Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลการเรียนรู้เรื่องสมดุลเคมี โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น…
ผลการเรียนรู้เรื่องสมดุลเคมี โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
-
-
-
อภิปรายผล
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมและจำแนกตามเพศที่เรียนเคมีแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นมีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายค้าน 5 ด้านเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 ซึ่งทำการศึกษาวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่ามีการคิดวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 การที่นักเรียนมีการคิดวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอาจจะเนื่องมาจาก
การเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมทำให้นักเรียนสมหวังเกิดความพึงพอใจในการเรียนรู้ (Bilings. 2002: 840) มีเจคคติเชิงวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น (วิมลจันทร์เสถียร. 2548: 90) ทำให้มีการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น
การเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีกระบวนการคิดตั้งแต่ขั้นตรวจสอบความรู้เพิ่มมีการเชื่อมโยงประเด็นปัญหาไปสู่สิ่งที่ต้องการศึกษามีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจค้นหานำข้อมูลที่ได้มาเปลผลสรุปผลสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามขั้นตอนของการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้เกิดกระบวนทางสติปัญญาจากการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการคิดวิพากษ์วิจารณ์ทำให้มีการคิดวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มขึ้น
นักเรียนที่มีเพศต่างกันที่เรียนเคมีแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นมีการคิดวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนเป็นรายค้านไม่แคกค่างกันแต่นักเรียนเพศชายมีการคิควิพากษ์วิจารณ์โดยรวมมากกว่านักเรียนเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 ซึ่งสอดคล้องบ้างกับศึกษาของโชคมณีศรีสว่างวงศ์ (2548: 105) ซึ่งพบว่านักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นมีการคิควิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและด้านการประเมินข้อโต้แย้งมากกว่านักเรียนหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 แต่ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งพบว่านักเรียนที่มีเพศต่างกันเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นมีความคิดวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายค้านไม่แตกต่างกัน (นุชจรีศรีสวัสดิ์, 2548: 73: สุชาดาสัตบุษย์. 2548: 71: กิตติมาธรรมราษฏร์, 2548: 99: อรุณรัตน์มูลโพธิ์. 2548: บทคัดย่อ; อรอนงค์เคชโยธิน, 2548: บทคัดย่อ) และไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของจิรัฐติกาลพิมพ์วิชัย (2548: 116) ซึ่งพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีเพศต่างกันเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นมีการคิดวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมไม่แตกต่างกันแต่เป็นรายค้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 การที่ผลการศึกษาปรากฏเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก
การเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเป็นยุทธวิธีในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันรวมทั้งมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันทำให้นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีการติดวิพากษ์วิจารณ์เป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน
นักเรียนชายมีความแตกต่างจากนักเรียนหญิงบางประการเช่นมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนหญิง (วารุณีพิณรัตน์. 2544: 55) มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ด้านความอยากรู้อยากเห็นด้านความมีใจกว้างด้านความเป็นปรนัยและด้านความซื่อสัตย์มากกว่านักเรียนหญิง (สุภาวดีอาจศิริ, 2542: 113) มีความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่านักเรียนหญิง (สุนีย์ศรีศักคา. 2541: 99; ประหยัดโมกศรี, 2541: 96) ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนชายมีการคิควิพากษ์วิจารณ์มากกว่านักเรียนหญิงได้
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ประชากร
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 4 ห้องเรียนจำนวน 207 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 52 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Randorn Sampling)
-
นิยามศัพท์เฉพาะ
การสืบเสาะ
เป็นกระบวนการทางสติปัญญาทั่วไปที่มนุษย์ใช้แสวงหาความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆดังนั้นจึงเป็นวิธีการหรือกระบวนการคิดนั้นเอง
-
การคิดวิพากษ์วิจารณ์
ความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งในด้านบวกหรือด้านลบอย่างมีเหตุผลโดยการใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างเพียงพอประกอบด้วยกระบวนการคิด
-
-
-
-
-
-
-
-