Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Brain-Based Learning (BBL) (ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน…
Brain-Based Learning (BBL)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Brain-Based Learning
ทฤษฎีที่ 1 การเรียนรู้อย่างมีความสุข
เน้นการสอนด้วยการตั้งคำถามอธิบายด้วยคำถาม
เปิดโอกาสให้เด็กได้ลอง แต่อาจจะมีสัญญาในการจำกัดความเสียหาย
เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกแนวทางในการเรียนรู้ของตนเองตามความถนัดและความสนใจ
ทำให้สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันหรือสามารถเปรียบเทียบได้ในชีวิตประจำวัน
ทฤษฎีที่ 2 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การเรียนรู้เป็นกลุ่ม
ใช้คำถามเป็นสื่อการเรียนรู้ให้คิด
การจำลองสถานการณ์ (What if ?)
เน้นให้เด็กทำกิจกรรมและสร้างผลงาน
เน้นให้เด็กใช้จินตนาการ
ทฤษฎีที่ 3 การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การคิดเชิงวิเคราะห์ มีความสามารถในการจำแนก แยกแยะ
การคิดเปรียบเทียบ มีความสามารถในการพิจารณาเปรียบเทียบได้สองลักษณะ
การคิดสังเคราะห์ มีความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อยต่าง ๆ
การคิดเชิงวิพากษ์ มีความสามารถในการพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่าง ๆ
ทฤษฎีที่ 4 การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย
โดยควรจะมีความสอดแทรกหลักการของความเหมือน หลักการของความแตกต่าง หลักการของความเป็นฉัน
การผ่อนคลายทางอารมณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ความสำคัญก็คือ การสร้างความสมดุลระหว่างความท้าทายอยากรู้กับความผ่อนคลาย มีระเบียบวินัยที่จากตนเองการใช้คำถามเพื่อให้ค้นหาคำตอบว่าทำไมต้องมีระเบียบวินัย การผิดระเบียบและวินัยย่อมต้องมีเหตุผล แต่เหตุผลไม่ใช่ตัวตัดสินถูกผิด
ทฤษฎีที่ 5 การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ
สอนโดยใช้อุทาหรณ์แล้วตั้งคำถามให้เด็กตอบ แล้วให้เด็กสรุปด้วยตัวเอง
สอนโดยใช้การแฝงสาระ การพูดคุยถามความเห็นไม่ใช่ให้เด็กจำในสิ่งที่สั่งฟังในสิ่งที่พูด
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ครูวางแผนในการสนทนากับนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้เข้าใจในสิ่งที่จะเรียน
ขั้นตกลงกระบวนการเรียนรู้ เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนตกลงร่วมกันว่านักเรียนจะต้องทำกิจกรรมใดบ้าง
ขั้นเสนอความรู้ใหม่ เป็นขั้นที่ครูจะต้องเชื่อมโยงประสบการณ์การต่าง ๆมาสร้างองค์ความรู้ใหม่
ขั้นฝึกทักษะ เป็นขั้นที่นักเรียนเข้ากลุ่มแล้วร่วมมือกันเรียนรู้
ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นขั้นที่ตัวแทนแต่ละกลุ่มที่ได้จากการจับสลาก ออกมาเสนอผลงาน
ขั้นสรุปความรู้ เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้แล้วให้นักเรียนทำใบงานเป็นรายบุคคล
ขั้นกิจกรรมเกม เป็นขั้นที่ครูจัดทำข้อสอบมาให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคลโดยไม่ซักถามกัน
พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
การทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน
การทำให้ผู้เรียนจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
การใช้สื่อหลายๆ แบบ
การเชื่อมโยงความรู้หลายๆ อย่าง
การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่ผู้เรียนได้รับ
ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง
การให้ผู้เรียนได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง
ความหมาย
การเรียนรู้ ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยไม่สกัดกั้นการทำงานของสมอง แต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ ที่สุด ภายใต้แนวคิดที่ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ทุกคนมีสมองพร้อมที่จะทำเรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด
กุญแจ 5 ดอก ของ BBL
กุญแจดอกที่ 1 สนามเด็กเล่น (Playground)
เปลี่ยนสนามเด็กเล่น เพื่อพัฒนาสมองน้อย และไขสันหลังให้แข็งแกร่ง
กุญแจดอกที่ 2 ห้องเรียนเปลี่ยนสมอง (Classroom)
เปลี่ยนห้องเรียน เพื่อเปลี่ยนสมองของเด็ก สิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ มีความเข้มข้น มีสีสันช่วยกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้และจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น
กุญแจดอกที่ 3 พลิกกระบวนการเรียนรู้แบบ BBL
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยเข้าใจสมองของนักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นสมองน้อย สมองสองซีก และสมองทั้งสี่ส่วน เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด
กุญแจดอกที่ 4 หนังสือเรียนและใบงาน BBL
ใช้หนังสือและใบงาน ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง เพื่อช่วยกระตุ้นสมองของนักเรียน ฝึกให้เด็กคิดทีละขั้นตอน และนำทักษะและความรู้ในแต่ละขั้น มาประกอบกันเป็นความเข้าใจ (concept) ในที่สุด
กุญแจดอกที่ 5 สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ BBL
ใช้สื่อและนวัตกรรมที่แปลกใหม่ น่าตื่นเต้น และมีสีสัน และมีจำนวนเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน พึงพอใจ เกิดความตั้งใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาที่ซับซ้อน
การนำทฤษฏีพหุปัญามาใช้กับการเรียนการสอนแบบ Brain Based Learning
ปัญญาด้านภาษา
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย
ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์
ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ