนักเรียน
ตัวเลข เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0-9 สามารถนำมาใช้ในการคำนวณหรือประมวลผลได้ เช่น
- จำนวนครั้งในการออกกำลังกานของนักเรียนในเดือนที่ผ่านมา
- ราคาสินค้าในห้างสรรพสินค้า
- ระยะทางระหว่างบ้านกับโรงเรียน
- คะแนนสอบ
Information
สารสนเทศ
คือการนำข้อมูลมาผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
คุณสมบัติของสารสนเทศ
1.มีความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
2.มีความสมบูรณ์ของข้อมูล
3.มีความชัดเจนกะทัดรัด
4.มีความสอดคล้องกับความต้องการ
ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศที่มีคุณค่า มีความทันสมัยและมีความต่อเนื่องทันต่อเหตุการณ์ ย่อมเป็นสารสนเทศที่มีความสำคัญหรือสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านต่างๆได้ อย่างเช่น ความสำคัญด้านการศึกษา
ข้อมูลภาพ เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นภาพต่างๆที่มองเห็น เช่น ภาพถ่ายที่นักเรียนนำเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ ภาพถ่ายฟิล์มเอกซเรย์ของผู้ป่วย ภาพวาดสีน้ำมันที่จัดแสดงในงานนิทรรศการ ภาพวาดที่นักเรียนวาดขึ้น
ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเสียง หรือวิดิทัศน์ เป็นข้อมูลที่เป็นลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เกิดจากการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือเสียงที่เกิดจากอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เช่น เสียงวิดิทัศน์ที่นักเรียนนำเข้าสู่สังคมออนไลน์ วิดิทัศน์การบันทึกภาพจราจร เสียงร้องของสัตว์ เสียงที่เกิดจากการเปิดเพลงผ่านวิทยุ
สมาชิกกลุ่ม
นายณัฐพล เอี่ยมแสง เลขที่ 2
นายสุพศิน โพธิ์รื่น เลขที่ 25
นางสาวมธุริน สมตำหนิ เลขที่ 33
นางสาวกนกวรรณ กางหาบุตร เลขที่ 34