Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Meconium Aspiration Syndrome ภาวะการสูดสำลักขี้เทา (อาการและอาการแสดง…
Meconium Aspiration Syndrome
ภาวะการสูดสำลักขี้เทา
ความหมาย
การสำลักเอาขี้เทาที่อยู่ในน้ำคร่ำเข้าปอดในทารกแรกเกิด ปกติทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวของทรวงอกตื้นๆ และไม่สม่ำเสมอในภาวะปกติจะไม่มีน้ำคร่ำเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด แต่หากมีการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์เนื่องจากความผิดปกติของรกในการแลกเปลี่ยนก๊าซจะกระตุ้นให้ทารกในครรภ์มีการหายใจ (grasping respiration) ทำให้น้ำคร่ำเคลื่อนที่เข้าสู่ปอดทารกได้
การรักษา
ให้ออกซิเจน (ET-Tube)
ให้ Antibiotic
ติดตามอาการแสดง
Suction ให้ clear ในทารกที่มีภาวะเสี่ยง
อาการและอาการแสดง
Apnea
Abnormal Breath Sound อาจเจอ Crepitation
อาจพบ Pneumothorax
ภาพถ่ายรังสีจะพบ Pleural effusion
มีไข้เกิด Pneumonia ได้
ปลายมือปลายเท้าเขียน (Cyanosis)
ทารกหายใจเร็วมากกว่า 60 ครั้ง/นาที
หน้าอดโปร่งผิดปกติ
การวินิจฉัย
ตรวจพบขี้เทาอยู่ในหลอดลมคอ โดยการทำ Tracheal suction หรือทางเดินหายใจทารก
ภาพรังสีทรวงอกพบลักษณะของการอักเสบจากการสูดสำลักขี้เทา
อาการหายใจลำบากที่ไม่ใช่เกิดจากปอดอื่น หน้าอกโปร่งมากกว่าปกติ
พยาธิสภาพ
การขาดออกซิเจนในระหว่างการคลอด ทำให้ขี้เทาถูกบีบออกมาอยู่ในน้ำคร่ำ ทำให้ทารกสำลักขี้เทาเข้าสู่ทางเดินหายใจ หากขี้เทามีขนาดใหญ่จะอุดตันหลอดลมใหญ่ ๆ ทำให้การขาดออกซิเจน แต่หากการสำลักก้อนเล็ก ๆ และกระจายอยู่ทั่วไปอุดตันท่อลมเล็ก ๆ เป็นการอุดตันอย่างสมบูรณ์ทำให้เกิดภาวะ ball valve mechanism อากาศถูกกักอยู่ในถุงลมใต้ตำแหน่งที่ถูกอุดตันทำให้บริเวณนั้นมีภาวะ hyperinflation เกิดภาวะ pneumothorax หรือ pneumo mediastinum และ Pneumonia
การแบ่งระดับความรุนแรง
รุนแรงน้อย ทารกจะหายใจเร็วเพื่อเพิ่ม minute ventilation อาการจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง
รุนแรงปานกลาง ทารกจะมีอาการของการกดการหายใจ คือ หายใจเร็ว ช่องซี่โครงยุบลงขณะหายใจ เขียวคล้ำ อาการมีความรุนแรงสูงสุดภายใน 24 ชั่วโมงและมักหายได้ภายใน 4-7 วัน
รุนแรงมาก ทารกจะมีการหายใจล้มเหลวทันทีหลังคลอดหรือ 2-3 ชั่วโมงหลังคลอดอาการของกดการหายใจชัดเจนและฟังเสียงปอดได้ rhonchi และ crackle
การพยาบาล
เมื่อทารกคลอดแล้ว อาจใช้สาย suction ดูดน้ำคร่ำเพิ่ม หากมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำร่วมกับทารกหายใจช้า ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง ควรใส่ ET-Tube เพื่อดูดขี้เทาออก
ประเมินสภาพทารกไม่ให้ขาดออกซิเจนนานเกินจำเป็น คือ ไม่ควรเกิน 20 นาที หรือชีพจรช้าลง
กรณีที่ suction ไม่หมด เมื่อทำคลอดไหล่แล้วแต่ยังไม่ได้ดึงตัวทารกออกมาให้รีบ sction เพิ่มก่อนที่ทารกจะร้อง
เมื่อศรีษะทารกคลอด ให้มารดาหยุดเบ่งแล้ว suction เอาน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกทันที
ทารกที่เสี่ยงต่อ MAS
ทารกคลอดที่ครรภ์เกินกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำ การคลอดนานทางช่องคลอด มารดามีความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ และมารดามีน้ำหนักมากเกินกว่าปกติขณะตั้งครรภ์