Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect: ASD (การตรวจวินิจฉัยโรค,…
โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect: ASD
การตรวจวินิจฉัยโรค
วินิจฉัยโรคได้จากอาการทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายรังสีทรวงอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน คือ
2D-echocardiography เพื่อบอกชนิดของ ASD
การสวนหัวใจ ทำเพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง หรือเพื่อการรักษาผ่านสายสวนโดยการใช้อุปกรณ์ปิดรูรั่ว
Case ผู้ป่วยไดทำ echocardiography เพื่อบอกชนิดของ ASD ผลเป็นASD secundum ทำ EKG
1) การทำ Echocardiogram ผ่านทางผนังหน้าอก (Transthoracic Echocardiogram)
ผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวมาก สะดวก ภาพให้รายละเอียดได้ดี แต่หากผู้ป่วยมีผนังหน้าอกหนา ผนังหน้าอกผิดรูป หรือช่องระหว่างซี่โครงแคบอาจได้ภาพที่ไม่ชัดเจนควรตรวจในลักษณะส่องกล้องจะแน่ชัดกว่า
2) การทำ Echocardiogram ส่องกล้องผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiogram)
ตรวจหัวใจจากด้านในทางเดินอาหารที่อยู่ด้านหลังหัวใจเพื่อให้ได้ภาพการเคลื่อนไหวของหัวใจที่ชัดเจน ช่วยให้การวินิจฉัยได้ชัดเจนและต้องทำในทุกรายก่อนส่งผู้ป่วยมาปรึกษา
พยาธิสรีรวิทยา
ASD ทำให้เลือดไหลผ่านรูรั่วจาก LA ไปยัง RA ปริมาณเลือดขึ้นกับขนาดของรูรั่ว แรงต้านทานหลอดเลือดในปอด ความยืดหยุ่น (compliance) ของ RV ซึ่งในช่วงแรกเกิด ผนัง RV จะหนา มีความยืดหยุ่นน้อย จึงทำให้เลือดไหลผ่านรูรั่วจาก LA ไปยัง RA น้อย เมื่ออายุ 3-5 ปี RV จะมีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถขยายรับเลือดจาก RA ลงมา RV ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทั้ง RA และ RV โตขึ้นได้ (รูปที่ 5) นอกจากนี้ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมา คือขนาดของรูรั่ว ยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งมีเลือดไหลผ่านรูรั่วมากขึ้น
อาการและอาการแสดง
อายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่มีอาการ เมื่อโตขึ้นมักตรวจพบโดยบังเอิญ
หากมีความดันเลือดในปอดสูง หรือ ASD มีขนาดใหญ่ มักจะมีอาการเหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก มีอาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
ตรวจร่างกาย คลำได้หัวใจห้องล่างขวาโตและเต้นแรงกว่าปกติ อาจคลำ thrill และ ฟังเสียง murmur ได้บริเวณกระดูกอกด้านซ้ายบน
Case ผู้ป่วยมาอาการเหนื่อยง่ายเวลาเดิน เวลาทำงานบ้าน เดินขึ้นบันได ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นแรง
ความหมาย
ASD เป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว ที่มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น เอเตรียม (Atrial septum) คือมีรูรั่วที่ผนังเอเตรียมซ้าย – ขวา พบประมาณ ร้อยละ 7-11 ของโรคหัวใจแต่กำเนิด
สาเหตุ
ผนังกั้นหัวใจบนรั่วเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดในระบบไหลเวียนโลหิตของทารก ในครรภ์ปกติจะมีรูเปิดอยู่ เพื่อให้เลือดนั้นไม่ต้องผ่านปอด (ระหว่างอยู่ในครรภ์ เลือดจะถูกฟอกผ่านรก โดยปอดจะยังไม่ทำงาน) โดยเลือดจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายแล้วผ่านลงไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย แล้วเลือดก็จะถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายต่อไปและเมื่อเด็กเกิดออกมา ช่องโหว่นี้จะถูกปิด ถ้าไม่ปิด เลือดก็จะไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังห้องบนขวา หรือไหลจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้าย
Case ผู้ป่วยผนังกั้นหัวใจบนรั่วเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
การรักษา
ผู้ป่วยที่มี primum ASD, sinus venosus ASD และ coronary sinus ASD ทุกราย ต้องได้รับการผ่าตัดทำ direct closure หรือ patch closure เนื่องจากไม่สามารถปิดได้เอง12,13
ผู้ป่วย secundum ASD ที่มีขอบของรูรั่ว ASD มากกว่า 5 มม. และมีแรงต้านทานหลอดเลือดในปอดน้อยกว่า 8 WU.m2 รักษาด้วยการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ผ่านสายสวนหัวใจ
Case ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเป็น ASD Closure การอุดรอยรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน
การปิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ชนิด secundum ด้วยอุปกรณ์พิเศษชนิด ASD occluder device ผ่านสายสวน (Transcatheter ASD secundum closure in Adults) ได้ผลสำเร็จสูงและผลแทรกซ้อนน้อยมาก
ภาวะแทรกซ้อน
โรคหัวใจล้มเหลว
การติดเชื้อแบคทีเรียในหัวใจ
ลิ้นหัวใจรั่ว
การเติบโตช้า
หัวใจบีบตัวผิดจังหวะ
ความดันในปอดสูง
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Propranolol 10 mg oral 1 เม็ด x BID pc
ชื่อสามัญ Propranolol
ชื่อการค้า Alperol, Atensin, Betalol, Betapress, Cardenol, Emfora
ข้อบ่งใช้ควบคุมความดันโลหิตสูงรักษาอาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายไมเกรนหัวใจเต้นผิดจังหวะจากพิษของดิจิตาลิส
การออกฤทธิ์ปิดกั้นการทำงานของเบต้าอะดรีเนอร์จิกทำให้อิพิเนฟริน (Epinephrine) และนออิพิเนฟริน (Norepinephrine) ออกฤทธิ์ไม่ได้ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและกำลังการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงกล้ามเนื้อหัวใจใช้ออกซิเจนลดลงเป็น Psychotherapeutic drugs ด้วยยายับยั้งทั้งที่ 6, และ B, โดยมีผลต่อ 8, ที่หัวใจมากกว่า 8, ที่หลอดลมและหลอดเลือดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาทีลดลงทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างช้าๆ
ผลข้างเคียงคลื่นไส้ปวดท้องท้องเดินท้องอืดเบื่ออาหารปากแห้งตับโตเม็ดเลือดขาวลดลงเลือดออกง่ายอ่อนเพลียมึนงงซึมเศร้าง่วงสับสน
พยาบาลให้คำแนะนำผู้ป่วยดังนี้ 1. การบริหารยาทางปากควรให้รับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อลดอาการของระบบทางเดินอาหาร 2. สังเกตอาการผิดปกติต่างๆซึ่งเป็นอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวหรือทำงานลดลงภาวะหลอดลมตีบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาการแพ้ยาหากพบอาการผิดปกติให้รีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที 3. ไม่ให้หยุดยาเองเพราะอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกความดันโลหิตสูงชนิดเฉียบพลันและอาจเสียชีวิตได้ 4. ให้สังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผลของยาและวิธีแก้ไขในกรณีเร่งด่วนก่อนมาพบแพทย์ 5. ขณะได้รับยาควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเพราะยามีผลทำให้ง่วงนอนมึนงงตาพร่าได้แนะนำให้เปลี่ยนท่าทางช้าๆและหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา