Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (ทฤษฏีการเรียนรู้…
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
นิยาม ประเภทความหมาย
ความหมาย
การประยุกต์เทคนิค วิธีการ แนวคิด อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ส่งเสริมความคิด และการเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเภท
การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) เป็นการเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) เป็นการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) เป็นการเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
วัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสต
รูปแบบที่ 1
อุปกรณ์สารสนเทศที่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในตัว
notebook
tablet
smartphone
ipad
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
keyboard
printer
microphone
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่เก็บข้อมูลแบบหน่วยความจำในตัวหรือแก้ไขข้อมูลในตัวได้
memory card
flash memory
DVD
รูปแบบที่ 2
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการรวบรวมและบันทึกข้อมูล
กล้องดิจิทัล
flash memory
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการประมวลผล การแสดงผลและการทำสำเนาข้อมูล
computer
printer
CD/DVD
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
วิทยุ
computer
โทรศัพท์
โทรทัศน์
ทฤษฏีการเรียนรู้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (classical conditioning theory)
การวางเงื่อนไข+สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข=การเรียนรู้
กระบวนการสำคัญที่เกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
การแผ่ขยาย
การจำแนก
การลบพฤติกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (skinner’s operant conditioning theory)
เป็นการเสริมแรงเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม เกิดจากหลักเสริมแรงคือเมื่อนักเรียนทำถูกจะได้รางวัลทันที คือเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s conditioning theory)
ให้ลองผิดลองถูกเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
สร้างแรงจูงใจภายนอก ให้ผู้เรียนเรียนรู้ผลของการกระทำ
ให้ผู้เรียนมีการฝึกหัดเพื่อให้เกิดความแม่นยำและชำนาญ
กลุ่มปัญญานิยม (cognitivism)
ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์
บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ รับรู้และหยั่งเห็น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และบรุเนอร์ (Bruner)
เพียเจต์ (Piaget) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น
บรุเนอร์ (Bruner) เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของ ออซูเบล
การเรียนรู้โดยเรียนรู้อย่างมีความหมาย
การเรียนรู้โดยการท่องจำ
การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย
การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำ
กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ (constructivist)
เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่าการรับความรู้
เน้นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ที่อธิบายเกี่ยวกับการรับรู้และคนรู้ได้อย่างไร
Nick selly เขียนเกี่ยวกับทฤษฎีว่าเป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนทุกคนสร้างความรู้จากความคิดของตนเอง แทนที่จะรับความรู้ที่สมบูรณ์และถูกต้องจากครูหรือแหล่งความรู้ที่ครูกำหนดไว้
ตัวอย่าง การทำวิจัย โครงงานการประดิษฐ์ การสำรวจ การค้นคว้า
ทฤษฎีคอนเนคติวิสต์ (connectivism)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี
ได้รับอิทธิพลมาจากการบูรณาการของปรัชญาการเรียนรู้ใน 3 ปรัชญาสำคัญ คือ ปรัชญาพฤติกรรมนิยม ปรัชญาพุทธินิยม และปรัชญาสรรคนิยม ส่งผลให้เกิดปรัชญาการเชื่อมโยง
ปรัชญาการเชื่อมโยง
ความสามารถในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ ความคิด และมโนทัศน์ คือปัจจัยหลักที่สำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้
องค์ความรู้ที่ถูกต้องในปัจจุบันเป็นจุดเน้นสำคัญของการสร้างกิจกรรมในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
การเลือกที่จะเรียนรู้อย่างมีความหมายผ่านข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับอย่างมีวิจารณญาณและรอบคอบ จะส่งผลต่อการตัดสินใจในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง International network เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน
การอ่านภาพ (Visual Literacy)
ความหมาย
ความสามารถในการเข้าใจ ความสามารถในการคิดต่อภาพที่มองเห็น เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางด้านการมองเห็นของมนุษย์หรือที่เรียกว่า จักษุสัมผัส
วัตถุประสงค์
ความสามารถในการอ่านภาพจะส่งผลให้บุคคลได้รับรู้ภาพเพื่อการจำแนก แปลความหมาย และการตีความเนื้อหาสิ่งที่มองเห็น นำไปสู่การสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ระดับของการอ่านภาพ
.ขั้นจำแนก (Differentiation)
สังเกตส่วนประกอบต่างๆ ในภาพ
วิเคราะห์รายละเอียด ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้น
ขั้นบูรณาการ (Integration)
เชื่อมโยงประสบการณ์ของผู้อ่านภาพ
สรุปและเชื่อมโยงแนวความคิด
สร้างสรรค์และเขียนคำอธิบายเป็นเรื่องราว
ข้อควรคำนึง
อายุ อายุจะมีความสอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์ เช่น ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันในเรื่องของประสบการณ์ เด็กมีความสามารถในการรับรู้จากภาพได้ไม่ละเอียดเท่ากับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ตีความหมายจากภาพเป็นนามธรรมได้ดีกว่าเด็ก เป็นต้น
ภูมิหลังทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อผู้รับข้อมูลว่าจะได้เรียนรู้อะไรตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ เช่น การแปลความหมายของภาพทุ่งนาของเด็กในเมืองและเด็กชนบท การนำภาพวัสดุธรรมชาติอย่างหนึ่งให้เด็กลองคิดว่าน่าจะนำไปเล่นอย่างไรได้บ้าง เป็นต้น