Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ฤาษีดัดตน (ท่าฤๅษีดัดตน 15 ท่า (ท่าที่ 1 ท่านวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
…
ฤาษีดัดตน
ท่าฤๅษีดัดตน 15 ท่า
ท่าที่ 1 ท่านวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
ประกอบด้วย 7 ท่า คือ 1.1 ท่าเสยผม 1.2 ท่าทาแป้ง 1.3 ท่าเช็ดปาก 1.4 ท่าเช็ดคาง 1.5 ท่ากดใต้คาง 1.6 ท่าถูหูและถูหลัง 1.7 ท่าตบท้ายทอย ซึ่งท่านี้จะช่วยในเรื่องของการส่งเลือดไปเลี้ยงที่บริเวณใบหน้า รวมทั้งช่วยบำรุงสายตา และส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง
ท่าที่ 2 ท่าเทพพนม
วิธีการฝึกนั้นเริ่มตั้งแต่การพนมมือ หลังจากนั้นดันมือที่พนมไปทางซ้าย แล้วกลับมาที่จุดเดิมแล้วดันมือไปทางขวา ซึ่งจุดประสงค์การฝึกท่านี้คือ ต้องการส่งเลือดและลมไปตามแขน เพื่อแก้โรคลมในข้อแขน
ท่าที่ 3 ชูหัตถ์วาดหลัง
วิธีการฝึกเริ่มจากการชูมือทางข้างขึ้นเหนือศีรษะ จากนั้นประสานมือโดยให้มือทั้งสองจับกัน ต่อมากางมือทั้งสองข้างออกข้างลำตัว และลดระดับมือลงมาจับที่บริเวณเอว กำมือทั้งสองค่อยเข้าหากันและนำมาชนกันบริเวณด้านหลังของเอว
ท่าที่ 4 ท่าแก้เกียจ
เริ่มจากการประสานมือทั้งสองข้างเข้าหากัน จากนั้นเหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรง โดยที่มือทั้งสองประสานกันในลักษณะเหยียดออก จากนั้นยืดแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะพร้อมด้วยมือที่ประสานกัน แล้ววางมือที่ประสานกันลงบนศีรษะ ท่านี้ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้
ท่าที่ 5 ท่าดึงศอกไล้คาง
เริ่มจากการนำมือซ้ายมาแตะบริเวณปลายคาง และมือขวาจับที่บริเวณข้อศอก แล้วลูบปลายคางจากด้านซ้ายมาด้านขวา หลังจากนั้นเปลี่ยนข้างมาใช้มือขวาจบบริเวณปลายคาง แล้วมือซ้ายแตะที่ปลายศอกขวา แล้วลูบปลายคางจากขวามาด้านซ้าย จากนั้นเปลี่ยมมาใช้บริเวณหลังมือแทนฝ่ามือในการลูบปลายคาง โดยทำในลักษณะเดียวกับการใช้ฝ่ามือในขั้นตอนแรก โดยการสลับมือซ้ายและมือขวา
ท่าที่ 6 ท่านั่งนวดขา
เริ่มจากการนั่งเหยียดขา แล้วนำมือทั้งสองข้างมาจับบริเวณหน้าขา จากนั้นเลื่อนไปจับบริเวณปลายเท้า แล้วค่อย ๆ เลื่อนมาจับบริเวณหน้าขา
ท่าที่ 7 ท่ายิงธนู
เริ่มจากการนั่งโดยเหยียดขาข้างซ้ายออก ส่วนขาข้างขวานั้นพับงอไว้ มือทั้งสองข้างทำท่าเหมือนการยิงธนู จากนั้นสลับเปลี่ยนขาและทำเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น
ท่าที่ 8 ท่าอวดแหวนเพชร
เริ่มต้นจากการนั่งชันเข่า จากนั้นเหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรง และกางฝ่ามือซ้ายขึ้น แล้วใช้มือขวาดัดที่บริเวณฝ่ามือซ้าย จากนั้นกางมือซ้ายออกแล้วค่อย ๆ พับนิ้วทั้ง 5 ลงที่ละนิ้วจนครบ จากนั้นสลัดข้อมือขึ้นลงในขณะที่กำลังกำมืออยู่ ทำสลับข้างกันไปเรื่อย ๆ จะช่วยป้องกันในเรื่องของการเกิดโรคนิ้วล็อกได้
ท่าที่ 9 ท่าดำรงค์กายอายุยืน
เริ่มจากลุกขึ้นยืนพร้อมกับกำมือทั้งสองข้าง โดยให้มือข้างซ้ายอยู่บนมือข้างขวาจากนั้นย่อเข่าลง พร้อม ๆ กับการขมิบท้องและแขม่วก้น จากนั้นจึงค่อย ๆ ผ่อนคลายลง และทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
ท่าที่ 10 ท่านางแบบ
เริ่มจากการลุกขึ้นยืน จากนั้นใช้มือข้างขวาจับด้านหลัง มือข้างซ้ายจับที่ต้นขา แล้วเอียงคอไปทางด้านขวามือเช่นเดียวกับมือที่จับข้างหลัง หลังจากนั้นหันคอกลับมาที่เดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วทำการเปลี่ยนสลับข้าง สำหรับท่านี้เรียกได้ว่าเป็นการบริหารร่างกายใน แนวบิด จะช่วยในเรื่องของการปวดเมื่อยบริเวณสะโพกได้เป็นอย่างดี
ท่าที่ 11 ท่านอนหงายผายปอดเริ่มจากนอนหงายแล้วยังแขนขึ้น จากนั้นเหยียดแขนให้ตรงและแนบกับศีรษะ จากนั้นยกแขนกลับมาแนบบริเวณข้างลำตัว
ท่าที่ 12 ท่าเต้นโขน
เริ่มจากการยืนกางขาทั้งสองข้างออก แล้วใช้มือทั้งสองข้างวางลงบนหน้าขาทั้งสองข้าง จากนั้นยกขาซ้ายขึ้น แล้ววางขาซ้ายลงกลับมาสู่ท่าเดิม จากนั้นยกขาขวาขึ้น แล้ววางขาขวาลงและกลับมาสู่ท่าเดิม ท่านี้จะช่วยในเรื่องของการทรงตัว
ท่าที่ 13 ท่ายืนนวดขา
เริ่มจากการยืนตรง จากนั้นก้มตัวลง และใช้มือทั้งสองข้างจับที่บริเวณหัวเข่า แล้วค่อย ๆ ไล่ลงมาถึงปลายเท้า จากนั้นก็เลื่อนมือทั้ง 2 ข้างกลับไปที่หัวเข่าเช่นเดียวกัน สำหรับท่านี้ผู้ที่ปวดหลัง หรือมีอาการเสียวแปลบที่หลัง รวมถึงอาการปวดร้าวและลงขาควรหลีกเหลี่ยงท่านี้
ท่าที่ 14 ท่านอนคว่ำทับหัตถ์
เริ่มจากการนอนคว่ำ โดยมือทั้งสองข้างวางทับกันอยู่ใต้บริเวณคาง หลังจากนั้นยกศีรษะขึ้น แล้วกระดกเข่าทั้งสองข้างขึ้น และกระดกขาและงอเท้าเข้ามายังบริเวณด้านหลังให้มากที่สุด ท่านี้จะช่วยขับลมเพื่อให้ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น
ท่าที่ 15 ท่าองค์แอ่นแหงนพักตร์
เริ่มจากการนอนตะแคง จากนั้นยกขาข้างขวาขึ้นและใช้มือจับบริเวณข้อเท้าจากนั้นเปลี่ยนทำสลับข้างกันและทำต่อไปเรื่อย ๆ
-
ความสำคัญของการบริหาร
- การอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาติ ถือเป็นภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองยาทเจ็บป่วยตามราชประสงค์ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 ในการบูรณะปฏิสังขรวัดพระเชตุพนเพื่อเป็นแหล่งความรู้แขนงต่างๆสำหรับมหาชน
- คุณค่าต่อความสำคัญทางสังคม เพื่อรักษาความเจ็บป่วย บรรเทาอาการและลดความปวดเมื่อยของร่างกายเมื่อเกิดขึ้นในครอบครัว
- คุณค่าต่อสุขภาพเป็นกะบวนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมคือการฝึกทั้งกายและจิตเพื่อให้เกิดพลังชีวิตที่ช่วยในการบำบัดรักษาโรค บรรเทาอาการ ฟื้นฟูสมรรถภาพ
ฤาษี หมายถึง นักพรตหรือนักบวช ที่อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ในตำนาน หรือนิทานโบราณมักจะเรียกผู้ที่เป็นนักบวช ว่าเป็น ฤาษี เเละในความเป็นจริงของสังคมไทยในอดีตน่าจะมีนักบวชประเภทนี้เเสวงหาความสุขอยู่ตามป่าเขา บำเพ็ญเพียร นั่งสมาธินานๆ อาจมีอาการเมื่อยขบก็ได้ เมื่อทดลองขยับเขยื้อนร่างกาย การยืดข้อพับ เเละเกร็งตัวดัดตน ทำให้เกิดท่าต่างๆเเล้วทำให้อาการเจ็บป่วย เมื่อยขบหายไป จึงได้สรุปประสบการณ์บอกเล่าสืบต่อกันมา หรืออาจเกิดจากการคิดค้นโดยคนธรรมดา ทั่วๆไป เพราะในสังคมไทยกว่า 2000 ปี เรามีศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการปฏิบัติตน ดังนั้นนักบวช นักพรตก็อาจเป็นชาวที่นิยมนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง ซึ่งอาจเป็นอุบาสกอุบาสิกาหรือเป็นพระสงฆ์ การปั้นรูปเป็นฤาษีไม่มีหลักฐานว่าพระมหากษัตริย์ไทยลอกเเบบมาจากที่ใด เเต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าคนไทยเคารพนับถือ ฤาษี เป้นครูบาอาจารย์ การปั้นเป็นรูปฤาษี เเละระบุชื่อฤาษีผู้คิดค้นท่า อาจเป็นกลวิธีทำให้ เกิดความขลัง เพราะผู้ฝึกต้องมาฝึกทำท่ากับรูปปั้น เท่ากับฝึกหัดกับครู เพราะฤาษีเป็นครูของศิลปะ วิทยาการ ทุกสาขา